Revolutionary Press Agency : Online Journal and News Agency for Peace
สำนักสื่อปฏิวัติ  : วารสารข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
8 มิ.ย. 2554 กองหน้าประชาชนรุ่นใหม่ อนุสรณ์ สมอ่อน ตอบคำถามคาใจทำไมต้องปฏิวัติประชาธิปไตย? 

 
แถลงการณ์
สภาธรรมาธิปไตยแห่งชาติ

รัฐสภาวนาราม สถาบันธรรมะประชาธิปไตย ขบวนการศาสนาเพื่อมนุษยชาติ
เรื่อง
"บทบาทพระสงฆ์และทหารในการสร้างความสมานฉันท์เพื่อความมั่นคงของชาติ”

              ด้วยกรมเสมียนตรา สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้นิมนต์อาตมภาพเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการสร้างสมานฉันท์เพื่อความมั่นคงของชาติและพระพุทธศาสนา  เนื่องในโอกาสครบ 100 ปี กรมเสมียนตราในวันที่ 29-31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ณ อาคารหอประชุมใหญ่  สำหนักงานพุทธมณฑล ตำบล ศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เพื่อหารือระดมความคิดเห็น ร่วมกันจุดประกายผลักดันโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาสร้างสมานฉันท์ของคนในชาติให้กลับสู่สภาพปรกติโดยเร็ว
              สภาธรรมาธิปไตยแห่งชาติ รัฐสภาวนาราม สถาบันธรรมะประชาธิปไตย และขบวนการศาสนาเพื่อมนุษยชาติ ขอขอบคุณอย่างยิ่งที่ได้นิมนต์อาตมภาพเข้าร่วมการสัมมนาครั้งสำคัญยิ่งนี้  และอาตมภาพขอชื่นชมยกย่องกรมเสมียนตรา สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ที่ได้จัดการสัมมนาที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศชาติและประชาชนอย่างยิ่งยวด  ซึ่งจะเป็นคุณูปการในการช่วยเหลือประเทศชาติและประชาชนคนทั้งประเทศได้อย่างแน่นอน
              เพื่อให้บรรลุตามความมุ่งหมายอันสำคัญและดียิ่งดังกล่าว  จึงขอร่วมเสนอความคิดเห็นอันถูกต้องเป็นสัมมาทิฎฐิต่อที่ประชุมครั้งนี้ ดังต่อไปนี้
              1.พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งอนัตตาของโลกที่เป็นผู้ถือดุลแห่งศาสนาแบบอัตตาทั้งหลายและมวลมนุษยชาติทั้งปวงเข้าสู่สันติสุขแห่งจิตใจตลอดกาลและสันติภาพถาวรตลอดไป   โดยประเทศไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลกและเป็นจุดยุทศาสตร์โลกจะเป็นผู้นำของโลกนำสู่ความสำเร็จในการสร้างสันติภาพโลกถาวร (Lasting World Peace) และสันติสุขแห่งจิตใจของมนุษยชาติทั้งปวง  อันเป็นการก้าวขึ้นสู่ยุคหลังประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (Post Modern History) โดยบทบาทของกองทัพธรรมกับกองทัพไทยเยี่ยงกองทัพอันเกรียงไกรของพระเจ้าอโศกมหาราชในอดีตที่ผ่านมา  ซึ่งเป็นสัมพันธภาพที่ยิ่งใหญ่สูงส่งที่สุดระหว่าง “กองธรรมกับกองทัพ” ที่กำลังเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งแล้วในประเทศไทยในขณะนี้ในขั้นตอนใหม่
              ประเทศไทยในฐานะของจุดยุทธศาสตร์โลก  ตั้งแต่ดินแดนสุวรรณภูมิแหลมทอง  พระพุทธศาสนาสถาปนาขึ้นในอินเดีย หรือชมพูทวีปแต่กลับมีความเจริญรุ่งเรืองสามารถรักษาเนื้อแท้คำสอนไว้ได้  และนำหลักทศพิธราชธรรมมาเป็นหลักการของสถาบันพระมหากษัตริย์และยกขึ้นเป็นหลักการปกครองของการปกครองของประเทศไทยตลอดมา  จึงเป็นจุดยุทธศาสตร์โลกทางพระพุทธศาสนาและแสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ กระทั่งทุกประเทศยกให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลกในขณะนี้นั่นเอง  ประกอบกับองค์การสหประชาชาติก็ได้รับรองความสำคัญของพระพุทธศาสนาโดยสถาปนาวันวิสาขบูชาเป็นวันสากลของโลก  นี่คือ “ประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์โลกทางพระพุทธศาสนา” ที่เป็นศาสนาเอกของโลก
              ประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ของโลกทางสถาบันพระมหากษัตริย์  ใน 28 ประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ (Head of State) ได้ยกให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยยิ่งใหญ่และสูงส่งที่สุดในโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ มีหลักการของสถาบันที่สูงส่งที่สุดในโลกคือ ทศพิธราชธรรมและมีองค์พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นนักปฏิบัติธรรมที่เคร่งครัดเป็นแบบอย่าง อีกทั้งทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักประชาธิปไตยที่แท้จริง  ทรงแก้วิกฤตชาติทุกครั้งในขณะที่ไม่มีสถาบันใดจะแก้ได้  ปวงชนชาวไทยมีความจงรักภักดีอย่างยิ่งยวด
              ประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์โลก การต่อสู้เอาชนะลัทธิล่าอาณานิคมเมื่อร้อยปีเศษที่ผ่านมาด้วยธรรมะในพระพุทธศาสนาและประชาธิปไตยในสถาบันพระมหากษัตริย์โดยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงร.5 จนลัทธิล่าอาณานิคมล่มสลายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
              ประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์โลก การต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์โดยนโยบาย 66/23 ของกองทัพแห่งชาติที่นำเอาพระบรมราโชบายสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตยของสมเด็จพระปกเกล้าร.7 และสันติวิธีตามหลักพุทธอหิงสาธรรม  สามารถเอาชนะสงครามปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ในประเทศลงได้อย่างงดงาม  และก่อผลสะเทือนให้เกิดความล่มสลายของคอมมิวนิสต์โลก เช่น โซเวียตและยุโรปตะวันออก สามารถยุติสงครามเย็นลงได้สำเร็จ  โลกเข้าสู่สถานการณ์สันติภาพชั่วคราวเพื่อเข้าสู่สันติภาพถาวรต่อไป
              ประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์โลกทาง “การปฏิวัติสันติ” (Peaceful Revolution) ด้วยพุทธอหิงสาธรรมอันเป็นการสร้างประชาธิปไตยด้วยอหิงสาพุทธ  ที่เป็นมนุษยปฏิวัติ (Human Revolution) ครั้งแรกของโลกนำโดยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ร.5 ร. 6 ร.7 และกองทัพแห่งชาติโดยนโยบาย 66/23 และพระภิกษุชาวพุทธ อนุศาสนาจารย์ รวมทั้งฝ่ายประชาชนในรูปขององค์การต่างๆที่สืบทอดแนวทางประชาธิปไตยของพระมหากษัตริย์ ร. 5 ร.6  และร.7 และกองทัพแห่งชาติโดยนโยบาย 66/23 และพระภิกษุ ชาวพุทธ อนุศาสนาจารย์ รวมทั้งฝ่ายประชาชนในรูปขององค์การต่างๆที่สืบทอดแนวทางประชาธิปไตยของพระมหากษัตริย์ ร.5 ร.6 และ ร.7
               2. บทบาทของพระพุทธศาสนา  ด้านหลักธรรมนั้นมีบทบาทมาโดยตลอดต่อประเทศชาติ แต่บทบาทของพระสงฆ์ในฐานะศาสนาบุคคลนั้นอาจจะมีมากน้อยไม่สัมพันธ์กันกับบทบาทของศาสนธรรมหรือหลักธรรม  ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่างๆดดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ระบอบการปกครอง” และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
               เมื่อครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงมีบทบาทอย่างยิ่งยวดทั้งด้านหลักการและบุคคลอย่างเป็นเอกภาพกัน  ซึ่งเป็นบทบาทสถาปนาพระพุทธศาสนาที่เป็นแบบอย่าง  เมื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว เหล่าพุทธสาวกก็เผยแผ่พระพุทธศาสนาออกไปอย่างกว้างขวางจนเกิด 2 นิกายใหญ่ๆคือ นิกายหินยาน(ยานเล็ก) และนิกายมหายาน(ยานใหญ่)
               นิกายหินยาน (เถรวาท) มุ่งสู่ความหลุดพ้นก่อนจึงออกมาช่วยโปรดสัตว์ นิกายนี้เหมาะสมกับประเทศที่แก้ไขปัญหาสังคมตกไปแล้ว
               นิกายมหายานมุ่งสู่การช่วยเหลือมหาชนก่อนแล้วค่อยมุ่งสู่ความหลุดพ้นภายหลังหรือชาติหน้า  นิกายนี้เหมาะสมกับประเทศที่ปัญหาสังคมยังแก้ไม่ตก
               แต่ทั้ง 2 นิกายก็เหมือน “นก 2 ปีก” ที่ช่วยกันรักษาเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่และขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางทั่วโลก  และในท้ายที่สุดเมื่อโลกเชื่อมเป็นใบเดียวกัน (Globalization) คณะสงฆ์ทุกนิกายในโลกก็จะรวมกันเป็นเอกภาพอันเดียวกันและร่วมกัน ปฏิบัติภารกิจนำโลกาภิวัฒน์ไปสู่ธรรมาภิวัฒน์หรือพุทธาภิวัฒน์  โดยมีพระสงฆ์ที่มีภูมิธรรมสูงสุดในประเทศที่เป็นจุดยุทธศาสตร์โลกทางพุทธศาสนาเป็นคณะผู้นำประเทศนั้นน่าจะเป็นประเทศไทย นิกายนั้นน่าจะเป็นเถรวาท
               3.บทบาทของหลักธรรมและบุคคลในพระพุทธศาสนานั้นมีความสมดุลตลอดมาในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช  โดยพระมหากษัตริย์ทรงนำเอา “ทศพิธราชธรรม”มาเป็นหลักการของสถาบันพระมหากษัตริย์  และทรงนำเอาหลักทศพิธราชธรรมสถาปนาขึ้นเป็น “หลักการปกครอง” (Principle of Government) ของประเทศ  ส่วนบทบาทของพระสงฆ์ก็ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมุ่งสู่โมกษธรรมความหลุดพ้น  และช่วยประชาชนอย่างเหมาะสมสอดคล้องตามเงื่อนไขเหตุปัจจัย
               เมื่อโลกได้พัฒนาจากยุคสมัยกลางขึ้นสู่ยุคสมัยใหม่  โลกต้องเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยคือเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่ระบอบประชาธิปไตย  ตามกฎเกณฑ์แห่งยุคสมัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ถ้าประเทศใดไม่เปลี่ยนแปลงก็จะอ่อนแอล้าหลังตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศนักล่าอาณานิคมที่เป็นประเทศประชาธิปไตยหรือประเทศอุตสาหกรรม  แต่ถ้าประเทศใดทำการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยก็จะรอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นและเจริญรุ่งเรืองสืบไป
               พระมหากษัตริย์ไทย สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงร.5 ทรงมีพระปรีชาญาณอันยิ่งยวด  ทรงเป็นผู้นำทำการเปลี่ยนแปลงประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่ประชาธิปไตย  และทรงต่อสู้เอาชนะนักล่าอาณานิคมด้วย “ทศพิธราชธรรม” กล่าวโดยชัดเจนคือ ทรงสร้างประชาธิปไตยด้วยพุทธอหิงสาธรรมนั่นเอง  นั่นคือสร้างประชาธิปไตยเพื่อต่อสู้เอาชนะประเทศนักล่าอาณานิคมด้วย “ธรรมะและประชาธิปไตย” นั่นเอง
               สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงสร้างประชาธิปไตยด้วยธรรมะในพระพุทธศาสนาสำเร็จในขั้นตอนที่ 1 อย่างไม่เสียเลือดเนื้อแม้แต่หยดเดียว และทรงกำลังสร้างประชาธิปไตยด้วยธรรมะในขั้นตอนที่ 2 ขั้นสุดท้ายแต่ทรงเสด็จสวรรคตเสียก่อน  ถึงแม้มิทันจะได้ทรงสร้างประชาธิปไตยขั้นตอนที่ 2 สำเร็จ แต่ก็มีผลอันใหญ่หลวงช่วยรักษาเอกราชของชาติไว้ได้
               พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าจ้าอยู่หัวร.6 ทรงใช้ธรรมะและประชาธิปไตยขยายผลพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระราชบิดาคือ...

               (1.) ขยายเสรีภาพ โดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอันเป็นรากฐานของเสรีภาพทั้งปวง ถึงกับทรงตั้งหนังสือพิมพ์ของพระองค์เองและทรงเป็นคอลัมนิสต์เองมีพระนามว่าปากกว่า “ศรีอยุธยา” และ “อัศวพาหุ” เป็นต้น ชาวยุโรปเห็นเสรีภาพภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในประเทศไทยแล้วจึงได้ถวายสมัญญานามว่า “Democratic King”
               (2.) ทรงอบรมการปกครองแบบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน โดยทรงตั้งนครประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนโดยทรงตั้งนครประชาธิปไตยตัวอย่าง ชื่อว่า “ดุสิตธานี”
               (3.) ส่งเสริมลัทธิชาตินิยม ด้วยการตั้งกองเสือป่าและด้วยทรงพระราชนิพนธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองเป็นจำนวนมาก
               (4.) พัฒนากองทัพไทยให้มีลักษณะเป็น“กองทัพธรรม” โดยทรงก่อตั้ง “อนุศาสนาจารย์” ขึ้น
               พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวร.7 ทรงใช้ธรรมะประชาธิปไตยสร้างประชาธิปไตยอย่างสันติอหิงสาพุทธ  ทรงกำลังโอนอำนาจของพระองค์เองให้แก่ปวงชนชาวไทยผ่าน “สภากรรมการองคมนตรี” ที่ทำหน้าที่เป็นการปกครองเฉพาะกาลในระยะเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย  แต่ถูกรัฐประหารเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 พระองค์ทรงเป็นนักต่อสู้แบบอหิงสาพุทธคือไม่ทรงใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามคณะราษฎรตามที่คณะทหารได้กราบบังคมทูล และทรงให้ความเห็นถูก สัมมาทิฎฐิ คือคณะราษฎรจนถึงที่สุด  แต่เมื่อคณะราษฎรไม่ยอมทำตามกลับปกครองประเทศแบบเผด็จการทางอ้อม  จึงไม่ทรงยินยอมให้คณะราษฎรปกครองแบบเผด็จการในนามพระองค์อีกต่อไป ด้วยการต่อสู้อหิงสาพุทธครั้งสุดท้ายคือ สละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2477 ด้วยพระราชหัตถเลขาอันลือลั่นว่า “ข้าพเจ้าสมัครใจสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรทั้งหลาย แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมมอบอำนาจให้แก่บุคคลใดคณะใดใช้อำนาจสิทธิขาดโดยไม่ฟังเสียงราษฎรอันแท้จริง” นี่คือธรรมะประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่และแท้จริง
               4.หลังการเปลี่ยนแปลง 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรยึดแต่อำนาจมาแต่มิได้เอาธรรมะหรือทศพิธราชธรรมมาด้วย โดยปกครองด้วยลัทธิรัฐธรรมนูญหรือระบอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นระบอบเผด็จการรัฐสภาและระบอบเผด็จการรัฐประหาร
               หลักธรรมและพระภิกษุสงฆ์ถูกกีดกันจากการเมืองการปกครองอย่างสิ้นเชิง  ถึงกับมีภาพสะท้อนการเมืองของคณะราษฎรว่า “การเมืองสกปรก” และ “ การเมืองพูดดำเป็นขาว พูดขาวเป็นดำ” และศาสนาไม่เกี่ยวกับการเมือง และการเมืองไม่มีมิตรแท้ ไม่มีศัตรูถาวร และการเมืองไม่ใช่คุณธรรมอีกต่อไป  ดังนั้นหลักธรรมและพระสงฆ์ถูกกีดกันออกจากการเมืองการปกครอง บทบาทพระสงฆ์ถูกจำกัดสิทธิจากการปกครอง  ตั้งแต่บัดนั้นจนถึงบัดนี้  ชาติบ้านเมืองจึงพินาศล่มจม  วิกฤตเกือบสิ้นชาติสิ้นแผ่นดิน เช่นสงครามการเมือง การรัฐประหารเผด็จการ การชุมนุมใหญ่จลาจลนองเลือดเป็นต้น
               5. คอมมิวนิสต์ได้ต่อสู้ด้วยอาวุธครั้งแรก “วันเสียงปืนแตก” พ.ศ.2508 และยกระดับขึ้นเป็นกองทัพปลดแอกพ.ศ.2508 และยกระดับขึ้นเป็นกองทัพปลดแอกพ.ศ. 2515 เข้าทำสงครามกลางเมือง (Civil War) กับกองทัพแห่งชาติกองทัพยิ่งตอบโต้ด้วยความรุนแรง ทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ยิ่งตียิ่งโต” หวุดหวิดเกือบพ่ายแพ้ต่อคอมมิวนิสต์  จนถึงปีพ.ศ. 2523 กองทัพจึงได้หันมาใช้ “ธรรมะประชาธิปไตย” เข้าต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์เป็นนโยบาย 66/23 ซึ่งมียุทธศาสตร์ 2 ขั้นตอนคือ
               ขั้นตอนที่ 1 สร้างประชาธิปไตยระดับต่ำ เพื่อต่อสู้เอาชนะสงคราม
               ขั้นตอนที่2 สร้างประชาธิปไตยระดับสูงเพื่อต่อสู้เอาชนะเผด็จการทุกชนิด
               กองทัพแห่งชาติปฏิบัตินโยบาย 66/23 ขั้นตอนแรกอย่างงดงามจึงสามารถยุติสงครามปฏิวัติลงได้  แต่กลับมิได้มีการรุกอย่างต่อเนื่องคือ “ขยายเสรีภาพบุคคล ขยายอธิปไตยของปวงชน” บรรลุการปกครองแบบประชาธิปไตย
               เมื่อยกเลิกระบอบเผด็จการรัฐสภาและระบอบเผด็จการรัฐประหาร จึงทำให้สถานการณ์สันติภาพกำลังจะกลับเข้าสู่สถานการณ์สงครามอีกครั้งหนึ่ง  เกิดความวิกฤตรุนแรงแตกแยกขึ้นเป็นลำดับ  และคอมมิวนิสต์เก่ากำลังใช้เงื่อนไขของระบอบเผด็จการรัฐสภา และเผด็จการรัฐประหารทำความเคลื่อนไหวก่อม็อบ ยกระดับม็อบสู่การจลาจลมิคสัญญีกลียุค และนกระดับขึ้นสู่สงครามกลางเมืองขั้นตอนใหม่  และพัฒนาขึ้นสู่สงครามประชาชนยึดครองประเทศไทยโค่นล้มสถาบันต่างๆทำลายความมั่นคงของชาติ ดังที่กรมเสมียนตรา สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มองเห็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ และแตกสามัคคีอย่างร้ายแรง   จึงได้สะท้อนภาพของความเป็นจริงนี้ด้วยการจัด “การสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการสร้างความสมานฉันท์เพื่อความมั่นคงของชาติและพระพุทธศาสนา” ในวันที่ 29-31พฤษภาคม 2552 นี้นั่นเอง
               6.เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการหารือระดมความคิดเห็นร่วมกัน จุดประกายผลักดันโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติให้กลับสู่สภาพปรกติโดยเร็ว ตามที่กรมเสมียนตราสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมได้ตั้งไว้นี้
               โดยใช้มรรคมีองค์ 8 ประการ คือเริ่มต้นด้วยมรรคองค์นำองค์แรก นั่นคือ เปลี่ยนจากความเห็นผิดมิจฉาทิฎฐิมาเป็นความเห็นถูกสัมมาทิฎฐิ ตามข้อ 1 ถึง 5 ข้างต้นนี้ ดังต่อไปนี้คือ
               6.1 ศาสนาต้องเกี่ยวกับการเมืองคือธรรมะประชาธิปไตย
               6.2 การเปลี่ยนแปลง 24 มิถุนายน 2475 เป็นการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่ระบอบเผด็จการรัฐสภาและเผด็จการรัฐประหาร
               6.3 ประเทศไทยปัจจุบันมีการปกครองระบอบเผด็จการรัฐสภา
               6.4 เห็นว่ากองทัพแห่งชาติยังไม่ชนะคอมมิวนิสต์คือยังปฏิบัตินโยบาย 66/23 ไม่แล้วเสร็จ
               7. เมื่อเปลี่ยนมิจฉาทิฎฐิมาเป็นสัมมาทิฎฐิแล้ว จึงเริ่มมรรคองค์ที่ 2 ต่อไป คือ “คิดถูก” (สัมมาสังกัปปะ)
               7.1 คิดว่าจะเอาธรรมะมาสร้างประชาธิปไตย
               7.2 คิดว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงระบอบเผด็จการรัฐสภาและเผด็จการรัฐประหารไปสู่ระบอบประชาธิปไตย
               7.3 คิดว่าจะต้องยกเลิกระบอบเผด็จการรัฐสภา สร้างระบอบประชาธิปไตย
               7.4 คิดว่าจะต้องปฏิบัตินโยบาย 66/23 ให้แล้วเสร็จคือ ยังต้องต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์ให้สำเร็จ
               8. เมื่อคิดถูกมีสัมมาทิฎฐิแล้ว จึงเริ่มมรรคองค์ต่อไป คือลงมือทำให้ปรากฏเป็นจริง หรือทำถูก (สัมมากัมมันตะ)
ผู้ที่จะลงมือสร้างประชาธิปไตยได้ในโลกนี้มี 3 สถาบันคือ สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันกองทัพและสถาบันพรรคการเมือง
               กองทัพแห่งชาติ ลงมือปฏิบัตินโยบาย 66/23 ด้วยการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลหรือการปกครองเฉพาะกาล(Provisional Government) สร้างประชาธิปไตยโดยนโยบายสร้างประชาธิปไตยอาศัยกฎหมายสูงสุดเป็นทางดำเนินการตามหลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ ความมั่นคงแห่งชาติเป็นกฎหมายสูงสุด (Supreme Law) และรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายหลักหรือกฎหมายแม่บท (Principle Law) มาตรา 77 ว่า “รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตยและบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้ส่งกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยจำเป็นเพียงพอ เพื่อพิทักษ์ รักษาเอกราช อธิปไตยความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเพื่อการพัฒนาประเทศ...”
               พรรคการเมืองปัจจุบัน ลงมือสร้างประชาธิปไตยคือยกเลิกระบอบเผด็จการรัฐสภา สร้างประชาธิปไตย ด้วยการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติอันเป็นรัฐบาลผสมทุกพรรคเปลี่ยนนโยบายแบบเก่ามาเป็นนโยบายแบบใหม่คือนโยบายสร้างประชาธิปไตย  แต่ถ้าทำไม่ได้ ไม่ต้องลาออกหรือไม่ต้อง ยุบสภา  โดยถวายคืนอำนาจอธิปไตยแด่ในหลวงเพื่อทรงมอบให้แก่ปวงชน  สร้างประชาธิปไตย ทรงตั้งการปกครองเฉาะกาล(Provisional Government) ที่มีรัฐบาลเฉพาะกาล ศาล และองค์กรบริหารต่างๆเฉพาะกาล
               สถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงตั้งการปกครองเฉพาะกาล มีรัฐสภา มีผู้แทนของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งผู้แทนเขตและผู้แทนอาชีพ 2,000-3,000 คน มีรัฐบาลที่มีนโยบายสร้างประชาธิปไตยจนกว่าจะแล้วเสร็จจึงยุบเลิกการปกครองเฉพาะกาลนี้ แล้วเปิดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป มีรัฐสภาและรัฐบาลใหม่ต่อไป
               มวลชนประชาธิปไตยหรือมวลชนอหิงสาพุทธ ลงมือช่วยผลักดันการสร้างประชาธิปไตยจนกว่าจะแล้วเสร็จอย่างสันติวิธีตามหลักพุทธอิงสาธรรมและถูกกฎหมาย
               9. ผู้สร้างประชาธิปไตยและผู้ผลักดันจะต้องปฏิบัติโมกษธรรมอย่างน้อยก็สักระดับหนึ่ง  เช่นโสดาบัน หรือสกิทาคามี หรือนาคามี จึงจะสามารถยึดถือและปฏิบัติแนวทางการต่อสู้อย่างสันติวิธีตามหลักพุทธอหิงสาธรรม
               นี่คือมาตรการสร้างความสมานฉันท์เพื่อสร้างประชาธิปไตยรักษาความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และประชาธิปไตย
               10.  พระภิกษุสงฆ์ประสานโมกษธรรมเข้ากับการเมืองโดยช่วยผู้สร้างประชาธิปไตย  และผู้ผลักดันการสร้างประชาธิปไตยให้ปฏิบัติโมกษธรรมไปได้สักระดับหนึ่ง และช่วยให้ความรู้ประชาธิปไตยแก่ผู้สร้างและผู้ผลักดันประชาธิปไตยทั้ง 8 จินตภาพรูปธรรม(Concrete) คือวิธีการประชาธิปไตย ระบอบประชาธิปไตย การปกครองแบบประชาธิปไตย ลัทธิประชาธิปไตย ระบอบประชาธิปไตย สังคมประชาธิปไตย การสร้างประชาธิปไตย ประเทศประชาธิปไตย
               นี่คือบทบาทอันถูกต้องสูงส่งของพระสงฆ์และทหาร  รวมทั้งมวลชนประชาธิปไตย หรือมวลชนอหิงสาพุทธ
 
 
 

                                                                                         (พระมหาบุญถึง  ชุตินฺธโร)
                                                                                    ประธานสภาธรรมาธิปไตยแห่งชาติ
                                                                                           ประธานรัฐสภาวนาราม
                                                                                ผู้อำนวยการสถาบันธรรมะประชาธิปไตย
                                                                                            เจ้าอาวาส วัดตะล่อม
                                                                                           29 พฤษภาคม 2552
 
 
โทร. 081-1931442
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ปฏิวัติสันติ

 
สมัคร ยกเลิก
 
 
Revolutionary Press Agency
Online Journal and News Agency for Peace  :  วารสารและข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
Copyright © 2024 www.rpathailand.com All Rights Reserved.
ทำเว็บ  ออกแบบเว็บ  Web Design  เว็บสำเร็จรูป  เว็บไซต์สำเร็จรูป