Revolutionary Press Agency : Online Journal and News Agency for Peace
สำนักสื่อปฏิวัติ  : วารสารข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
8 มิ.ย. 2554 กองหน้าประชาชนรุ่นใหม่ อนุสรณ์ สมอ่อน ตอบคำถามคาใจทำไมต้องปฏิวัติประชาธิปไตย? 

ทำไมจึงต้องถวายคืนพระราชอำนาจ ?
โดย นางแก้ว
- ๓ -
สภาสามสิบ/เจ็ดสิบคือรูปธรรมของการเปลี่ยนระบอบ
 
 
                                                                   
               บวนการประชาธิปไตยแห่งชาติยึดข้อเท็จจริงเป็นหลักและจะไม่ทำร้ายทำลายเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์ของประชาชนที่เข้าร่วมกับ พันธมิตรเพื่อประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและที่เข้าร่วมกับแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ(นปก.) เนื่องจากตระหนักดีว่าประชาชนผู้เข้าร่วมด้วยความไม่รู้เป็นผู้บริสุทธิ์เสมอและไม่เคยผิด 

            คำอธิบายที่มอบให้แก่สาธารณชนของขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติกอปรด้วยขันติท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่เข้าใจและเป็นไปอย่างอดทนเพื่อให้ผู้กุมอำนาจรัฐในฐานะผู้ปกครองได้เข้าใจ  หลายต่อหลายครั้งที่คำอธิบายทั้งหลายช่วยชะลอการเร่งให้เกิดการทำผิดยิ่งๆขึ้นของทุกฝ่ายโดยมีผู้ฝักใฝ่แนวปฏิวัติรุนแรงคอยหนุนหลัง
 
          จุดมุ่งหมายของคำอธิบายเป็นไปเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมปรับความเห็นให้เสมอกัน และจะไม่อธิบายสิ่งใดที่ทำร้ายความเห็นของประชาชน   แต่จะพยายามประคองความเห็นที่แตกต่างของประชาชนไว้ให้ถึงที่สุด เราจะไม่ทำลายศรัทธาที่สร้างขึ้นด้วยพลังของการเปลี่ยนแปลง  ดังนั้นเพื่อร่วมผลักดันสนธิ ลิ้มทองกุลในฐานะผู้ถือดุลแกนนำพันธมิตรทั้งห้า  ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติจำต้องอธิบายไล่ถึงหลักการและเหตุผลอันชอบธรรมของการขับเคลื่อนทางความคิดแบบตัดขาวตัดดำ  เพื่อนำพาประเทศชาติก้าวล่วงวิกฤตครั้งนี้  สนธิกำลังพยายามสะท้อนทฤษฎีลึกกว่าปรากฏการณ์  แต่ทว่าความรู้ทางการเมืองของเขามีไม่เพียงพอที่จะพูดถึง "ทฤษฎีปฏิวัติประชาธิปไตย"

               คำอธิบายของสนธิ ลิ้มทองกุลเรื่องสภา 30/70นั้น ถึงแม้จะไม่ชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยข้อจำกัดเรื่องความเข้าใจเรื่องอำนาจอธิปไตย   โดยหลักการแล้วข้อเสนอดังกล่าวคือทำให้สภาที่จะเกิดขึ้นเป็นสภาของปวงชนประกอบด้วยผู้แทนปวงชนหลายสาขาอาชีพ    จะเป็นผู้แทนเขตจากท้องถิ่นหรือจะเป็นผู้แทนสาขาอาชีพก็ย่อมได้   แต่มีคนน้อยคนนักจะเข้าใจว่า นี่คือการประยุกต์ทฤษฎีสภาปวงชนของพระปกเกล้าฯที่ขบวนการประชาธิปไตยใช้ในการนำเสนอมาโดยตลอด  คือเพิ่มพื้นที่ให้ตัวแทนประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้มีโอกาสเข้ามาทำหน้าที่ในสภา  สภานี้จะทำหน้าที่รองรับอำนาจที่จะถ่ายโอนมาจากสถาบันพระมหากษัตริย์ คือขั้นตอนการถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยมาสู่ปวงชนนั่นเอง!! ซึ่งสามารถอธิบายได้โดยใช้หลักอธิบายเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนเป็นหลัก นั่นคือถ้าสภานี้ทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศได้มีส่วนร่วมในการปกครองของตนผ่านผู้แทนตามสาขาอาชีพได้จริง  ก็จะเป็น "สภาของคนส่วนใหญ่" ที่จะสามารถสร้าง "รัฐบาลของคนส่วนใหญ่" และถ่ายโอนอำนาจจากคนส่วนน้อยมาสู่คนส่วนใหญ่เท่ากับได้เปลี่ยนจากระบอบเผด็จการมาเป็นประชาธิปไตยได้สำเร็จ   ได้ทำให้เกิดสภาแห่งชาติและรัฐบาลแห่งชาติสมประสงค์ โดยไม่เกิดความรุนแรงนองเลือด

               หากมองเห็นการเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรมก็จะเห็นว่านี่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างสันติและสอดคล้องกับเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงประเทศสมตามเหตุปัจจัยที่พึงมีพึงเป็น   เป็นการเปลี่ยนจากระบอบเผด็จการรัฐสภามาสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างละมุนละม่อมที่สุด   เกิดการถ่ายโอนอำนาจตามกลไกธรรมชาติโดยไม่มีการขับโห่ร้องขับไล่ผู้ใดในแผ่นดินนี้อีกต่อไป
 
                เอาอำนาจอธิปไตยของปวงชนไปทำอะไร
 
               การที่จะทำให้อำนาจอธิปไตยสมบูรณ์เป็นรูปธรรมนั้น องค์กรอำนาจอธิปไตยทั้งสองคือรัฐสภาและรัฐบาลจะต้องทำหน้าที่ไม่บกพร่อง รัฐสภาต้องมีผู้แทนของปวงชนอย่างแท้จริงไม่ใช่ผู้แทนคนส่วนน้อย ส่วนรัฐบาลก็จะต้องมี "นโยบาย" ที่สะท้อนประโยชน์ของปวงชนจริงๆ
                สภาปวงชนทำหน้าที่เป็นผู้แทนปวงชนไม่ต่างจากสภานิติบัญญัติเป็นผู้อนุมัติให้รัฐบาลทำหน้าที่เอานโยบายไปใช้ให้ถูกต้อง  รัฐบาลก็มีหน้าที่แถลงนโยบายให้สภารับฟังเพื่อร่วมกันใช้อำนาจอย่างถูกต้องเหมาะสม บทบาทหน้าที่ขององค์ประกอบทั้งสองของรัฐสภาและรัฐบาลเมื่อประกอบกันแล้วจึงจะเป็นรูปธรรมตัวแทนอำนาจอธิปไตยของปวงชนอย่างแท้จริง!!   รัฐบาลจึงมีหน้าที่กำหนดนโยบายที่ดีที่สุดเพื่อประเทศชาติ   ส่วนสภาปวงชนก็จะทำหน้าที่แทนปวงชนชาวไทย  จะไม่ใช่สภาหวยล็อค ไม่ใช่สภาผัวเมีย ฯลฯ   ทั้งนโยบายและผู้แทนจะต้องสะท้อนความเป็นปวงชนจึงจะเป็นรัฐบาลแห่งชาติได้ทำหน้าที่ให้กับชาติแผ่นดินไม่ใช่ให้กับคณะบุคคลบางกลุ่มหรือคนส่วนน้อยของประเทศ
สภาปวงชนคือสภาปฏิวัติ
 
               "สภาปวงชน " เป็นอย่างไร   สภาปวงชนไม่ใช่สภาสนามม้า  ไม่ใช่สภาอุปโลกอย่างที่เคยทำกันมาผิดๆ อันเนื่องมาจากการเข้าใจทฤษฎีผิด จึงนำไปอธิบายผิดและประยุกต์ใช้ผิด เข้าไม่ถึงแก่นสาระของการสร้างสภาปวงชนซึ่งริเริ่มขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 รูปแบบของสภาปวงชน  คือขั้นตอน"การถ่ายโอนอำนาจ"จากสถาบันพระมหากษัตริย์สู่ราษฎรเพื่อทำการปกครองกันเอง ความพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครอง สอดคล้องต่อเนื่องจากรัชสมัยของรัชกาลที่6 ที่ได้ทรงริเริ่มเมือง "ดุสิตธานี" ขึ้นมาเพื่อทดลองการปกครองแบบใหม่ นั่นคือการเตรียมการต่อเนื่องแม้จะมีการผลัดแผ่นดินถึงสามรัชกาลจากพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 สู่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 และที่ 7 คือความพยายามของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่การปกครองแบบประชาธิปไตยให้ประชาชนเข้ามาใช้กลไกอำนาจในการปกครองอย่างค่อยเป็นค่อยไป   และเป็นการเตรียมขบวนการประชาชนให้เข้มแข็ง  มีการศึกษารู้รอบในลัทธิประชาธิปไตย  และรู้ภัยของอำนาจหากนำไปใช้ผิด
                ในช่วงรอยต่อสำคัญของการเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้ารัชกาลที่ 7 แม้จะเป็นไปในระยะเวลาอันสั้น  แต่ก็เป็นการเตรียมการ "สร้างประชาธิปไตย" ต่อเนื่องอย่างเป็นรูปธรรม  ถึงแม้จะไม่ได้มีการบันทึกไว้หรือมีการเรียนการสอนกันในระบบการศึกษาว่าแท้จริงแล้ว  รัชกาลที่ 7ได้ทรงเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาก่อนที่คณะราษฎรจะทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระองค์เสียอีก   จึงจะเห็นชัดว่าความพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นได้ดำเนินการต่อเนื่องมาแล้วโดยพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตนั่นเองต่อเนื่องมาโดยตลอดตามลำดับตามพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์ไทยในการสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตยสู่การเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงหรือคือ"การปฏิวัติ" (Revolution) สู่ระบอบใหม่นั่นเอง
                เมื่อเข้าใจตรงกันว่ารัฐบาลปัจจุบันมาจากคนส่วนน้อยหรือคณะบุคคลที่อ้างว่า"มาจากปวงชน"    มาจากอธิปไตยเป็นของคนส่วนน้อย สภาปัจจุบันจึงเป็น"สภาคนส่วนน้อย"   สภาดังกล่าวจึงไม่เคยสะท้อนปัญหาชาติได้จริงและมิเคยได้ทำหน้าที่สภาปวงชนที่แท้จริงได้แม้ครั้งเดียวในประวัติศาสตร์  เนื่องจากอำนาจอธิปไตยมิเคยเป็นของปวงชนชาวไทยเลยนับแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475 เป็นต้นมา  ดังนั้นความสำคัญของการสร้างสภาปวงชนขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่สภารองรับอำนาจจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญสู่การสร้างรัฐบาลเฉพาะกาลคือรัฐบาลที่เกิดขึ้นชั่วคราวเพื่อปฏิบัติภารกิจแห่งชาติ  (Provisional Government Undertaking Missions for the Nation)

 

 
 
 
 

                                                      (อ่านต่อตอนหน้า)
 
 
 
 
 
 
           อ่านบทความย้อนหลัง...
 
 
  

ปฏิวัติสันติ

 
สมัคร ยกเลิก
 
 
Revolutionary Press Agency
Online Journal and News Agency for Peace  :  วารสารและข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
Copyright © 2024 www.rpathailand.com All Rights Reserved.
ทำเว็บ  ออกแบบเว็บ  Web Design  เว็บสำเร็จรูป  เว็บไซต์สำเร็จรูป