Revolutionary Press Agency : Online Journal and News Agency for Peace
สำนักสื่อปฏิวัติ  : วารสารข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
8 มิ.ย. 2554 กองหน้าประชาชนรุ่นใหม่ อนุสรณ์ สมอ่อน ตอบคำถามคาใจทำไมต้องปฏิวัติประชาธิปไตย? 
 
พระพุทธศาสนาแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมและการเมือง
ดร.บี อาร์ อัมเบดการ์
ถอดความโดย
พระดร.สมชัย กุสลจิตฺโต พระราชปัญญาเมธี
 
              (ต่อจากตอนที่แล้ว)
 
 
 
   
           วิธีการสร้างความกระตือรือร้น
 
           คนที่มองไม่เห็นลำแสงแห่งความหวังที่จะหลีกหนีจากความทุกข์ในปัจจุบันได้ก็จะขาดความกระตือรือร้นและซบเวาอยู่ตลอดเวลา เราจะสร้างความกระตือรือร้นขึ้นได้เมื่อไรกัน? เมื่อไรคนหายใจอยู่ในบรรยากาศที่เขาแน่ใจว่าจะได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมสำหรับแรงงานของเขา เมื่อนั้นเขาก็เกิดความรู้สึกกระตือรือร้นและเกิดแรงบันดาลใจขึ้นมา

           ถ้าบรรดาครูที่โรงเรียนเริ่มเหนื่อยหน่ายว่า ว้า!นี่เด็กชายจากวรรณะมหาร์ เขาจะสอบได้ที่หนึ่งได้อย่างไร? โครงการอะไรของเราที่จะทำให้เขาสอบได้ที่หนึ่งในชั้น ? เฉพาะพวกพราหมณ์เท่านั้นมีสิทธิจะได้ที่หนึ่งในปัจจุบันนี้ ความกระตือรือร้นอะไร แรงบันดาลใจอะไร ความหวังอะไรอีกที่เด็กจากวรรณะมหาร์จะยังมีอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ ?  เขาจะเจริญรุดหน้าในชีวิตของตนและสร้างความก้าวหน้าได้อย่างไร

           เพื่อก่อให้เกิดแรงบันดาลใจและเสริมสร้างความกระตือรือร้นขึ้นมาเราจำต้องเป็นคนมีสุขภาพจิตดี บุคคลเช่นนั้นจึงจะสามารถเอาชนะความยกลำบากได้ทุกชนิด เขาจะมีความมั่นใจตัวเอง กล้าหาญและตั้งใจจริงที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้ นั่นจะให้เขามีแรงบันดาลใจและเกิดความกระตือรือร้น

          ช่างโชคร้ายมากที่ศาสนาฮินดูซึ่งตั้งอยู่บนเนวคิดแห่งความไม่เท่าเทียมกันและความอยุติธรรมนั้นไม่เหลือช่องทางให้พวกเราพัฒนาความกระตือรือร้นได้เลย  ตลอดเวลาที่พวกจัณฑาลยังอยู่ภายใต้แอกของฮินดูลัทธิที่ร้ายกาจนี้แล้ว  พวกเขาจะไม่มีความหวังไม่มีแรงบันดาลใจและความกระตือรือร้นว่าชีวิตจะดีขึ้นได้เลย พวกคุณอาจเพิ่มเสมียนตราจำนวนร้อย เสมียนน่าสงสารเหล่านี้จะทำอะไรได้นอกจากหาอาหารยาไส้ตัวเอง  พวกเขาจะสามารถทำอะไรได้ ? พวกเรายังต้องการเสมียนชั้นพิเศษที่จะมาคุ้มครองพวกเขาจากความอยุติธรรมและจากความชั่วร้ายประการต่างๆนั้น

            มวลชนทั่วไปชั้นจัณฑาลนี้จะไม่ได้อะไรเลย คนชั้นนี้ไม่เคยรู้สึกกระตือรือร้นและได้แรงบันดาลใจจากศาสนาฮินดูเลย

            คนเราจะได้แรงบันดาลใจ (อยากทำนั่นทำนี่) ถ้าใจของเขามีอิสระพอที่จะพัฒนาตนเอง พวกคุณคงรู้จักพวกเจ้าของโรงงานโม่แป้งทั้งหลาย พวกเขาเลือกเอาพนักงานมาตั้งเป็นผู้จัดการประจำโรงงานเพราะพวกเขาดูจะวุ่นกับงานมากไผ  ไม่มีเวลาฝึกฝนใจตน ขณะที่พวกเขาสะสมเงินทองไว้มากมายจนเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจ แต่เป็นคนแคระแกร็นทางจิตวิญญาณ  พวกเราได้ก่อตั้งขบวนการนี้ขึ้นมาก็เพื่อศึกษาและพัฒนาจิตใจตนเอง
            ถ้าพวกท่านให้อภัย ข้าพเจ้าจะขอเล่าถึงประสบการณ์ส่วนตัวของข้าพเจ้า โดยเฉพาะเรื่องวิธีการศึกษาของข้าพเจ้า เพราะความยากจนข้นแค้น ข้าพเจ้าไม่มีเครื่องแบบนักเรียนและเสื้อผ้าชุดอื่นใดสวมไปโรงเรียน ยกเว้นผ้าขาวม้าพันกายผืนเดียว และที่โรงเรียนนั้นข้าพเจ้าแม้จะสุดกระหาย ก็ถูกกันมิให้ดื่มน้ำเป็นเวลาหลายวัน ตามปกติมารดาของข้าพเจ้าสอนข้าพเจ้าให้ทักทายแขกแปลกหน้าด้วยความนอบน้อม ซึ่งเป็นระเบียบปฏิบัติหรือ “วินัย” ประจำครอบครัวของข้าพเจ้า  โดยปกติข้าพเจ้าจะร้องเรียกบุรุษไปรษณีย์ว่า “ลุงไปรษณีย์ๆๆ” มีหญิงรับใช้ประจำโรงเรียนของข้าพเจ้าคนหนึ่งมาจากวรรณะ “มารตะ (Maratha)” เธอถือตัวมาก รังเกียจแม้กระทั่งกระเป๋าหนังสือของข้าพเจ้าเมื่อข้าพเจ้ากระหายน้ำ เธอไม่ยอมให้ข้าพเจ้าเข้าไปไขก๊อกน้ำเอง ความรังเกียจเช่นนี้ก็พบได้แม้ในวิทยาลัยเอลฟินสโตน (Elphinstone) ในมหานครบอมเบย์ (ที่ซึ่งข้าพเจ้าไปศึกษาต่อ) ในสถานการณ์เช่นนี้ พวกเรายังจะหวังอะไรกันอีกเล่า !!!
       
            การศึกษาของสตรีจัณฑาล
 
          ภาวะจัณฑาลนี้มิอาจกำจัดให้หมดไปได้ด้วยการศึกษาเท่านั้นระหว่างที่อินเดียอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ข้าพเจ้าเป็นสมาชิกสภาบริหารของอุปราชอังกฤษ ท่านลอร์ด ลินลิธโกว์ (Linlithgow) เป็นอุปราชอยู่ในช่วงนั้น ได้มีการอนุมัติเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาทั่วไปจำนวนมาก จากจำนวนนี้อนุมัติให้มหาวิทยาลัยอาลิกาห์(Aligah) ของมุสลิม 300,000 รูปีและมหาวิทยาลัยฮินดูที่พาราณสี (B.H.U) ก็ได้รับอนุมัติเงินจำนวนเท่ากัน

            วันหนึ่งขณะสนทนากัน ข้าพเจ้าได้ยกปัญหานี้ขึ้นพูดกับท่านอุปราชว่า รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ 300,000 รูปีแก่มหาวิทยาลัยอาลิกาห์ของมุสลิม และจำนวนเท่ากันนี้แก่มหาวิทยาลัยฮินดูที่พาราณสี  ในขณะที่พวกจัณฑาลในอินเดียซึ่งมิได้เป็นทั้งมุสลิมและฮินดู เป็นกลุ่มชนที่ล้าหลังจริงๆ ยิ่งกว่ากลุ่มชนใดๆ จึงควรจัดสรรลินลิธโกว์ขอให้ข้าพเจ้าทำเรื่องเสนอเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น สิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการจะพูดเกี่ยวกับกรณีนี้ในวันนี้ ได้แก่ สิ่งที่ข้าพเจ้าได้ทำบันทึกเสนอท่านอุปราชไปนั่นเอง

            โดยทั่วไปชาวยุโรปมักมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกเราอยู่แล้ว ท่านลอร์ดก็เป็นเช่นนั้น  ท่านเห็นด้วยกับข้อเสนอของข้าพเจ้า ได้อนุมัติจ่ายงบประมาณ 300,000 รูปี เพื่อการศึกษาของพวกจัณฑาล แต่มีปัญหาตามมาว่า พวกเราจะจ่ายเงินจำนวนนี้อย่างไร ? ท่านอุปราชต้องการให้จ่ายเพื่อการศึกษาของเด็กหญิงจัณฑาล พร้อมกับแนะนำให้จัดหาหอพักสำหรับนักเรียนหญิงเหล่านี้ด้วย

           ถ้าเงินจำนวนดังกล่าวถูกใช้ไปเพื่อการสร้างหอพักสำหรับเด็กหญิงจัณฑาลที่เข้าศึกษาอย่างนั้น ข้าพเจ้าคิดว่า ไม่นานพวกเราก็จะต้องหาเงินเพื่อมาจัดหาอาหารดีๆ ให้พวกเธออีก คนจนๆ อย่างพวกเราจะหาสิ่งเหล่านี้มาให้ลูกสาวของตนได้อย่างไร ?

             พวกเราจะได้เงินจากไหนมาใช้จ่ายเป็นค่าอาหารในหอพักเหล่านี้ เด็กผุ้หญิงของเราอาจจะไม่ต้องการฝึกฝนศิลปะการครัว (อาจจะทำอาหารไม่เป็น) แล้วอะไรจะเป็นผล
ลัพธ์ของการศึกษานี้ แล้วก็มาถึงปัญหาการแต่งงานของพวกเธออีกเล่า?
  
           ในขณะที่รัฐบาลจ่ายงบประมาณจำนวนมากไปเพื่อกิจการอื่นๆมากมาย แต่ก็มาตัดงบที่ตั้งไว้เพื่อการศึกษาของคนวรรณะจัณฑาลข้าพเจ้าจึงได้เข้าพบท่านลอร์ด ลินลิธโกว์อีกครั้งหนึ่ง และได้พูดเรื่องนี้ตรงๆกับท่าน ข้าพเจ้าได้ตั้งปัญหาใส่ท่านอุปราชลอร์ด ลินลิธโกว์ ว่า “ข้าพเจ้าคนเดียวนี่มิมีค่ากว่าผู้จบปริญญาอื่นๆ 50 คนหรือ ?" “ใช่แล้ว แน่นอน” ท่านตอบ แล้วข้าพเจ้าถามย้ำท่านว่า “ท่านทราบเหตุผลไหม ทำไมข้าพเจ้าถามอย่างนี้" เมื่อท่านตอบว่า “ไม่ทราบ” ข้าพเจ้าจึงต้องทำให้ท่านอุปราชยอมรับว่า คนที่ได้รับการศึกษามาจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศหนึ่งคนมีคุณค่าเท่ากับบัณฑิตผู้จบการศึกษาในประเทศอินเดีย 50 คนรวมกัน ข้าพเจ้าคนเดียวมีคุณสมบัติเท่ากับบัณฑิต 50 คนเพราะข้าพเจ้าศึกษาทะลุปรุโปร่งสามารถดำรงตำแหน่งใดๆ ในหน่วยราชการก็ได้ด้วยความมั่นใจ ข้าพเจ้าต้องการผู้สำเร็จการศึกษาแบบนี้ ผู้สามารถดำรงตำแหน่งสำคัญๆในลักษณะที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพดีที่สุดเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชุมชน

            ถ้าท่านอุปราชต้องการทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อยกฐานะความเป็นอยู่ของชนจัณฑาลจริงๆ ท่านอุปราชจะต้องผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเช่นนี้ ผู้ซึ่งสามารถจะเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมของพวกจัณฑาลให้ดีขึ้น เพียงแค่มุ่งผลิตคนออกมาเป็นเสมียนตรา จะไม่สามารถทำอะไรได้เลย
 
             ลอร์ด ลินละโกว์เห็นด้วยกับข้อแนะนำของข้าพเจ้า ผลตามมาก็คือ นักศึกษาจากชุมชนจัณฑาล 16 คน ได้รับทุนส่งไปยังต่างประเทศ เพื่อศึกษาให้สูงขึ้น ในจำนวนนี้มีเพียง 2-3 คนเท่านั้นที่ได้รับอานิสงส์เต็มเม็ดเต็มหน่วยจากโอกาสทองเช่นนี้ (คือสำเร็จการศึกษาตามเป้าหมาย) บางคนก้ไม่ได้อะไรเลย บางคนเรียนได้ครึ่งๆกลางๆ แล้วก็หนีกลับอินเดีย

             เหตุผลในที่นี้ก็คือว่า ในศาสนาฮินดูนั้นไม่มีความกระตือรือร้นเหลือไว้ให้แก่ชาวจัณฑาลเลย ถ้าจะมี ก็มีสำหรับพวกพราหมณ์และฮินดูวรรณะสูงอื่นๆ นอกจากนี้ก็ยังขาดบรรยากาศแห่งความร่าเริงใจความพอใจเพื่อการพัฒนามนุษยธรรมไม่มีความเท่าเทียมกันในศาสนาฮินดูพวกพราหมณ์ก็ถือตัวว่าสูงกว่ากษัตริย์ กษัตริย์ก็สูงกว่าแพศย์ และแพศย์ก็สูงกว่าศูทร แนวความคิดนี้มิได้ตั้งอยู่บนฐานแห่งความเท่าเทียมกันของมวลมนุษยชาติ พวกเราไม่ทราบเลยว่า เมื่อไรสถานภาพที่ต่ำช้าของฮินดูจะถูกกำจัดออกไปเสียที 
 
          

 
 
 
 
 
  
                            
  
  
  
  (อ่านความเดิมตอนที่แล้ว)
  
  
  

ปฏิวัติสันติ

 
สมัคร ยกเลิก
 
 
Revolutionary Press Agency
Online Journal and News Agency for Peace  :  วารสารและข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
Copyright © 2024 www.rpathailand.com All Rights Reserved.
ทำเว็บ  ออกแบบเว็บ  Web Design  เว็บสำเร็จรูป  เว็บไซต์สำเร็จรูป