Revolutionary Press Agency : Online Journal and News Agency for Peace
สำนักสื่อปฏิวัติ  : วารสารข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
8 มิ.ย. 2554 กองหน้าประชาชนรุ่นใหม่ อนุสรณ์ สมอ่อน ตอบคำถามคาใจทำไมต้องปฏิวัติประชาธิปไตย? 
ทำไมจึงต้องถวายคืนพระราชอำนาจ ?

เขียนโดย นางแก้ว
เผยแพร่ครั้งแรก 17 กันยายน 2551
 
 
 
 
- อารัมภบท -
 
 
"ทำไมจึงต้องถวายคืนพระราชอำนาจ ?"
" ต้องการสนับสนุนแนวทางนี้ แต่ไม่ทราบว่าจะทำให้เกิดเป็นรูปธรรมได้อย่างไร "
" การปกครองเฉพาะกาลหรือรัฐบาลเฉพาะกาลแตกต่างจากข้อเสนอรัฐบาลแห่งชาติอย่างไร"
 
         คือคำถามที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยประชาชนผู้ติดตามการทำงานของคณะกรรมการแห่งชาติกอบกู้รักษาอธิปไตยของชาติด้วยอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย(คก.ปท.)หรือคณะธรรมยาตราผู้กอบกู้อธิปไตยดินแดนมณฑลบูรพาเขาพระวิหาร
         เป็นไปดังคาดในทันทีที่แนวทางการถวายคืนพระราชอำนาจปรากฎออกไป กระแสคำวิพากษ์วิจารณ์โดยนักวิชาการบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยก็เริ่มปรากฎในสื่อตามมาเพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยโดยให้เหตุผลว่าไม่ต้องการ "นายกพระราชทาน"ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดอย่างไม่น่าให้อภัยของนักวิชาการไทยกลุ่มดังกล่าวที่ไม่เข้าใจว่าผู้เสนอแนวทางเสนอเรื่อง"รูปการปกครอง" หรือ "ระบอบ" ไม่ได้เสนอ "ตัวบุคคล"หมายความว่านักวิชาการไทยไม่เข้าใจถึงรากศัพท์ว่าคำว่ารัฐบาลเฉพาะกาล(Provisional Government)หรือการปกครองเฉพาะกาลนั้นแปลตรงตัวตามรูปศัพท์แล้วแปลว่าการปกครองเฉพาะกาล(คำว่า Government แปลว่าการปกครอง แต่คนไทยนำมาแปลผิดเป็นรัฐบาล)
 
         ความบอบช้ำอย่างถึงที่สุดของประเทศชาติคือการทำร้ายประหัตประหารกันเองของคนในชาติ  แต่ที่หนักกว่านั้นคือความหายนะที่กำลังจะมาเยือนกลับสะท้อนมาจากท่าทีของนักวิชาการและ"กูรู"สายต่างๆที่เริ่มออกมาแสดงทัศนะหลากหลายผ่านการรายงานของสื่อที่แข่งขันกันด้วยปริมาณคนดู     ผิดบ้างถูกบ้างมิใช่สรณะในสภาพการณ์ทั่วไป    แต่ผิดครานี้จะนำสู่หายนะแน่แท้หากเรื่องนี้จะไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุดของการกอบกู้ชาติและแผ่นดิน            
         ดังนั้น ในทัศนะของขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ   ปัญหาการสูญเสียชีวิตจากความรุนแรงที่ผ่านมาและปัญหาความพยายามสร้างปมเงื่อนความขัดแย้งสู่ความรุนแรง ปัญหาภัยจากนักการเมืองขี้ฉ้อ  ปัญหานักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย ฯลฯ ยังไม่เท่ากับการได้รับรู้ว่าประเทศชาติล้มเหลวทางความคิดไร้ซึ่งภูมิปัญญาถูกครอบด้วยอวิชชา   ซึ่งสรุปลงตรงคำที่ว่าความเหลวแหลกทางปัญญา (Intellectual Corrupt) ของนักวิชาการไทย
 
 
  
 
       ประเทศไทยตกยุคล้าหลังมาช้านานจากการที่เข้าใจว่าระบอบที่คณะราษฎรยึดอำนาจมาจากพระมหากษัตริย์คือระบอบประชาธิปไตยแท้จริงแล้วคือจุดเริ่มของระบอบเผด็จการของคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งที่อ้างว่าตน"มาจากปวงชน" ก่อนที่จะพัฒนารูปแบบจนกลายเป็นระบอบเผด็จการรัฐสภา(Parliamentary Dictatorial Regime)  เต็มรูปแบบ  
       
ขบวนการประชาธิปไตยได้ทำการอธิบายเรื่องการสร้างระบอบใหม่มาอย่างต่อเนื่อง และได้ทำการชี้ให้เห็นว่าจะต้องแก้ปัญหาที่ระบอบอื่นใด  มิใช่มุ่งตรงแก้ปัญหาที่ตัวบุคคลและเป็นผู้พยายามยกระดับพันธมิตรจากการขับไล่ "ทักษิณ"คือตัวบุคคลมาเป็นการขับไล่ "ระบอบทักษิณ" ดังปรากฎอยู่บนเวทีพันธมิตรในปี 2549  พัฒนาการการเคลื่อนไหวของพันธมิตรนับแต่ปี 2549 ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน   บ่งชี้ให้เห็นร่องรอยที่ขบวนฯได้นำเสนอผ่านนักเคลื่อนไหวต่างๆซึ่งอาจกล่าวได้ว่าม็อบพันธมิตรมีคุณูปการต่อประเทศชาติและเป็นประโยชน์ที่ทำให้เราขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติได้มีโอกาสชี้แจงให้เห็นปัญหาของระบอบอย่างเป็นรูปธรรมตามทฤษฎีการปฏิวัติประชาธิปไตยพระปกเกล้า     ในขณะที่ตัวแกนนำพันธมิตรเองสามารถอธิบายให้มวลชนเข้าใจได้เพียงแค่"ปรากฏการณ์" ด้วยปัญหาคอรัปชั่นบนพื้นฐานของความอยุติธรรมของสังคมผ่านพฤติกรรมของบุคคลและคณะบุคคลเท่านั้น  
        
การพูดผิด เข้าใจผิด ได้รับการสะท้อนผ่านสื่อต่างๆว่าตามๆกันมา จนไม่สามารถรับรู้สารที่แท้จริงว่าผู้เสนอ นำเสนอเรื่องอะไร   มีจุดมุ่งหมายของการกระทำอย่างไรและต้องการเลือกวิธีการอย่างไรเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายนั้น     ระดับความเข้าใจเช่นนี้ไม่ต่างกันเลยกับการที่เสนอการปกครองเฉพาะกาลซึ่งเป็นเรื่องของระบอบแต่นักวิชาการไพล่ไปวิจารณ์ว่าไม่ต้องการนายกพระราชทาน ซึ่งเป็นเพียงเรื่องของบุคคล  
         นัก
วิชาการ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง รวมทั้งสื่อมวลชนไม่มีผู้ใดเลยรู้แจ้งในปัญหา
ของระบอบและไม่มีทีท่าจะมีการศึกษาอย่างเป็นเรื่องเป็นราวนอกจากเป็นสังคมจับคำพูดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปถามต่อกับอีกฝ่ายหนึ่งช่วยเร่งการขยายผลให้เกิดความขัดแย้งหนักข้อยิ่งขึ้นไปอีก  
        
ความไม่เปิดกว้างต่อทัศนะ ติดกรอบทฤษฎี "ปฏิรูป" แบบเดิมๆ ไม่ใจกว้างพอต่อการเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงแก่นแท้ของปัญหา พอใจที่จะนำปรากฏการณ์มาสะท้อนอย่างหยาบฉาบฉวย    ห่างไกลจากคำว่า "วิชชา" ยิ่งๆขึ้น  ให้คำตอบง่ายๆอย่างที่พันธมิตรมักจะพูดตามๆกันว่า    “ไล่มันไปให้ได้ก่อน แล้วค่อยมาว่ากันใหม่ว่าจะเอายังไง "   สะท้อนให้เห็นว่าม็อบก็คือม็อบ  เพราะยังไม่ได้ยกระดับความรู้ให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมด้วยจริงเข้าใจว่าหนทางแก้ปัญหาที่แท้จริงนั้นมีอยู่แล้ว    หากแต่แกนนำพันธมิตรเองยังไม่สามารถสะท้อนปรากฏการณ์สู่ทฤษฎีใหม่สู่การสร้างบ้านแปลงเมืองได้
  
แล้วเราจะเริ่มต้นแก้ปัญหานี้อย่างไร ??
        
        เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพันธมิตรฯทำได้แค่เพียงแค่ขับไล่ตัวบุคคลแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาที่ต้นตอคือการเปลี่ยนระบอบได้    สมัคร สุนทรเวช จึงกลายเป็นเป้าหมายต่อมาที่ต้องถูกขับไล่อีกท่ามกลางการกระชับแน่นของกลไกอำนาจฝ่ายบริหารผ่านนายกรัฐมนตรีและกลไกรัฐเผด็จการ  
        
ในขณะที่สมัครสุนทรเวชให้ข่าวต่อสื่อมวลชนต่างประเทศว่าตนได้รับการเลือกตั้งมา
อย่างถูกต้องและจะทำหน้าที่รักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขต่อไป  
         
ล่าสุดสนธิ ลิ้มทองกุลได้กล่าวบนเวทีพันธมิตรโดยอ้างจากการให้ข่าวสื่อมวลชน
ต่างประเทศว่าการเลือกตั้งด้วยการซื้อเสียงไม่ใช่ประชาธิปไตยปฏิเสธคำกล่าวอ้างของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง
          อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าเสียดายว่าสนธิลิ้มทองกุลยังไม่สามารถอธิบายความหมายได้ครบ
สมบูรณ์ว่าระบอบทักษิณที่มีสมัครสุนทรเวชเป็นนอมินีดังคำที่เขากล่าวหาและปฏิเสธหัวชนฝาอย่างสิ้นเชิงนั้นคือระบอบอะไร   และ "การเมืองใหม่"ที่เขาต้องการให้เกิดขึ้นมานั้นมีรูปธรรมอย่างไรเขายังไม่สามารถอธิบายย้อนกลับไปยังรากเหง้าของปัญหาว่าระบอบนี้พัฒนามาอย่างไร ตั้งแต่เมื่อไหร่ โดยใคร และกระชับต่อเนื่อง  
       
แท้จริงแล้วสนธิ ลิ้มทองกุลเองก็ได้เคยเสนอการถวายคืนพระราชอำนาจด้วยการนำถวายสัตย์ปฏิญาณระหว่างการเริ่มชุมนุมเมื่อปลายปี2548  ที่สวนลุมพินีเพื่อนำสู่แนวทางปฏิวัติสันติ ในช่วงเวลานั้นเขายังสู้อยู่คนเดียวในนามรายการ "เมืองไทยรายสัปดาห์"ที่ออกอากาศทางสถานีดาวเทียมเอเอสทีวีช่อง 1  โดยไม่มีแกนนำ"พันธมิตร" อีก 4 คน ซึ่ง3 ใน  4 เป็นอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์(พคท.)มาเข้าร่วมเช่นในปัจจุบัน คนจำนวนหนึ่งที่ติดตามให้กำลังใจเขาระหว่างรู้ดีว่าสนธิ ลิ้มทองกุลละทิ้งแนวทางการถวายคืนพระราชอำนาจทั้งที่ได้ทำการถวายสัตย์ปฏิญญาทั้งในหอประชุมสวนลุมพินีและอีกครั้งที่บริเวณลานหน้าพระบรมรูปล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 6 ในคืนเดียวกันเพราะเหตุผลเดียวคือการรับข้อเสนอใหม่จาก "มิตรร่วมรบ"ทั้ง 4 ที่ต่อมากลายเป็นแกนนำพันธมิตร  
        
ในปลายปี 2548 หลังจากที่สนธิ ลิ้มทองกุลได้นำเสนอเรื่องการถวายคืนพระราชอำนาจ ปรากฎชื่อนักเคลื่อนไหวอดีตสหายในป่าชื่อพิภพ  ธงชัยในนามคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ออกมาแสดงการคัดค้าน  ซึ่งขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติได้ทำแถลงการณ์โต้ตอบกับพิภพ ธงชัยแทนสนธิ ลิ้มทองกุล (ปรากฎอยู่ในหนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย)  
          
อย่างไรก็ดีช่วงต้นปี 2549 สนธิ ลิ้มทองกุลได้ตัดสินใจเลือกแนวทาง "การปฏิรูป"การเมืองผ่านแนวทางรัฐธรรมนูญเป็นข้อแลกเปลี่ยนกับการได้มิตรร่วมรบจาก 4แกนนำใหม่ที่เข้ามาสมทบและหนึ่งในนั้นก็คือพิภพ ธงชัย ข่าววงในแจ้งรับทราบกันชัดเจนว่าคนทั้ง 4 มีข้อต่อรองคือจะทำหน้าที่แกนนำร่วมรบก็ต่อเมื่อสนธิละทิ้งจากแนวทางการถวายคืนพระราชอำนาจสู่แนวทางปฏิรูปการเมืองผ่านรัฐธรรมนูญเท่านั้น  และนั่นคือที่มาของจุดเริ่มต้นการสู้ของพันธมิตรเพื่อประชาชนและประชาธิปไตยหรือในชื่อภาษาอังกฤษว่าPeople Alliance for Democracy (PAD) เมื่อต้นปี 2549 เป็นต้นมา !!
  
  
  
  
(อ่านต่อตอนหน้า… เกมแห่งการยื้ออำนาจ)
 
  
  
 
 

ปฏิวัติสันติ

 
สมัคร ยกเลิก
 
 
Revolutionary Press Agency
Online Journal and News Agency for Peace  :  วารสารและข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
Copyright © 2024 www.rpathailand.com All Rights Reserved.
ทำเว็บ  ออกแบบเว็บ  Web Design  เว็บสำเร็จรูป  เว็บไซต์สำเร็จรูป