Revolutionary Press Agency : Online Journal and News Agency for Peace
สำนักสื่อปฏิวัติ  : วารสารข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
8 มิ.ย. 2554 กองหน้าประชาชนรุ่นใหม่ อนุสรณ์ สมอ่อน ตอบคำถามคาใจทำไมต้องปฏิวัติประชาธิปไตย? 
 
พระพุทธศาสนาแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมและการเมือง
ดร.บี อาร์ อัมเบดการ์
ถอดความโดย
พระดร.สมชัย กุสลจิตฺโต พระราชปัญญาเมธี
 
              (ต่อจากตอนที่แล้ว)
 
 
              จาริกสู่พม่า
 
 
              ในสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๗  ดร.อัมเบดการ์ได้เดินทางไปร่วมประชุมใหญ่ครั้งที่ ๓ ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ซึ่งจัดขึ้น ณ นครย่างกุ้งประเทศพม่าขณะกล่าวปราศรัยต่อผู้แทนชาวพุทธทั่วโลกที่เข้าร่วมประชุมครั้งนั้น  ท่านพูดว่า

              “ข้าพเจ้าจำเป็นต้องพูดถึงเรื่องนี้ด้วยความรู้สึกสุดเศร้าว่า ในแผ่นดินถิ่นที่องค์พระพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ประสูตินั้น พระศาสนาของพระองค์ได้เสื่อมไปหมดแล้ว  เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นสิ่งที่อยู่เหนือความเข้าใจของใครๆ”
 
              หลังจากพูดถึงตอนนี้ น้ำตาก็ไหลเอนัยน์ตาของท่าน และท่านไม่อาจประคองให้การพูดดำเนินต่อไปได้เป็นเวลาหลายนาที ในกาลต่อมาท่านได้สรุปแผนการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียของท่านพร้อมกับย้ำตอนท้ายว่า เงินทองก้อนใหญ่ที่ใช้จ่ายไปเป็นค่าประทีป-ธูปเทียนและการบริหารของวัดแต่ละวัดในพม่า อาจพอนำไปใช้เป็นประโยชน์เพื่อการเผยแผ่และฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย
 
 
              ภารกิจของคนอินเดียและชาวพุทธ

              ขณะพำนักอยู่ในพม่า ดร.อัมเบดการ์ได้ไปเยี่ยมชมเมืองมัณฑะเลย์ ณ สถานที่นั้น ท่านได้รับเชิญในฐานะแขกของดร.อาร์.แอล. โชนิ ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมพุทธโลก ดร.อัมเบดการ์ถูกนำไปพบกับ ดร.โชนิเพราะความที่ ดร.โชนิใส่ใจงานพระธรรมทูตอย่างจริงจัง ท่านได้พำนักอยู่กับดร.โชนิ ตั้งแต่วันที่  ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จนถึงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗
              และในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๙๗ ท่านได้รับเชิญให้บรรยายพิเศษแก่นักศึกษาของสถาบันดังกล่าว เนื้อหาของการบรรยายครั้งนั้นท่านเน้นย้ำถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อชาวโลกทั้งมวล   ท่านเน้นย้ำเฉพาะการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียในเวลาที่เหมาะสม และพูดด้วยว่าการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียนั้น จะเป็นภาระความรับผิดชอบของคนอินเดียเอง ท่านได้แนะให้ชาวพุทธช่วยกันรักษาความบริสุทธิ์และสมรรถภาพของพระพุทธศาสนาไว้ เพื่อต่อต้านมลพิษภายนอกและกิเลสอันเป็นเนื้อใน

              การตัดสินใจครั้งสุดท้ายที่จะนับถือพระพุทธศาสนา
 
              การตัดสินใจครั้งประวัติศาสตร์เพื่อกลับเข้าสู่พระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการนั้น ดร.อัมเบดการ์ได้กระทำขณะที่พำนักอยู่ ณ เมืองมัณฑะเลย์ ในฐานะแขกของ ดร.โชนิ นัยว่ามีการถกเถียงแลกเปลี่ยนกันถึงเรื่องบุญกุศลในการกลับมาสมาทานนับถือพระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการ  ระหว่าง ดร.โชนิ และ ดร.อัมเบดการ์อย่างออกรสออกชาติ แล้วมาลงเอยกันได้ในวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๗ ซึ่ง ดร.อัมเบดการ์ได้ประกาศว่า

              “ ท่านคงจะดีใจหากรู้ว่า ข้าพเจ้าได้ตัดสินใจครั้งสุดท้ายแล้วที่จะสมาทานนับถือพระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการ  พร้อมกับบริวารของข้าพเจ้า ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ (นับอย่างไทยจะเป็นปีพุทธศักราช ๒๔๙๙) นี้”
 
              แ ล้ ว ท่ า น ก็ ไ ด้ ก ล่ า ว เ พิ่ ม เ ติ ม อี ก ว่ า

              “ ในช่วงว่างเวลานี้ ข้าพเจ้าจะสามารถสะสางปัญหาต่างๆได้ให้เสร็จเพื่อเสริมสร้างมรรควิถีนั้น”
 
              จดหมายเปิดผนึกถึงจัณฑาลอินเดียของ ดร.โชนิ
 
 
              การตัดสินใจครั้งสุดท้ายเพื่อสมาทานนับถือพระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการของ ดร.อัมเบดการ์ ได้ทำให้ ดร.โชนิปลาบปลื้มยิ่งนัก ถึงกับร่างจดหมายเปิดผนึกฉบับหนึ่งเรียกร้องให้ประชาชนชาวอินเดียหันกลับมานับถือพระพุทธศาสนา   ซึ่งเป็นห้วงมหาสมุทรแห่งความเท่าเทียมกัน เมื่อ ดร.อัมเบดการ์รับรองและอวยพรแล้ว ท่านได้แจกจ่ายจดหมายฉบับนี้แก่นักหนังสือพิมพ์และหนังสือพิมพ์ New Times of Burma นครย่างกุ้ง ได้ตีพิมพ์ในฉบับวันที่ ๓๑ ธันวาคม  ๒๔๙๗ โดยพาดหัวว่า “ จดหมายเชิญเปิดผนึกถึงชาวจัณฑาลอินเดีย ” 
              ในจดหมายฉบับนี้ ท่านดร.โชนิได้ชักชวนเพื่อนร่วมประเทศของเขาให้หันมาสมาทานเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ และมาได้เสวยสุขอันเกิด จากพระธรรม ซึ่งมีพระคุณน่าอัศจรรย์ยิ่งนักโดยเร็วที่สุด 
              ในจดหมายฉบับนี้ ท่านดร.โชนิได้ชักชวนเพื่อร่วมประเทศของเขาให้หันมาสมาทานเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ และมาได้เสวยสุขอันเกิด จากพระธรรม ซึ่งมีพระคุณน่าอัศจรรย์ยิ่งนักโดยเร็วที่สุด
 
 
              จดหมายเปิดผนึกถึงชาวจัณฑาลอินเดีย
 
 
              ...เพื่อนร่วมชาติที่รักยิ่งของข้าพเจ้าทั้งหลาย ไม่มีเหตุผลใดๆเลย ที่พวกท่านจะพากันรักษาความเป็นคนอินเดียนอกวรรณะไว้อีกต่อไป พระพุทธศาสนาจะให้ความยุติธรรมทางสังคม เป็นยี่ห้อที่สูงสุดแก่พวกท่านทันทีทันใด เปิดทางความเป็นไปได้อีกมากมายแก่พวกท่าน... 

             พวกท่านจะไม่สูญเสียอะไรเลยด้วยการเปลี่ยนมาเป็นพุทธศาสนิกชน โดยข้อเท็จจริงแล้ว พวกท่านก็จะเลิกถูกปีศาจแห่งความลุ่มหลงในระบบวรรณะหลอกหลอน คือในทางสังคม พวกท่านก็จะไม่ถูกแกล้งให้เป็นพวกนอกวรรณะและท่านจะรวมเป็นกลุ่มก้อนเดียวกันกับชาวพุทธทั่วโลกในทันทีทันใด ซึ่งท่านจะต้องทราบว่าประกอบด้วยกลุ่มคนที่ใหญ่ที่สุดในโลก  กลุ่มซึ่งกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องและขยายออกไปเรื่อยๆขณะที่พวกท่านเข้าถึงพระพุทธเจ้าผู้ทรงพระมหากรุณาธิคุณว่าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกที่ประเสริฐสูงสุด  ดวงตาของท่านก็จะเปลี่ยนไปเหมือนตาดวงใหม่ที่จะกระพริบด้วยความสดใส  หัวใจของพวกท่านจะตื่นเต้นเพราะประสบกับอิสรภาพทางสังคมที่แท้จริง จะรู้สึกเป็นสุข เบิกบาน ชนิดที่ไม่อาจบรรยายเป็นคำพูดได้ พวกท่านจะมัวรีรอชักช้าอยู่ทำไมอีกเล่า! ทำไมพวกท่านไม่รีบซับน้ำตาแห่งความหม่นหมองและหยุดเสียงคร่ำครวญที่เกิดจากความเจ็บปวดและการทอดทิ้งของสังคมเก่าๆ...ในอดีตเสียเล่า!
             พี่น้องที่รักยิ่งของข้าพเจ้าทั้งหลาย จงออกมาจากคุกมืดทางสังคมที่กักขังตัวท่านอยู่ อย่าได้เกรงกลัวมนุษย์หรือเทวดาหน้าไหนอยู่เลย เพราะพวกท่านก็มีฐานะเท่าเทียมกับพวกเขา มิใช่เท่านี้พวกท่านอาจะประเสริฐกว่าพวกเขา อาจเป็นครูที่ปรึกษาหรือผู้ชี้นำที่ควรแก่การเคารพของพวกเขาก็ได้ พวกท่านมีศักยภาพชนิดสูงสุด และประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์  ทำไมมาปล่อยชีวิตที่มีค่าของตนให้เป็นเหมือนคนที่ใครๆไม่ต้องการเช่นนี้  ทันทีที่พวกท่านปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ แสงสว่างประกายสดใสจะเต้นเร่าๆ อยู่ในนัยน์ตาของพวกท่าน  ความรู้สึกมหัศจรรย์อย่างบอกไม่ถูกจะเกิดขึ้นกับพวกท่าน  จะไม่มีประตูเหล็กหรือกำแพงหินหนาเป็นล้านๆ  ไมล์ใดๆมากันพวกท่านออกไปเป็นคนนอกวรรณะทางสังคมอีกต่อไป ถึงเวลาแล้วที่พวกท่านจะต้องตื่นจากความฝันร้ายและภาพมายาที่น่าสยดสยองกันเสียที
             ตื่นเถิดเพื่อนรักทั้งหลาย  นับเป็นเวลาสุกงอมพร้อมแล้วที่พวกท่านจะลุกขึ้นและเรียกร้องเอาเกียรติภูมิความเป็นมนุษย์ของพวกท่านมรดกธรรมของพวกท่าน  พระพุทธศาสนา...ที่บรรพชนหลายรุ่นได้ช่วยกันทะนุบำรุงด้วยดีตลอดเวลา ๒๕ ศตวรรษที่ผ่านมาอย่าลังเลอยู่ต่อไปเลย จงถอนตัวท่านนี้จากหล่มโดยเร็วเถิดพวกเราพร้อมแล้วที่จะช่วยชำระล้างมลทินต่างๆที่ทำให้พวกท่านมีลักษณะต่างจากมนุษย์ คือคล้ายสัตว์ดิรัจฉานมาหลายสตวรรษ...ทำไมมัวนิ่งเฉยอยู่ตรงรั้วเสียเล่า  พวกท่านก็พร้อมอยู่ที่นั่นมานานแล้วมิใช่หรือ?...มองไปตรงหน้า  และดูพระสุริยรัศมีของพระพุทธเจ้าซิ  จงกระโจนเข้าไปในพระสุริยรัศมีแห่งความสุขและสันติภาพ...มาซิ  อย่าลังเลอยู่เลย...มาสู่สถานที่ที่เทวดาก็ถูกสร้างจากมนุษย์...และเป็นสถานที่ที่เทวดาชั้นรองๆก็เลื่อนชั้นขึ้นไปเป็นเทวดาชั้นสูงต่อไปอีก
 
 
               เรื่องนาคและเมืองนาคปูร์
 
 
               เมื่อตัดสินใจจะประกอบพิธีปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะอย่างเป็นทางการในวันพุทธชยันตี (วิสาขบูชา) ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๙(อินเดียนับ พ.ศ. ๒๕๐๐) อย่างแน่นอนแล้ว ท่านบาบาสาเฮ็บ๑๓ อัมเบดการ์ก็มุ่งมั่นพิจารณาวางแผนการและระเบียบพิธีทิกษา๑๔ นั้นหลายประการ  ด้วยการคิดอย่างรอบคอบ ท่านได้เลือกสถานที่ประกอบพิธีกรรม  อันเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ได้แล้ว  และได้กราบอาราธนาพระจันทรมณีมหาเถระจากเมืองกุสินารา (กุสินาคาร์) มาเป็นประธานในพิธีคือเป็นผู้ให้ไตรสรณคมน์ นำท่านและบริวารเข้าสู่พระบวรพุทธศาสนา  ต่อเหตุผลในการเลือกเมืองนาคปูร์เป็นสถานที่ประกอบพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะประกาศตนนับถือพระพุทธศาสนาครั้งสำคัญนี้  ดร.อัมเบดการ์ได้ชี้แจงว่า ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดียย่อมทราบได้ดีดว่า กลุ่มบุคคลที่ได้ทำงานประกาศพระพุทธศาสนายุคแรกๆนั้น คือพวก “นาค” นาคมิใช่พวกเผ่าอารยัน แต่มีเรื่องราวการตั้งตนเป็นศัตรูคู่แค้นกันระหว่างพวกเผ่าอารยันและ พวกเผ่านาค
               เคยมีสงครามระหว่างพวกอารยันและพวกมิใช่อารยันเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์อินเดียบ่อยๆ พวกอารยันต้องการจะกำจัดพวกนาค (พวกมิใช่อารยัน) ให้สูญพันธุ์หมดอยู่นั้น ได้มีท่านฤาษีชื่อ อคัสตยะ (Agastya) มาช่วยนาคให้นาครอดชีวิตมาได้ตัวหนึ่งพวกเราที่นี่อาจะจะเป็นเชื้อสายของนาคตัวนั้นก็ได้
               พวกนาคถูกพกอารยันกดขี้เบียดเบียนรุนแรงมาก  พวกเขาจึงต้องการมหาบุรุษมาปลดปล่อยพวกเขา และต่อมาพวกเขาพบว่ามหาบุรุษที่แท้จริงมาแล้วในรูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่เอง  พระผู้มีพระภาคเจ้าได้อุบัติขึ้นมาช่วยพวกตนให้พ้นจากความเสื่อมทรามและการสูญพันธุ์ จึงเป็นอันว่าพวกเขาได้ (สนองคุณของพระพุทธองค์โดยการ) ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แพร่หลายไปทั่วโลก พวกนาคเหล่านี้ ได้แก่กลุ่มบุคคลส่วนใหญ่ซึ่งอาศัยอยู่ ณ เมืองนาคปูร์นี้ ซึ่งมีแม่น้ำที่ไหลผ่านพื้นดินของเมืองนี้สายหนึ่ง ชื่อ “แม่น้ำนาค” ปรากฏว่าพวกนาคนั้นได้ตั้งบ้านเรือนอยู่บนฝั่งของแม่น้ำสายนี้ นี่คือสาเหตุสำคัญ ที่ข้าพเจ้าได้เลือกเมืองนาคปูร์สำหรับวโรกาสมงคลอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้
 
 
               พิธีปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ
 
 
               วันที่๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ นับเป็นวันแห่งความหลุดพ้นของ ดร.อัมเบดการ์และบริวารจำนวนนับล้านคน
               เหตุที่ ดร.อัมเบดการ์เลือกเอาวันนั้นประกอบพิธีสำคัญนี้ก็เพราะเชื่อว่าเป็นวันมหามงคล ตรงกับวันวิชยทศมี คือวันที่พระเจ้าอโศกมหาราช  ทรงกลับพระทัยมาสมาทานนับถือพระพุทธศาสนา และประกาศว่าตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นไป พระองค์จะเอาชนะประเทศต่างๆและประชาชนด้วยความรักความเมตตาและการเจรจาทางการทูตแทนการใช้แสนยานุภาพทางทหาร ดังนั้น จึงตั้งชื่อหลักการนั้นว่า “ธรรมวิชัย”
               พอเสร็จพิธีทิกษา คือสมาทานนับถือพระพุทธศาสนาครั้งประวัติศาสตร์ในวันอุดมมงคลเช่นนั้นแล้ว ดร.อัมเบดการ์ ในฐานะผู้กู้อิสรภาพและปลดพันธนาการของกลุ่มคนที่ถูกเหยียบย่ำทั้งหลายได้กล่าวว่า

             “ ข้าพเจ้าได้เริ่มขบวนการจะสลัดศาสนาฮินดูทิ้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๔๗๘ และตั้งแต่เวลานั้น ข้าพเจ้าได้ต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆเรื่อยมาจนถึงขณะนี้ การปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะวันนี้ได้นำความปิติปลาบปลื้มและสุขใจเกินคาดคิดมาให้แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนว่าตนเองหลุดพ้นจากขุมนรกแล้ว”
 
  
  
  
  (อ่านความเดิมตอนที่แล้ว)
  
  
  

ปฏิวัติสันติ

 
สมัคร ยกเลิก
 
 
Revolutionary Press Agency
Online Journal and News Agency for Peace  :  วารสารและข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
Copyright © 2024 www.rpathailand.com All Rights Reserved.
ทำเว็บ  ออกแบบเว็บ  Web Design  เว็บสำเร็จรูป  เว็บไซต์สำเร็จรูป