Revolutionary Press Agency : Online Journal and News Agency for Peace
สำนักสื่อปฏิวัติ  : วารสารข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
8 มิ.ย. 2554 กองหน้าประชาชนรุ่นใหม่ อนุสรณ์ สมอ่อน ตอบคำถามคาใจทำไมต้องปฏิวัติประชาธิปไตย? 
ปฏิวัติสันติ

เรื่องราวปฏิวัติสันติอันจรรโลงใจ ...
....ปลุกท่านตื่นขึ้นมาทุกวันเพื่อสร้างสังคมอุดมธรรม
 
บทนำบรรณาธิการ

" ศึกษาการปฏิวัติสันติในโลกใบนี้ผ่านพระพุทธศาสนา"


            ในรอบหลายศตวรรษที่โลกเผชิญลัทธิความรุนแรง ภัยสงครามเย็น และการรุกราน แทรกแซงกิจการภายในประเทศ ยังมีพระพุทธศาสนาที่ยังคงบทบาทสำคัญต่อมนุษยชาติเสมอมานั่นคือการสร้างสังคมแห่งความเสมอภาค ภราดรภาพและการดำรงอยู่อย่างสันติ  คือแนวทางปฏิวัติสันติอันเป็นอุดมธรรมของชาวพุทธต่อสังคมมนุษยชาติ  
            บทบาทของพระพุทธศาสนานั้น มิใช่ต่อชาวพุทธทั่วโลก แต่บทบาทของพระพุทธศาสนามีเพื่อเพื่อนมนุษย์ต่างชาติ ต่างภาษาและต่างศาสนา  เพราะพระพุทธศาสนาให้เสรีภาพทางจิตวิญญาณสูงสุดแก่มนุษย์ในทุกสังคม และเป็นศาสนาที่ยึดหลักความเสมอภาคและเสรีภาพสูงสุด มีความเป็นประชาธิปไตยสูงสุดศาสนาเดียวในโลก  
            บก.ขอนำเสนอ “ปฏิวัติสันติ” ผ่านงานแปลเรียบเรียงของพุทธศาสตร์มหาบัณฑิตพระดร.สมชัย กุสลจิตฺโต หรือพระราชปัญญาเมธี ผู้เป็นเมธีแห่งวงการสงฆ์ไทย ที่ได้เป็นผู้ถอดความผลงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งของดร.บีอาร์ อัมเบดการ์ไว้ ดร.อัมเบดการ์คือชาวอินเดียวรรณะจัณฑาลที่หันมาสมาทานพระพุทธศาสนาและนำปฏิวัติทางชนชั้นสำเร็จ ดิฉันเห็นว่าคนไทยรู้จัก นักปฏิวัติสันติท่านนี้น้อยมาก เนื่องจากท่านเกิดยุคสมัยเดียวกับมหาตมะ คานธี ผู้นำปลดแอกอินเดียจากชาติอาณานิคมจากสหราชอาณาจักรอังกฤษ กระแสของท่านจึงถูกกลบฝังไปบ้าง แต่ในสังคมอินเดียแล้ว ท่านคือผู้นำที่ยิ่งใหญ่เหนือท่านมหาตมะ คานธี ตรงที่ท่านได้ปลดปล่อยสังคมอินเดียจากการถูกกักขังทางชนชั้นด้วยการสร้างให้เสรีภาพและให้หลักความเสมอภาคขั้นสูงสุดแก่ชาวจัณฑาลอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ นำพาชาวอินเดียวรรณะจัณฑาลสมาทานพุทธศาสนาถึง 500,000 คน ซึ่งนับว่าเป็นงานปฏิวัติขั้นสูงของมนุษย์คือการปฏิวัติทางจิตวิญญาณเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมนั่นเอง   
            การปลดปล่อยชาติอินเดียจากชาติอาณานิคมของมหาตมะคานธีในทางการเมือง จึงไม่อาจเทียบชั้นได้กับการปลดปล่อยชาวอินเดียจากระบบวรรณะในทางจิตวิญญาณของดร.อัมเบดการ์ การนำปฏิวัติสันติของดร.อัมเบดการ์ จึงถือว่ายิ่งใหญ่สูงสุดในรอบศตวรรษ ไม่น้อยหน้าการเลิกทาสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ของชาติไทย เลยแม้แต่น้อย 
            ดร.บี อาร์ อัมเบดการ์ทิ้งร่องรอยการทำงานไว้ด้วยงานเขียนมากมาย อธิบายถึงการต่อสู้อันเข้มข้นของพระพุทธศาสนาในอินเดีย เพื่อล้มล้างระบบวรรณะที่กักขังจิตวิญญาณชาวอินเดียส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ 
            ปัญหาการต่อสู้ทางวรรณะคือปัญหาการเมืองในอินเดีย  ปัญหาความยากจนและช่องว่างทางสังคมและเศรษฐกิจในอินเดียมีรากเหง้าปัญหาไม่ต่างจากประเทศไทย  ทั้งน่าสนใจ ทั้งเข้มข้น จากเรื่องจริงของการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญอินเดีย  และคำอธิบายแทนคนไทยว่าเพราะเหตุไรพระพุทธศาสนาจึงจะนำโลกได้ในอนาคต  มีแง่มุมสำคัญๆเรื่องบทบาทพระพุทธศาสนาต่อการเมือง ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ไม่เคยศึกษามาก่อนมาอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆในประเทศไทยได้หลายแง่มุม เพื่อช่วยกันตอบปัญหาว่าพระพุทธศาสนาจะนำโลกได้อย่างไร 
            สำนักสื่อปฏิวัติขอกราบอนุโมทนารำลึกถึงเจตนารมณ์ของผู้ถอดความ ท่านเจ้าคุณพระราชปัญญาเมธี ที่ดิฉันเคยมีโอกาสได้ร่วมทำงานเมื่อครั้งเคลื่อนไหว เรื่องพระพุทธศาสนาในรัฐธรรมนูญและขอถือโอกาสนี้แนะนำผลงานเมธีแห่งวงการสงฆ์ไทย ที่ยังไม่ได้รับการเผยโฉมสู่โลกไซเบอร์ ในโอกาสหน้าจะนำประวัติและผลงานวิชาการของท่านมาเผยแผ่เป็นลำดับต่อๆไป

 

          บรรณาธิการ
 
 
          15 พ.ค. 2552
 

5 ม.ค.2553 พระพุทธศาสนาแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมและการเมือง
การต่อสู้กันอย่างรุนแรงระหว่างพระพุทธศาสนากับศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเป็นข้อเท็จจริงที่พอมองเห็นได้ในประวัติศาสตร์ของอินเดีย ถ้าเรายังไม่เข้าใจความข้อนี้แล้วก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะอธิบายลักษณะเฉพาะของศาสนาฮินดูได้ชัดเจน น่าเสียดายที่นักประวัติศาสตร์อินเดียหลงประเด็นสำคัญของการต่อสู้กันระหว่างศาสนาทั้งสองนี้เกือบหมด พวกเขาทราบแต่เพียงว่า มีศาสนาพราหมณ์อยู่ก่อน(พระพุทธศาสนา) เท่านั้น
23 พ.ย.2552 พระพุทธศาสนาแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมและการเมือง
ดร.อัมเบดการ์รวบรวมหลักคำสอนหลักของพุทธเผยแผ่ต่อชาวพุทธอินเดียและวิถีการปฏิบัติธรรมรวมทั้งตอกย้ำว่าเพราะเหตุไรชาวพุทธจึงควรไปวัดปฏิบัติธรรม
4 ต.ค.2552 พระพุทธศาสนาแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมและการเมือง
ดร.อัมเบดการ์ตอกย้ำมูลเหตุที่พระพุทธเจ้าตั้งสังคมสงฆ์ขึ้นมาให้ทำหน้าที่เผยแผ่ แตกต่างจากสันยาสีของฮินดู คือมีส่วนร่วมต่อสังคม และเรียกร้องให้ชาวพุทธทำหน้าที่เผยแผ่ด้วยเช่นกัน
18 ก.ย.2552 พระพุทธศาสนาแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมและการเมือง
ดร.แนะนำชาวพุทธให้ระวังอันตรายที่คุกคามพระพุทธศาสนายุคใหม่ ได้เสนอวิธีการและมรรคาที่จะทำการเผยแผ่และรักษาพระธรรม โดยยกคำตอบที่พระนาคเสนมอบให้แก่พระเจ้าเมนันดอร์(มิลินทปัญหา)
3 ก.ย. 2552 พระพุทธศาสนาแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมและการเมือง
ดร.อัม เบดการ์เรียกร้องให้ชาวพุทธทั้งหลายช่วยกันเผยแผ่พระธรรมคำสอน ด้วยการชักชวนให้ชาวพุทธในอินเดียบริจาครายได้มาเป็นทุนรอนในการเผยแผ่ และปฏิเสธการรับเงินทุนจากต่างชาติ
18 ส.ค. 2552 พระพุทธศาสนาแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมและการเมือง
ดร.อัมเบดการ์โต้แย้งเรื่องคนจนและคนรวย และชี้ชัดว่าคนจนต้องการศาสนายิ่งกว่าคนรวย พิสูจน์ชัดมาแล้วในประวัติศาสตร์ชาวคริสต์และเห็นชัดอีกครั้งสำหรับชาวจัณฑาลยากจนในอินเดียที่ต้องการศาสนายิ่งกว่าคนในฐานันดรอื่น
3 สิงหาคม 2552 พระพุทธศาสนาแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมและการเมือง
วิวาทะกับมหาตมะคานธีเรื่องระบบจตุวรรณะทั้งสี่ในศาสนาฮินดูและความไม่เทียมกันที่ทำให้อินเดียตกเป็นเมืองขึ้น ดร.อัมเบดการ์กล่าวว่ามีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่แก้ปัญหาระบบวรรณะสำเร็จ
25 ก.ค.2552 พระพุทธศาสนาแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมและการเมือง
ดร.อัมเบดการ์กล่าวถึงการศึกษาของสตรีจัณฑาลและความเท่าเทียมทางการศึกษา ปลุกเร้าการเปลี่ยนแปลงด้วยความกระตือรือร้นเพื่อให้หลุดพ้นจากการครอบงำของฮินดู
15 ก.ค.2552 พระพุทธศาสนาแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมและการเมือง
ยังอยู่ในบทที่ ๒ ดร.อัมเบดการ์พูดถึงสิทธิอันชอบธรรมหลังการสมาทานนับถือพระพุทธศาสนาและตอบโต้กับศิษย์คาร์ล มาร์กซ์เรื่องศาสนาคือยาเสพติด ว่าศาสนาหรือการได้ปฏิบัติธรรมเป็นความจำเป็นสูงสุดสำหรับความเจริญก้าวหน้าของมวลมนุษยชาติ
1 ก.ค. 2552 พระพุทธศาสนาแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมและการเมือง
ยังอยู่ในบทที่๒ ดร.อัมเบดการ์ต่อสู้ด้วยอุดมคติของพุทธศาสนา ปฏิเสธการถูกกดขี่โดยวรรณะสูง เริ่มสร้างความเสมอภาคของมนุษย์ในสังคมพุทธที่สร้างขึ้นใหม่ และกำจัดความหวาดกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงของคนจัณฑาล
22 มิ.ย.2552 พระพุทธศาสนาแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมและการเมือง
บทที่ ๒ ดร.อัมเบดการ์ชี้แจงเหตุผลว่าเพราะเหตุไรจึงเลือกพระพุทธศาสนาและเลือกดำเนินรอยตามพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนาให้หลักเสรีภาพสูงสุดต่อจิตวิญญาณมนุษย์อย่างไร
10 มิ.ย. 2552 พระพุทธศาสนาแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมและการเมือง
ดร.อัมเบดการ์จาริกสู่พม่าชมบ้านเมืองพุทธระหว่างติดต่อกับดร.โชนิผู้ให้กำลังใจก่อนการตัดสินใจครั้งสำคัญเพื่อละทิ้งศาสนาฮินดูนำสู่พิธีปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ
3 มิ.ย.2552 พระพุทธศาสนาแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมและการเมือง ดร.อัมเบดการ์
ยังอยู่ในบทที่ ๑ ดร.อัมเบดการ์ศึกษาพุทธศาสนาก่อนตัดสินใจเป็นชาวพุทธ โดยมีพระโลกนาถพระชาวอิตาเลียนที่ให้กำลังใจสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
15 พ.ค.2552 พระพุทธศาสนาแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมและการเมือง ดร.อัม เบดการ์
บทที่ ๑ จาริกบุญสู่พระพุทธศาสนา (Pilgrimage to Buddhism) ถอดความโดย พระดร.สมชัย กุสลจิตฺโต พระราชปัญญาเมธี



ปฏิวัติสันติ

 
สมัคร ยกเลิก
 
 
Revolutionary Press Agency
Online Journal and News Agency for Peace  :  วารสารและข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
Copyright © 2024 www.www.gmwebsite.com/Website All Rights Reserved.
ทำเว็บ  ออกแบบเว็บ  Web Design  เว็บสำเร็จรูป  เว็บไซต์สำเร็จรูป