Revolutionary Press Agency : Online Journal and News Agency for Peace
สำนักสื่อปฏิวัติ  : วารสารข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
8 มิ.ย. 2554 กองหน้าประชาชนรุ่นใหม่ อนุสรณ์ สมอ่อน ตอบคำถามคาใจทำไมต้องปฏิวัติประชาธิปไตย? 
อย่าให้เกิดสงครามศาสนา
 
สำนักสื่อปฏิวัติสันติ - Revolutionary Press Agency (RPA)
โดย เสรีภาพ ณ ชะเยือง
โพส: 1 ก.ค. 2552 
สันติสุขของโลก จะแก้ได้ด้วยแผนยุทธศาสตร์และเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
หรือด้วย ความเชื่อ และศรัทธา ?
        Under The Same Sun
 
Artist: Scorpions
 
I saw the morning
It was shattered by a gun
Heard a scream, saw him fall, no one cried
I saw a mother
She was praying for her son
Bring him back, let him live, don't let him die
Do you ever ask yourself
Is there a Heaven in the sky
Why can't we get it right
'cause we all live under the same sun
We all walk under the same moon
Then why, why can't we live as one
I saw the evening
Fading shadows one by one
We watch the lamb, lay down to the sacrifice
I saw the children
The children of the sun
How they wept, how they bled, how they died
Do you ever ask yourself
Is there a Heaven in the sky
Why can't we stop the fight
'cause we all live under the same sun
We all walk under the same moon
Then why, why can't we live as one
Sometimes I think I'm going mad
We're loosing all we had and no one seems to care
But in my heart it doesn't change
We've got to rearrange
And bring our world some love
And does it really matter
If there's a heaven up above
We sure could use some love
'cause we all live under the same sun
We all walk under the same moon
Then why, why can't we live as one
'cause we all live under the same sky
We all look up at the same stars
Then why, tell me why
Can't we live as one

ใต้ดวงตะวันเดียวกัน


ศิลปิน : สคอร์เปี้ยน
ฉันเห็นอรุณรุ่งที่กึกก้องด้วยเสียงปืน
ได้ยินเสียงกรีดร้อง  เห็นเขาล้ม ไม่มีใครสักคนที่ร้องไห้
ฉันเห็นผู้เป็นแม่ กำลังสวดมนต์ให้ลูกชาย
โปรดนำเขากลับมา ขอไว้ชีวิตเขาเถิด อย่าให้เขาตาย
คุณเคยถามตัวเองบ้างไหมว่า
มีสวรรค์บนฟ้าจริงหรือไม่
ทำไม เราทำสิ่งที่ถูกต้องไม่ได้
เพราะเราต่างก็อยู่ใต้ดวงตะวันเดียวกัน
เราต่างเดินใต้พระจันทร์ดวงเดียวกัน
แล้วทำไม ... เราอยู่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวไม่ได้
ฉันเห็นยามเย็น
และเงาแดดที่จางหายไปทีละน้อย
เรามองดูพวกแกะ ถูกฆ่าเพื่อสังเวย
ฉันเห็นเด็กๆ  ลูกๆ แห่งดวงตะวัน
เห็นเขาสะอื้น เห็นเขาเศร้า เห็นเขาตายอย่างไร
คุณเคยถามตนเองบ้างไหม 
มีสวรรค์บนฟ้าหรือไม่
ทำไม  เราหยุดการต่อสู้ฆ่าฟันซึ่งกันและกันไม่ได้
เพราะเราต่างก็อยู่ใต้ดวงตะวันเดียวกัน
เราต่างเดินใต้พระจันทร์ดวงเดียวกัน
แล้วทำไม ... ทำไมเราอยู่รวมเป็นหนึ่งเดียวกันไม่ได้
บางครั้งฉันคิดว่าฉันกำลังบ้า
เราสูญเสียทุกอย่างที่เคยมี และดูเหมือนไร้คนสนใจ
แต่ใจฉันมันหาเปลี่ยนไม่ 
เราต้องเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเสียใหม่
 และนำความรักมาให้โลกของเรานี้บ้าง
มันสำคัญนักหรือ
ถ้ามีสวรรค์อยู่จริงข้างบน 
เราต้องใช้ความรักได้บ้างแน่เลย
เพราะเราต่างก็อยู่ใต้ดวงตะวันเดียวกัน
เราต่างเดินใต้พระจันทร์ดวงเดียวกัน
แล้วทำไม เราอยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวไม่ได้
เพราะเราต่างอยู่ใต้ฟ้าเดียวกัน
เราต่างก็มองขึ้นไปหากลุ่มดาวเดียวกัน
แล้วทำไม... บอกฉันสิว่า...
ทำไมเราอยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวไม่ได้...
 
         เพื่อใคร

     นับเป็นเรื่องเศร้าระดับโลกยุคอินเตอร์เนตเช่นขณะนี้  ที่ครั้งแล้วครั้งเล่า เหล่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ไร้เดียงสา จำนวนนับหมื่นนับแสน ของหลายชาติหลายภาษา ต้องถูกเข่นฆ่า ถูกทำร้ายอย่างโหดเหี้ยมทารุณอย่างเหลือเชื่อ

     ที่น่าเศร้ายิ่งกว่าก็คือ สาเหตุหนึ่งมาจากความขัดแย้งทางการเมืองและศาสนา  ศาสตร์สองประการที่มีเป้าหมายว่า เพื่อสร้างสันติสุขให้แก่สังคมโลก

      ที่น่าเวทนาก็คือ คนที่มีชีวิตรอดอยู่ได้ ก็ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับความทุกข์ยากลำบากแสนสาหัส ต่อไปอีกนานแสนนาน  ซึ่งผลที่เกิดขึ้นนี้ ส่วนใหญ่ เป็นไปเพราะการตัดสินใจของผู้นำเพียงไม่กี่คนเท่านั้น

      เมื่อไรที่ผู้บริหารประเทศ ผู้นำทหาร นักรบ ไม่ว่าฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายกบฏ  หรือผู้ก่อการร้ายทั้งหลาย จะเพียงพอกับความภูมิใจในสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า ศักดิ์ศรี ความถูกต้อง ตามมุมมองข้างเดียวของเขาเสียที

       ประวัติศาสตร์ครั้งแล้วครั้งเล่า ได้พิสูจน์แล้วว่า สุดท้ายแล้ว  ไม่ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะชนะ ทั้งสองฝ่ายที่เหลือชีวิตรอด ก็ต้องทนอยู่กับความปวดร้าวที่ร่วมกันสร้างขึ้น และก็ต้องทนอยู่ร่วมกันในโลกใบเดียวกันนี้ จนกว่าจะตายจากกันไป 

       เรามีเพียงดาวเคราะห์หนึ่งเดียวดวงนี้เท่านั้น ที่เราจะต้องมีชีวิตอยู่ร่วมกันจนกว่าวาระสุดท้ายจะมาถึงเมื่อสงครามสงบ ไม่ว่ายุคใดสมัยใด  เราก็เห็นว่า ทุกฝ่ายก็ต้องเรียกร้องให้หันหน้าเข้าหากัน เพื่อช่วยกันสร้างสังคมและเศรษฐกิจ ที่ถูกทำลายย่อยยับไปแล้ว ให้ฟื้นขึ้นใหม่อยู่ดี  ตัวอย่างเช่น อมริกันกับญี่ปุ่น กับเวียดนามและอิรัก จีนกับทิเบต นานกว่านั้นก็มีเยอรมันและเพื่อนบ้านในยุโรป ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น ไม่ได้ยิ่งใหญ่ไปกว่าการอดทนอดกลั้น เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาอย่างสันติวิธีแม้แต่น้อย

       น่าเสียดายที่ แม้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปปานใด แต่ดูเหมือนว่า ไม่สามารถทำให้จิตใจของมนุษย์ ก้าวตามไปด้วยได้เลย ยังแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น  ฆ่าฟันกันอย่างโหดร้าย ไร้ความเมตตา ไม่ต่างจากยุคโบราณมากนัก 

      ที่ยิ่งเลวร้ายกว่าก็คือ จากที่เคยรบกันอย่างมีศักดิ์ศรีและคุณธรรม ละเว้นเด็ก ผู้หญิงและผู้ไร้อาวุธ เช่นที่กระทำกันในสงครามยุคอดีต แต่ปัจจุบันนี้ แม้กระทั่งคนที่ไม่เกี่ยวข้อง คนที่ไม่ใช่ผู้ซึ่งได้ทำความเจ็บปวดรวดร้าวให้แก่ฝ่ายใด  ไม่จำกัดเพศและวัย  ก็ได้กลายเป็นเป้าหมาย เป็นเหยื่อระเบิดพลีชีพ หรือการสังหารหมู่ มากมายหลายครั้ง เพียงเพื่อให้ได้ประโยชน์ทางจิตวิทยา หรือผลการต่อสู้ทางการเมืองเท่านั้น

      ดูเหมือนว่า ผู้นำในการรบราฆ่าฟันทุกวันนี้  ไม่ว่าฝ่ายใด ไม่มีคำว่า  “สุภาพบุรุษ” หรือ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” อยู่ในหัวใจ  พวกเขาฆ่ามนุษย์เหมือนสัตว์ชั้นต่ำ พวกเขาได้ลืมไปเสียแล้วว่า มนุษย์แต่ละคนนั้นมีชีวิตจิตใจ มีความรักความผูกพัน มีความห่วงใยในสามีภรรยา  พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง ซึ่งต่างจากสัตว์มากมายนัก

       น่าอัศจรรย์ที่ว่า ทำไม คนที่อาสาไปฆ่าผู้อื่น หรือคนที่สั่งการ ไม่เคยย้อนคิดเลยว่า ถ้าหาก เพื่อน พี่  น้อง หรือพ่อแม่ของเขา ถูกฆ่าหรือกระทำเช่นที่เขาทำกับผู้อื่นนั้น เขาจะรู้สึกอย่างไร หรือถ้าเขาเคยถูกกระทำมาแล้ว เมื่อไร การแก้แค้น ความสะใจของเขาจะเพียงพอเสียที การฆ่าคนๆ หนึ่ง มันไม่ได้ทำความเจ็บปวดให้แก่คนที่ตายไปเท่านั้น แต่คนที่เหลืออยู่ บางที ได้รับความเจ็บปวดยิ่งกว่า
       เมื่อเขาหลับตาลง เขาไม่เคยเลยหรือ ที่จะนึกถึงภาพผู้คนที่อ่อนหวาน หนุ่มหล่อ สาวสวย ผู้ใหญ่ที่น่ารัก หรือยิ้มแย้มที่เปรี่ยมด้วยเมตตาและอ่อนโยนของผู้สูงอายุ ที่ได้กลายเป็นร่างแหลกเหลว ดิ้นทรุนทรายในกองเลือด พร้อมเสียงร้องครวญคราง รวมทั้งหยาดน้ำตาและเสียงร่ำไห้ ของผู้ที่สูญเสียคนที่เขารัก ด้วยฝีมือของเขาเอง

       ดูเหมือนว่า ความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกวันนี้  ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาทางสันติให้แก่โลกแม้แต่น้อย นับวันยิ่งแก้ ดูเหมือนจะยิ่งรุนแรงยิ่งขึ้น

        เหตุการณ์ทุกวันนี้ ทำให้ผู้เขียน รำลึกถึงข้อเขียนของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่ง คือ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ ในหนังสือ Monthly Review เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1949 (๒๔๙๒) ในหัวข้อ “Why Socialism?” ซึ่งได้เขียนไว้ ดังนี้

       “...วิทยาศาสตร์ไม่สามารถสร้างจุดมุ่งหมายให้แก่มนุษย์ได้  และวิทยาศาสตร์ก็ไม่สามารถอัดฉีดอุดมการณ์หรือเจตคติเข้าไปในจิตใจมนุษย์ได้  วิทยาศาสตร์เป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง ที่ช่วยให้มนุษย์บรรลุจุดหมายปลายทางที่ต้องการเท่านั้น
           แต่จุดหมายเพื่อสังคมที่มีจรรยาบรรณอันสมบูรณ์(social-ethical end)นั้น จะได้มาก็ด้วยบุคลิกภาพของมนุษย์ อันเต็มไปด้วยศีลธรรมจรรยาบรรณอันสูงส่งเท่านั้น......
  ..... ในเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาของมนุษย์ชาติ เราต้องไม่ประเมินคุณค่าของวิทยาศาสตร์และกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์สูงมากเกินไป  เราต้องไม่ถือว่าผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ที่มีสิทธิแสดงความคิดเห็น ในเรื่องปัญหาที่เกี่ยวกับการจัดระบบสังคมของมนุษย์ .....”
 
 
(ในตอนท้าย ท่านสื่อความหมายว่า  คนธรรมดาสามัญก็มีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นในเรื่องการจัดระเบียบสังคมที่เขาอยู่ได้ )

          คำตอบในการแก้ปัญหาความขัดแย้งและการฆ่าฟันกันอย่างโหดร้ายทุกวันนี้  ถ้าวิเคราะห์ข้อความข้างบนนี้ให้ดี  ดูเหมือนว่า จะมีบางส่วนซ่อนอยู่ในข้อเขียนของนักวิทยาศาสตร์ท่านนี้  ดังเช่น   การอัดฉีดศีลธรรมจรรยาบรรณอันสูงส่งเข้าไปอยู่ในจิตใจของมนุษย์

         เมื่อมนุษย์มีศีลธรรมและจรรยาบรรณที่สูงส่ง  การรบร่าฆ่าฟันกันน่าจะจบลง เปลี่ยนเป็นถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วยกันสร้างสังคมที่ดี สร้างโลกนี้ให้น่าอยู่  แต่ไม่มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่จะอัดฉีดศีลธรรมจรรยาบรรณเข้าไปในจิตใจมนุษย์ได้   ดังที่ไอสไตน์ได้กล่าวไว้

          ผู้เขียนมีความเห็นว่า เมื่อวิทยาศาสตร์ทำไม่ได้ เรายังมีอีกวิธีหนึ่ง ที่อาจจะไม่ถือกันว่าเป็นวิทยาศาสตร์  แต่ได้เคยสร้างสันติสุขให้ชุมชนจำนวนมากทั่วโลกมานานแล้ว  แต่พวกเราได้ทอดทิ้ง ไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งนี้เสียแล้ว นั่นคือ วิธีการสั่งสอนศีลธรรมและจริยธรรมทางศาสนา

          นี่อาจเป็นความเห็นที่ถูกหยามด่าว่าไดโนเสาร์ ถอยหลังเข้าคลอง  เป็นอันตรายยิ่ง เพราะสาเหตุการฆ่ากันตายจำนวนมากทุกวันนี้   ปฏิเสธไม่ได้ว่า มีจำนวนมาก ที่อ้างว่าทำเพื่อศาสนา

           ผู้เขียนไม่ขอโต้แย้งในเรื่องนี้ แต่... ลองทำใจให้เป็นกลางสักนิด   พิจารณาให้รอบคอบว่า  ในภาวะคับขัน  หรือในเวลาแห่งการเกิดและการตายของมนุษย์  มีใครบ้างที่ไม่นึกถึงคำสั่งสอน หรือความเชื่อทางศาสนาของตน  เราเห็นคนส่วนใหญ่ทำ ทั้งเพื่อขับไล่ความหวาดกลัว ปลอบใจให้คลายเศร้า เพื่อปลุกเร้าจิตใจให้คึกคัก ให้ฮึดสู้อย่างไม่เสียดายชีวิต 

           หากใครได้ศึกษาประวัติศาสตร์การเมือง การทหาร และพยายามมองหาเรื่องที่ศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย จะพบว่า อิทธิพลความเชื่อทางศาสนามีพลังมากมายสุดหยั่งถึงได้ ตัวอย่างที่น่าพิศวงมีอยู่ในรูปภาพต่อไปนี้  ลองตอบคำถามต่างๆ ด้วยตัวท่านเอง

 

ทหารอาฟกานิสถานขอพระจากพระอัลเลาะห์ของพวกเขาก่อนออกรบ

ทหารอเมริกันสวดมนต์อ้อนวอนพระเจ้าก่อนออกสู่สมรภูมิในอิรัก

 
 
 
ชายผู้หนึ่งนำพระพุทธรูปวางไว้บนตักระหว่างนั่งประจันหน้ากองทหารในช่วงพฤษภาทมิฬ
 
 
 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

       

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
       ศาสนากับการเมืองที่ผ่านมา

      ในอดีตและปัจจุบัน มีการนำเอาศาสนามาใช้เป็นข้ออ้างในการทำงานทางสังคมและการเมืองอยู่บ่อยครั้ง  ทั้งเพื่อพัฒนาชุมชน  เพื่อโค่นล้มรัฐบาล หรือเพื่อทำลายล้างกบฏ      ผู้นำทางการเมืองจำนวนมาก ก่อนขึ้นสู่ตำแหน่ง ก็มักยกเอาชาติ ศาสนา มาเป็นข้ออ้าง เพื่อแสวงหาความชอบธรรมในการขึ้นสู่อำนาจ  ครั้นได้อยู่ในตำแหน่งนานๆ เข้า ก็มักหลงอำนาจ ลืมสิ่งที่เคยสัญญาไว้ มุ่งแต่กอบโกยเพื่อตนเองและพรรคพวก  กลายเป็นเผด็จการ 

    ที่น่าสนใจก็คือ ศาสนาถูกนำเข้าไปเครื่องมือ หรือเหตุผลในการทำลายล้างเผด็จการที่ได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อในหลายประเทศ

     ในประเทศไทยของเรา ครั้งหนึ่ง คงจำกันได้ว่า ศาสนาถูกใช้เป็นเหตุผลในการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างชัดเจนยิ่งกว่าครั้งใดๆ ดังวาทะของสองผู้นำที่รู้จักกันดี  ซึ่งเคยปรากฏในสื่อต่างๆ ในเดือนพฤษภาคม  2535 ดังนี้

    “…ผมได้รับการร้องขอจากพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ให้มารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อป้องกันและรักษาไว้ซึ่งศาสนาพุทธ ที่กำลังถูกบุคคลกลุ่มหนึ่ง ก่อตั้งศาสนาขึ้นใหม่…..”
พล.เอก สุจินดา   คราประยูร

      “… พี่ประกาศค่านิยมใหม่ขึ้นมาในสังคมไทย เสียสัตย์เพื่อชาติ ซึ่งขัดต่อหลักศาสนาอย่างรุนแรง โดยเฉพาะศาสนาพุทธ ผมต้องคัดพระไตรปิฏกมาเขียนหลังเสื้อ คนพูดเท็จไม่ทำบาปไม่มี…”
พลตรี จำลอง   ศรีเมือง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
        ผลของพฤษภาทมิฬเป็นเช่นไร  คนไทยส่วนใหญ่คงทราบกันดีแล้ว   ความรุนแรงถูกสยบลงด้วยพระบารมีปกเกล้า ทำให้สังคมไทยหลุดรอดจากความวอดวายมาได้อีกครั้งหนึ่ง

        ถ้าทบทวนเหตุการณ์ทางการเมืองในหลายแห่งของโลก เราจะพบว่า เพราะศาสนานี่แหละ ที่ผู้นำจอมเผด็จการผู้ยิ่งใหญ่ของบางประเทศหลายคน ต้องระเห็จเผ่นหนีออกจากแผ่นดินเกิด สูญสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยมี พ่ายแพ้แก่ประชาชนมือเปล่า ซึ่งอาศัยพลังศาสนาเข้ามาช่วยในการต่อสู้ ตัวอย่างเช่น  การกู้เอกราชจากอังกฤษของมหาตมะ คานธี ของอินเดีย การขับไล่ชาร์แห่งอิหร่าน  การปฏิวัติที่เอ็ดซา(The EDSA Revolution) เพื่อขับไล่ ประธานาธิบดี เฟอร์ดินานด์ มากอส แห่งฟิลิปปินส์  เป็นต้น

     รายละเอียดในเหตุการณ์เหล่านี้น่าศึกษาไม่น้อย  ผู้เขียนจึงแยกเขียนเป็นบทความเรื่องการต่อสู้ทางการเมืองที่มีศาสนาไปเกี่ยวข้องในประเทศต่างๆ หลายประเทศอีกต่างหาก  ในที่นี้  ขอยกภาพประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมาฟื้นความทรงจำกันสักเล็กน้อย
 
 
        อินดีย 

      มหาตมะคานธีใช้ภาพลักษณ์ความเป็นปราชญ์และผู้เคร่งปฏิบัติทางศาสนา ดึงพลังสนับสนุนจากคนอินเดียต่อสู้กับอังกฤษด้วยหลักอหิงสาจนได้ชัยชนะ โดยได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองในรัฐสภากลุ่มหนึ่ง เช่น ดร. อัมเบดการ์ (Dr. Babasaheb Ambedkar) และ ยาวาหะราล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) ภาพข้างล่างนี้เป็นการเดินนำขบวนประท้วงทางไกลครั้งแรกของโลก เพื่อต่อต้านกฎหมายเกลือของอังกฤษระยะทาง 385 กิโลเมตร  จนเกิดการ จลาจลขยายไปทั่วอินเดีย และอังกฤษต้องยอมสละอำนาจ ปล่อยอินเดียให้เป็นเอกราช
 
 

   
       อิหร่าน

      ในอิหร่านก็เคยเกิดเหตุการณ์โค่นล้มกษัตริย์ ซึ่งนำโดยผู้นำทางศาสนามาแล้ว  ในภาพซ้ายมือคือ พระเจ้าซาห์ โมฮัมหมัด  เรซา ปาห์เลวี จักรพรรดิแห่งอิหร่าน ซึ่งทรงนิยมวัฒนธรรมตะวันตกและเป็นมิตรสนิทกับอเมริกา  แต่ถูก อิหม่าม อะยาตอลลา โคไมนี (ภาพขวา) ผู้ถือกำเนิดจากครอบครัวคนธรรมดาสามัญ โค่นอำนาจจนต้องไปสิ้นพระชนม์ในต่างประเทศ 
 
 
 
 
       ฟิลิปปินส์

      การต่อสู้ของชาวฟิลิปปินส์ เป็นเหตุการณ์ที่น่าศึกษาอย่างมาก เนื่องจากประธานาธิบดีมาร์กอส เคยเป็นนักเรียนกฎหมายที่สอบได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ  เป็นนักการเมืองยอดนิยม เป็นผู้ได้รับเหรียญฮีโร่สงครามเมื่อครั้งต่อสู้กับญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีผู้ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงแรก ทำให้ประชาชนเต็มไปด้วยความหวังทางด้านเศรษฐกิจ  สามารถแก้ปัญหาประเทศได้มากมาย เป็นผู้นำที่มีชื่อเสียงที่สุดในเอเซียยุคนั้น และยังเป็นสหายสนิทของอเมริกา แต่ในตอนท้ายกลายเป็นผู้ยึดครองธุรกิจสำคัญๆ ของประเทศมาอยู่ในมือของครอบครัว ญาติและมิตร จนทำให้ประเทศชาติประสบปัญหา เกิดความวุ่นวายจนสุดแก้ไข  และในที่สุดก็ถูกโค่นล้มโดยประชาชนซึ่งหนุนโดยผู้นำศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาธอลิก  ผู้เขียนรวบรวมเหตุการณ์ที่สำคัญในการต่อสู้ของชาวฟิลิปปินส์ไว้ในบทความเฉพาะอีกเรื่องหนึ่ง

 
       ภาพข้างบนนี้คือ คาร์ดินาล เจมส์ ซิน ผู้ซึ่งสื่อตะวันตกยกย่องว่าเป็นผู้นำทางศาสนาที่มีอิทธิพลทางการเมืองอย่างมาก จนทำให้ประธานาธิบดี มาร์กอส นักการเมืองรักชาติยอดนิยม ซึ่งกลายมาเป็นเผด็จการยึดครองอำนาจทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศกว่า 20 ปี(1966-1986) ต้องพ่ายแพ้พลังมวลชน ซมซานหนีไปลี้ภัยและเสียชีวิตในฮอลโนลูลู สหรัฐอเมริกา ภาพล่างคือเหตุการณ์ตอนขับไล่มาร์กอส และอนุสาวรีย์มาร์กอสที่สร้างยุครุ่งเรือง เลียนแบบรูปสลักหินใบหน้าประธานาธิบดีอเมริกา ตอนหลังก็ถูกชาวบ้านบุกเข้าไปทุบขุดค้น เพราะคิดว่ามากอสซ่อนทองไว้ในอนุสาวรีย์ของตนเองตอนหนีออกต่างประเทศ
 
 
        ภาพนี้ แสดงให้เห็นชาวฟิลิปปินส์ นำโดยแม่ชีจำนวนมาก เผชิญหน้าทหารและรถถัง ในการต่อสู้เพื่อขับไล่เผด็จการ มาร์กอส ที่ย่านเอ็ดซา เป็นการต่อสู้ที่โด่งดังไปทั่วโลก มีชื่อว่า “People Power1 (พลังประชาชน ครั้งที่ 1)” มีเรื่องเล่าว่า มีปาฏิหาริย์เกิดขึ้นในการต่อสู้ครั้งนี้ โดยการปรากฎตัวของพระนางแมรี่ในรูปแม่ชีผู้สวยงามผู้หนึ่ง เข้าไปพูดกับทหารที่อยู่ในรถถัง จนทหารยอมวางอาวุธและเข้ารวมกับฝูงชนต้านมาร์กอสเสียเอง (เล่าโดยคาร์ดินาล ซิน ประมุขทางศาสนาของประเทศในยุคนั้น มีรายละเอียดในบทที่ 6)  ในที่สุด ภาพขวาคือชาวนากำลังอ่านข่าวมาร์กอสหนีออกนอกประเทศในหนังสือพิมพ์มนิลาไทม์

        ในอีกแง่มุมหนึ่ง  มีผู้นำทางสังคมบางคน ได้อาศัยความเชื่อและหลักการทางศาสนา เข้ามาช่วยในการพัฒนาชุมชน สร้างสิ่งดีๆ ให้แก่สังคมได้มากมาย จนเป็นที่ยกย่องสรรเสริญไปทั่วโลก ตัวอย่างเช่น ท่านวิโนบา เบ็บ(Vinoba Bhave) ของอินเดีย แม่ชีเธเรซา (Mother Theresa )  มหาตมะคานธี  เป็นต้น

        หากวิเคราะห์เหตุแห่งปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวันนี้   ทั้งปัญหาผู้ก่อการร้ายระดับโลก และเหตุการณ์ในภาคใต้ของไทย ที่ระเบิดแรงขึ้นในยุครัฐบาลทักษิณ หลายคนพยายามบอกว่าเป็นเพราะกลุ่มผลประโยชน์  หรือเป็นเพราะเจ้าหน้าที่บางส่วนที่ชอบใช้ความรุนแรง แต่เชื่อว่าหลายท่านคงอึดอัดใจเป็นอย่างยิ่ง ที่เหตุการณ์ร้ายหลายๆ ครั้งที่เกิดขึ้น มันชี้ชวนให้เห็นว่า มีการพยายามดึงเอาศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้องกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่มากก็น้อย

        ทำอย่างไร เราจะให้คนทั้งหมดที่นับถือศาสนาที่ต่างกันเข้าใจกัน  ทำอย่างไร จะให้คนทั้งหมด ที่นับถือศาสนาต่างกัน มองเห็นกันและกันเป็นมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อ มีจิตใจ เช่นเดียวกัน  ทำอย่างไร เราจะไม่ให้คนบางกลุ่มเอาศาสนามาเป็นข้ออ้างในการเข่นฆ่าผู้อื่น เพื่อหาประโยชน์ หรือสนองความหลงผิดของตน นี่คือปัญหาที่ผู้คนทั้งโลกควรจะต้องขบคิด และหันหน้ามาร่วมมือกันอย่างจริงจัง
 
         ภาพที่ไม่ได้เป็นแบบ happy ending เหมือนการต่อสู้ทางการเมืองในฟิลิปปินส์และอินเดียข้างบนนี้ เป็นที่สะเทือนอารมณ์ของทุกฝ่ายที่เห็น  มันคงจะไม่เกิดขึ้น  หากหลักธรรมคำสอนของศาสนาที่แท้จริงขั้นสูงของทุกฝ่าย ได้รับการยอมรับนับถืออย่างจริงจังจากทุกคนในสังคม  

        ผู้เขียนนำมาให้ดูเพื่อย้ำเตือนสติทุกคนอีกครั้งว่า  หากพวกเราไม่รีบทำอะไรให้จริงจัง  เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาเรื่องนี้  มันอาจจะสายเกินไปก็ได้ (ภาพจากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, ผู้จัดการ ช่วงเกิดเหตุใน 3 จังหวัดภาคใต้เมื่อหลายปีก่อน  และ เมื่อ 8 มิ.ย. 2552 ที่มัสยิดอัลฟุรกอน เจาะไอร้อง นราธิวาส  

        จึงอยากวิงวอนฝากไปยังผู้นำทางจิตวิญญาณของทุกฝ่าย ได้โปรดเตือนสติของผู้คนในชุมชนของตน ให้มองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยความรอบคอบสุขุม ครบทุกแง่มุม  โดยใช้หลักศาสนาขั้นสูงของศาสดาของตนเป็นเครื่องชี้นำ และขอให้รวมพลังกันอย่างสร้างสรรที่จะ “ค้นหาความจริง และแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างสันติวิธี” ไม่ใช่เพื่อ “ล้างแค้น” เพราะสันติภาพ ย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยความรุนแรง

        การแก้ปัญหาใดๆ ที่มีการเอาศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง  เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ไม่อาจทำได้ด้วยอารมณ์และความรู้สึก  และต้องไม่ตัดสินอะไรง่ายๆ ด้วยการคาดคะเนเอาเองจากสิ่งที่เห็น โดยไม่มีพยานหลักฐานที่ชัดแจ้ง  มันอาจเป็นกลลวง กับดัก ของใครก็ได้  จำเป็นจะต้องใช้ความระมัดระวัง ความสุขุมรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง  ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าไปแก้ปัญหาเหล่านี้  สมควรจะต้องได้ยั้งคิด  หันมาศึกษาประวัติศาสตร์และความเป็นมาของศาสนาให้เข้าใจทั้งสองฝ่าย โดยทำจิตใจให้ปราศจากความลำเอียงใดๆ ให้ได้เสียก่อน   และต้องดึงเอาผู้คนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่มามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและช่วยตัดสินใจ ก่อนที่จะสั่งการหรือกระทำสิ่งใดลงไป ซึ่งอาจกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวที่ยากยิ่งจะแก้ไขสถานการณ์ได้ เหมือนที่ผ่านมา

         สงครามศาสนาเคยเกิดมาแล้วหลายครั้งในประวัติศาสตร์  ท่ามกลางความเจริญทางด้านเทคโนโลยีข่าวสารข้อมูลที่เราต่างภาคภูมิใจอยู่ทุกวันนี้   ทำอย่างไร  เราจะไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก เหตุการณ์ทุกวันนี้ในหลายๆ แห่งของโลก จะบานปลายไปสู่จุดนั้นหรือไม่  เราจะช่วยกันป้องกันความรุนแรงได้อย่างไร หวังว่าคำตอบเหล่านี้ คงไม่ลอยหายไปกับสายลม

         ผู้เขียนมีความสงสัยว่า คำตอบในการก้าวไปสู่สันติสุขของโลกที่แท้จริง อาจอยู่ที่การทำความเข้าใจกับความเชื่อ ความรัก และศรัทธาในศาสนา ของพวกเราในโลกนี้เอง  แล้วนำมันมาใช้ให้ถูกทางร่วมกับความรู้ทางเศรษฐกิจและการเมือง มีหลักฐานประวัติศาสตร์ที่ประจักษ์มานานแล้วว่า พลังความเชื่อและศรัทธาทางศาสนานั้น  ยิ่งใหญ่  ทรงพลานุภาพ เหนือกว่าความรักในญาติมิตร และแม้แต่ชีวิตตนเอง  มนุษย์จำนวนมากได้พลีชีพไปเพราะสิ่งนี้มาแล้ว

         ที่เขียนเรื่องนี้  ก็เพราะอยากเรียกร้องให้ช่วยกันแสวงหาคำตอบ เพื่อนำไปสู่สันติสุขร่วมกันของมนุษยชาติ  เพื่อเรียกร้องให้ท่านสนใจในศีลธรรมจรรยาบรรณที่แท้จริง ตามหลักศาสนาของท่านเอง หรือหลักสากล ให้มากขึ้น  อยากให้ท่านได้เห็น พลานุภาพของศาสนา ที่เคยถูกใช้มาแล้วทั้งในแง่ลบและแง่บวก เพื่อจะได้หันมาให้ความสนใจ และศึกษากันให้มากขึ้น  เพื่อนำมาช่วยกันสร้างสันติสุขร่วมกันของมนุษยชาติ ไม่ว่าชาติใด ภาษาใด และศาสนาใด
 

ปฏิวัติสันติ

 
สมัคร ยกเลิก
 
 
Revolutionary Press Agency
Online Journal and News Agency for Peace  :  วารสารและข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
Copyright © 2024 www.rpathailand.com All Rights Reserved.
ทำเว็บ  ออกแบบเว็บ  Web Design  เว็บสำเร็จรูป  เว็บไซต์สำเร็จรูป