Revolutionary Press Agency : Online Journal and News Agency for Peace
สำนักสื่อปฏิวัติ  : วารสารข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
8 มิ.ย. 2554 กองหน้าประชาชนรุ่นใหม่ อนุสรณ์ สมอ่อน ตอบคำถามคาใจทำไมต้องปฏิวัติประชาธิปไตย? 
ลัทธิประชาธิปไตย (Democratic Doctrine หรือ Democracy)

โดย ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ(NDMT)
 
 
          ประกอบด้วย ทฤษฎีทางปรัชญา คือ เอกภาพของความแตกต่าง (Unity of Opposite) ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ คือ อำนาจอธิปไตยของปวงชน (Sovereignty of the People) ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ คือ กรรมสิทธิ์เอกชน (Private Ownership)
 
            ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy) ได้เกิดขึ้นในโลกนี้เมื่อประมาณ 300 ปีเศษที่ผ่านมาหลังจากระบบทุนนิยมได้ก่อเกิดขึ้นประมาณศตวรรษที่ 13-14 และต่อมาได้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 18 ได้ทำให้เกิดขบวนการเสรีนิยมทางการเมือง 3 ขบวนการ คือ ขบวนการรัฐธรรมนูญ ขบวนการประชาธิปไตยและขบวนการชาตินิยม ต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นลัทธิเผด็จการ ลัทธิประชาธิปไตย ลัทธิชาตินิยมและมีลัทธิคอมมิวนิสต์ เกิดขึ้นภายหลังซึ่งเป็นอุดมการของชาติและของประชาชนในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้
 
          ได้เกิดการปฏิวัติใหญ่ขึ้นในยุโรปตามอุดมการณ์ลัทธิประชาธิปไตย ซึ่งเรียกว่า การปฏิวัติประชาธิปไตย (Democratic Revolution) เช่น ในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นต้น ได้ก่อผลสะเทือนมาสู่ประเทศเอเชียและประเทศที่ปฏิวัติประชาธิปไตยเสร็จแล้วกลายเป็นประเทศเจ้าอาณานิคมและเข้ารุกรานยึดครองประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ตกเป็นเมืองขึ้น แต่บางประเทศในเอเชียสามารถรักษาเอกราชไว้ได้เช่น ไทย จีน ญี่ปุ่นเพราะมีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ดีงามเข้มแข็ง
 
             พระมหากษัตริย์ ทรงมีพระปรีชาญาณอันยิ่งยวด ทรงต่อสู้รักษาเอกราชด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตยโดยทรงนำเอาลัทธิประชาธิปไตยจากยุโรปมาประยุคเข้ากับลักษณะพิเศษของประเทศสยามสอดคล้องกับเงื่อนไขทางสังคมและแนวโน้มทางประวัติศาสตร์ โดยพระองค์ทรงมีจุดยืนประชาชน มีลัทธิประชาธิปไตยเป็นอุดมการณ์ ทรงประยุกต์เป็นแนวทางหลักนโยบายเป็นนโยบาย คือพระบรมราโชบายแก้ไขการปกครองแผ่นดินสยามของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างประชาธิปไตยเป็นมาตรการแรกสุด คือ ทรงตั้งรัฐแห่งชาติสมัยใหม่เป็นรัฐเอกราช เรียกว่า “สยามรัฐ” ตามหลักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ และทรงสร้างประชาธิปไตยขั้นตอนที่ 1 จนสำเร็จบริบูรณ์ส่งผลอันใหญ่หลวงสามารถรักษาเอกราชของชาติไว้ได้ แต่ทรงเสด็จสวรรคตเสียเร็วเกินไปจึงมิอาจจะทรงสร้างประชาธิปไตยขั้นตอนสุดท้ายได้
 
             พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงสร้างประชาธิปไตยทางความคิดโดยเฉพาะด้านเสรีภาพทางความคิดและจิตสำนึกรักชาติตามลัทธิรักชาติ(Patriotism) และจิตสำนึกชาตินิยมประชาธิปไตย (Nationalism)อันเป็นรากฐานที่สำคัญทางความคิดประชาธิปไตยของประชาชน หรือจิตสำนึกปกครองประเทศนั่นเอง  สมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงมีลัทธิชาตินิยมของลัทธิประชาธิปไตยเป็นอุดมการณ์ (Ideology)
 
             พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงสืบทอดพระราชกรณียกิจสร้างประชาธิปไตยตามพระบรมราโชบายสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตย อันเป็นนโยบายที่ประยุกต์มาจากอุดมการณ์ลัทธิประชาธิปไตยต่อจากรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 อันเป็นอุดมการณ์ของชาติสยามนั่นเอง  โดยเฉพาะจะทรงสถาปนาอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยและพระราชทานรัฐธรรมนูญมารักษาระบอบประชาธิปไตยไว้ โดยการตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลในระยะเปลี่ยนผ่าน เช่น สภากรรมการองคมนตรี และรัฐธรรมนูญเฉพาะกาล แต่ได้เกิดเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 ขึ้นเสียก่อน
 
          พระบรมราโชบายสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตยจึงมิได้รับการปฏิบัติให้แล้วเสร็จจึงไม่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยมาจนถึงปัจจุบันนี้ กลับมีระบอบรัฐธรรมนูญอันเป็นลัทธิเผด็จการซึ่งแปรเป็นนโยบายเผด็จการของพรรคการเมืองและคณะรัฐบาลเกือบทุกพรรคทุกรัฐบาลตลอดมาอำนาจอธิปไตยเป็นของคนส่วนน้อยตลอดมาสร้างความทรุดโทรมล้าหลังวิบัติล่มจมหายนะแก่ประเทศชาติและบังเกิดความอดอยากยากจนแก่ประชาชนเกือบสิ้นชาติสิ้นแผ่นดินมาหลาย ๆ ครั้ง
 
          เมื่อสร้างประชาธิปไตยไม่แล้วเสร็จจึงเป็นเงื่อนไขให้แก่ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้ก่อตั้งกองทัพปลดแอกปวงชนขึ้นได้สำเร็จและก่อสงครามกองโจรเมื่อปี พ.ศ.2508 และยกระดับเป็นสงครามกลางเมือง พ.ศ. 2512  รัฐบาลไทยจึงพ่ายแพ้แก่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมาเป็นลำดับ  เพราะรัฐบาลได้ใช้นโยบายเผด็จการปกครองประเทศและใช้ยุทธศาสตร์เผด็จการไปต่อสู้กับยุทธศาสตร์คอมมิวนิสต์อันเป็นไปตามสัจธรรมที่ว่า “เผด็จการแพ้คอมมิวนิสต์ คอมมิวนิสต์แพ้ประชาธิปไตย” จนในที่สุด
 
          เมื่อปี พ.ศ. 2523 รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้เปลี่ยนนโยบายใหม่ เปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่ โดยการนำเอาพระบรมราโชบายสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตยของสมเด็จพระปกเกล้าฯมาประยุกต์เข้ากับสถานการณ์สงครามกลางเมืองเป็นนโยบายต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 หรือ นโยบาย 66/23 อันลือลั่นนั่นเอง ซึ่งมียุทธศาสตร์ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 คือ สร้างประชาธิปไตยระดับต่ำเอาชนะสงคราม ขั้นตอนที่ 2 คือ สร้างประชาธิปไตยระดับสูงเพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ กองทัพแห่งชาติสามารถปฏิบัตินโยบาย 66/23 ขั้นตอนที่ 1 ได้สำเร็จอย่างงดงามจึงเอาชนะสงครามกลางเมืองได้ทำให้สถานการณ์กลับเข้าสู่สถานการณ์สันติภาพ แต่ไม่สามารถปฏิบัตินโยบาย 66/23 ขั้นตอนที่ 2 ได้ คือชนะสงครามแต่ไม่ชนะคอมมิวนิสต์ เพราะชนะคอมมิวนิสต์โดยการสร้างประชาธิปไตยระดับสูงให้สำเร็จเท่านั้น คือ สร้างเสรีภาพบุคคลบริบูรณ์ สร้างอำนาจอธิปไตยของปวงชน เป็นสำคัญ จึงเป็นการทำลายอำนาจอธิปไตยของคนส่วนน้อยซึ่งเป็นระบอบเผด็จการรัฐสภาได้สำเร็จเด็ดขาด จึงสามารถทำลายเงื่อนไขของสงครามปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ลงได้อย่างหมดสิ้น เมื่อก่อสงครามประชาชนไม่ได้จึงไม่มีทางชนะยึดอำนาจรัฐได้ อันเป็นไปตามคำขวัญว่า “ปฏิวัติรุนแรงดัดแปลงโลกด้วยสงคราม อำนาจรัฐจากปลายกระบอกปืน”
 
           ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติซึ่งเป็นผู้รับเอาพระบรมราโชบายสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตยของสมเด็จพระปกเกล้ามาเสนอต่อทุกฝ่ายให้ใช้เป็นนโยบายแก้ไขปัญหาชาติ โดยเสนอให้มีการปฏิบัตินโยบาย 66/23 ขั้นตอนสุดท้ายด้วยการสร้างอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ตามแบบอย่างสภากรรมการองคมนตรี คือ สภาปฏิวัติแห่งชาติที่มีนโยบายแห่งชาติเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาชาติโดยการขอพระราชทานพระราชกฤษฎีกาโอนอำนาจจากรัฐสภามาสู่สภาปฏิวัติแห่งชาติ
 
           เช่นเดียวกับการโอนอำนาจของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เมื่อ 1 เมษายน 2476 โดยอาศัยกฎหมายสูงสุดเป็นทางดำเนินการตามความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 2 คือ “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” อันเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างสันติถูกกฎหมายที่เรียกว่า “การปฏิวัติสันติ” นั่นเอง แต่ถูกรัฐบาลชาติชายจับกุมคุมขังนำความขึ้นสู่ศาล
 
           ขบวนการนักศึกษาได้เริ่มก่อการเคลื่อนไหวในรูปของสภานักศึกษาแห่งชาติและศูนย์เฉพาะกิจนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ฯลฯ ในแนวทางประชาธิปไตยของสมเด็จพระปกเกล้าฯ โดยได้สืบทอดเจตนารมณ์ประชาธิปไตย 14 ตุลาคม 2516 แต่ใช้แนวทางพระปกเกล้าฯ เป็นอุดมการณ์หรือวิธีคิด และเรียกร้องมาตรการโอนอำนาจอย่างสันติสู่ปวงชนชาวไทย เช่นการเคลื่อนไหวชุมนุมใหญ่ที่สนามหลวงเมื่อต้นปี 2532 จนถูกรัฐบาลชาติชายจับกุมเป็นคดีม็อบนักศึกษาสนามหลวง และต่อมาได้เคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลชาติชายโอนอำนาจสู่ประชาชน แต่รัฐบาลชาติชายไม่ยินยอมจึงเรียกร้องผลักดันให้รัฐบาลชาติชายลาออกภายในวันที่ 14 ตุลาคม 2533 และเกิดการเผาตัวโดยนักศึกษา 1 ใน9 คน คือ นายธนาวุฒิ คลิ้งเชื้อ ณ หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง จนถูกจับกุมในคดีนักศึกษาเผาตัวหรือคดีกบฏในราชอาณาจักร และต่อมาได้ทำการต่อสู้ในชั้นศาลชนะทุกคดี ทั้งคดีม็อบนักศึกษาโอนอำนาจสนามหลวงคดีสภาปฏิวัติแห่งชาติ และคดีนักศึกษาเผาตัวโอนอำนาจสู่ประชาชน 
 
           นักศึกษาได้ประกาศไว้ว่าถ้าไม่โอนอำนาจสู่ปวงชนจะเกิดความวิกฤตหายนะล่มจมมิคสัญญีกลียุคจากระบอบเผด็จการรัฐสภา และเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 และเกิดวิกฤต พ.ศ.2540 เป็นจริงตามที่นักศึกษาทั้ง 2 องค์การได้ประกาศไว้ทุกประการและเกิดระบอบทักษิณที่กระชับอำนาจอย่างเด็ดขาดเบ็ดเสร็จเป็นอำนาจอธิปไตยของทักษิณแต่ผู้เดียว และสร้างความยากจนอีกทั้งขายชาติขายแผ่นดินอย่างเลวร้ายรุนแรงที่สุด นี่คือชัยชนะของนักศึกษาทั้งคดีในศาลและอุดมการ แนวทาง นโยบาย มาตรการ วิธีการในประเทศตลอดมาและกำลังมีชัยชนะไปไม่หยุดยั้ง
 
 

ปฏิวัติสันติ

 
สมัคร ยกเลิก
 
 
Revolutionary Press Agency
Online Journal and News Agency for Peace  :  วารสารและข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
Copyright © 2024 www.rpathailand.com All Rights Reserved.
ทำเว็บ  ออกแบบเว็บ  Web Design  เว็บสำเร็จรูป  เว็บไซต์สำเร็จรูป