ศูนย์ข้อมูลผู้ให้บริการ "ติดตั้งแก็ส LPG NGV" ที่สมบูรณ์แบบที่สุด
 
Useful Links
 
ราคาน้ำมัน แก็ส วันนี้

รับสมัครจดหมายข่าว โปรโมชั่น
รับสมัครข่าวสาร ข้อมูลบริการน่าสนใจ กรุณากรอกอีเมล์นล่างนี้
หากท่านยังมิได้ติดตั้งโปรแกรม Acrobat Reader กดปุ่มติดตั้ง

 
อ.สุรัฐพงศ์ สุวรรณรัตน์ กรรมการบริหาร สมาคมโหร แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ 
LPG หรือ NGV ตัวไหนกัน...ที่เหมาะสมกับรถของเรา
โดยเอาแบบคิดง่ายๆถ้าเทียบค่าพลังงานจากานเดียวกัน น้ำมันเบนซินเป็นอันดับ 1 ส่วน LPG ก็เป็นอันดับ 2 แล้ว NGV ก็เป็นลำดับที่ 3 อุปกรณ์ที่ใช้ในชุด NGV จะใกล้เคียงกับอุปกรณ์ที่ใช้กับ LPG จะแตกต่างกันที่การลดแรงดันของไอแก๊สเนื่องจาก NGV มีสถานะเป็นไอแก๊สแรงดันสูงจึงจำเป็นต้องลดแรงดันจาก 3200 Psi ลงเหลือประมาณ 120  200 Psi
 
พร้อมกันนั้นเพื่อให้การเผาไหม้ของก๊าซเป็นไปอย่างสมบูรณ์จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมจำพวกตัวหน่วงเวลาจุดระเบิด (Spark timing Advance) เพื่อหน่วงเวลาจุดระเบิดก่อนศูนย์ตายบนของเครื่องยนต์จากทั่วๆไป 8 - 12 องศา ไปเป็น 16 – 22 องศา ก่อนศูนย์ตายบน (TDC) เพื่อให้เครื่องยนต์เผาไหม้ก๊าซให้หมดจดเนื่องจากค่าออกเทนที่สูงขึ้นมากแถมยังต้องใช้ปริมาณก๊าซที่มากขึ้นด้วยเครื่องยนต์จึงสันดาปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ถังที่ใช้เก็บก๊าซต้องเป็นถังที่ทนแรงดันสูงที่มีใช้โดยทั่วไปเป็นถัง type 1 ผลิตจากเหล็กรีดขึ้นรูปไม่มีรอยเชื่อมทนแรงดันได้มากกว่า 4000 Psi มีการทดสอบมารฐานที่สูงมาก แต่มีข้อด้อยที่น้ำหนักของถังที่สูง และท่อที่ใช้ส่งก๊าซจากถังเข้าสู่ระบบเป็นท่อเหล็กหรือท่อสแตนเลสทนแรงดันได้สูงไม่แพ้ถัง และราคาก็แพงพอสมควร
 
ส่วน LPG เนื่องจากมีสถานะเป็นของเหลวการเก็บจึงใช้ถังเหล็กไม่หนามากนักโดยทั่วไปถังจะหนาประมาณ 2.5 มม. เทียบกับถัง NGV ที่มีความหนาก็ราวๆ 8 มม. ถ้าจะคุยกันแบบเปิดอกไม่ว่าเรื่องการติดตั้งหรือมาตรฐานต่างๆอุปกรณ์พวกนี้จะถูกกำหนดมาตรฐานเป็นสากลทุกอย่างก่อนนำมาขายให้ผู้บริโภค
 
ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ปลอดภัยทุกตัวไม่ว่าจะเป็น LPG หรือ NGV แต่สิ่งที่ทำให้มาตรฐานของอุปกรณ์ตกต่ำกลับเป็นผู้ติดตั้ง LPG ติดตั้งง่ายหาอู่ได้เยอะซึ่งเป็นธรรมดาที่อาจมีงานฐานต่ำหลุดออกมาเนื่องจากความไม่รู้หรือมักง่าย แต่ NGV จะติดตั้งได้โดยทั่วไปต้องเป็นศูนย์หรืออู่ที่เข้าร่วมในโครงการของ ปตท.เท่านั้น การควบคุมดูแลจึงทั่วถึงและมีระดับส่วนจุดคุ้มทุนนั้นต้องคิดกันด้วยพื้นฐานของราคาการติดตั้งอุปกรณ์กับราคาเนื้อแก๊สที่เราใช้ NGV การติดตั้งมีราคาสูงกว่า LPG ในระบบดูดประมาณ 1เท่าครึ่ง ส่วนค่าใช้จ่ายของเชื้อเพลิง NGV 1 กก.
 
ถ้าเทียบง่ายๆจะมีค่าพลังงานประมาณ LPG 1.2 ลิตร ถ้าใช้ NGV 1 กก. ก็ต้องใช้ LPG 1.2 ลิตร ถ้าเอามาเทียบเป็นค่าใช้จ่ายก็ 8.5 บาท กับ 12.35 บาท(คิดราคา LPG ที่ 9.5 บาท/ลิตร) หรือห่างกันราวๆ 30 % ดังนั้นในระยะยาว NGV คุ้มทุนกว่า(ถ้าราคาก๊าซไม่ปรับขึ้น)ส่วน LPG ค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการใช้น้ำมันก็ 50 % ขึ้นไป ต้องถามผู้ใช้ก่อนว่าแค่ไหนถึงจะพอใจ
 
 
LPG หรือ NGV ตัวไหนมีผลกระทบต่อเครื่องยนต์มกกกว่ากัน NGV กับ LPG มีผลกระทบกับเครื่องยนต์มากแค่ไหน ?
 
ต้องยอมรับกันแน่นอนว่าการใช้แก๊สไม่ว่าจะเป็น LPG หรือ NGV ล้วนแต่ไม่ได้เป็นผลดีกับเครื่องทั้งนั้น การพัฒนาและทดสอบเครื่องยนต์ทุกบริษัทที่ผลิตเครื่องยนต์ต่างใช้น้ำมันเบนซินในการทดสอบทั้งสิ้น คุณสมบัติที่แตกต่างของเชื้อเพลิงส่งผลให้เครื่องยนต์ชำรุดก่อนกำหนด ซึ่งทั้งหมดล้วนมีปัญหาจากอุณหภูมิ ขณะสับดาปของเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น
 
เกิดจากออกซิเจนส่วนที่เหลือจากการสันดาป เชื้อเพลิงยิ่งสะอาดอุณหภูมิการสันดาปยิ่งสูง อาการแรกที่เจอ คือ วาล์วไอเสียยันการขยายตัวของวัสดุผิดปกติ การแก้ไขคือการปรับจูนระบบให้มีการจ่ายแก๊สมากขึ้น ทีนี้จะเป็นผลให้ LPG ได้เปรียบ NGV เนื่องจากการเผาไหม้ LPG ทำได้เร็วกว่าในปริมาณการจ่ายแก๊สที่เท่ากัน
 
ถ้าทำแบบเดียวกันนี้ในเครื่องยนต์ที่ใช้ NGV การเผาไหม้ในรอบสูงจะเผาไหม้ไม่ทันถึงแม้นจะใช้ตัวหน่วงเวลาการจุดระเบิดเข้าไปช่วย ถ้ามีการจ่ายแก๊สมากเกินไปจะทำให้ไอเสียที่ออกจากเครื่องยนต์เป็นแก๊สร้อนที่กำลังเผาไหม้อยู่ อาจเป็นผลให้วาล์ว ไอเสียชำรุด หรือแคตตาไลท์ติกของระบบไอเสียเสียหายได้ง่าย การแก้ไขคือต้องยอมให้เครื่องยนต์เผาไหม้แก๊สได้ตามปริมาณปกติ แต่สิ่งที่ได้ตามมาคือแรงม้าที่ถอยลงราวๆ 15 – 20 % แต่ถ้าหากรถบางรุ่นไม่สามารถใส่ตัวหน่วงเวลาจุดระเบิดได้แรงม้าจะลดต่ำกว่านี้ ถ้า NGV ที่นำมาใช้มีค่ามีเทนที่สูงมากกว่า 70 % ปัญหาเหล่านี้จะลดลงอย่างเห็นผล
 
 
LPG/NGV มีระบบการติดตั้งที่มีใช้ในรถยนต์มีแบบใดบ้าง ?
 
เป็นที่ทราบกันดีว่าการนำ LPG หรือ NGV/CNG มาใช้ในเครื่องยนต์นั้นจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนสถานะของแก๊ส หรือต้องทำการลดแรงดันของแก๊สลงเพื่อจ่ายเข้าเครื่องยนต์ระบบต่างๆจึงถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นเพื่อควบคุมการจ่ายแก๊สให้เหมาะสมและในส่วนของระบบแก๊สเองก็มีการพัฒนาขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับการพัฒนาของเครื่องยนต์ตามไปด้วย
 
ระบบแก๊สถ้าจะแบ่งตามประเภทใหญ่ๆจะถูกแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ
 
1.ระบบที่ใช้แรงดูดของเครื่องเป็นตัวกำหนดการจ่ายแก๊ส(ระบบดูด)
  1. ระบบดูดแบบคงที่ หรือระบบดูดแก๊สแบบคาร์บูเรเตอร์ (Fix Mixer)
  2. ระบบดูดแบบแปรผันค่าตามออกซิเจนเซนเซอร์ (Mixer&Lamda Control)
  3. ระบบการจ่ายแก๊สควบคุมด้วยสเตปมอเตอร์ (Lamda Feedback Control หรือ Fumigation)
2.ระบบที่มีการประเมินผลของเครื่องยนต์โดยการจ่ายแยกสูบ ทั้งแบบอิสระ และแบบรวม (ระบบฉีดแก๊ส)
  1. ระบบฉีดแก๊สแบบฉีดร่วม (Full Group หรือ Multipoint Port)
  2. ระบบฉีดแก๊สแปรผันตามค่าการฉีดเชื้อเพลิงหลัก ( Sequential Injection System)
  3. ระบบฉีดแก๊สแบบฉีดน้ำแก๊ส (Liquid Sequential Injection)
จากระบบข้างต้นยังแยกย่อยออกได้อีกกลุ่มละ 3 แบบ โดยมีการทำงานที่แตกต่างกัน อันเป็นผลจากการพัฒนาระบบเพื่อความเหมาะสมกับเครื่องยนต์และให้ได้ค่ามาตรฐานไอเสียที่กำหนดคือ กลุ่มมาตรฐานยูโร (EURO) จะแบ่งย่อยออกเป็นดังนี้
 
1. กลุ่มระบบดูด (Mixer)
 
1.1 ระบบดูดแบบคงที่ หรือระบบดูดแก๊สแบบคาร์บูเรเตอร์ (Fix Mixer) เป็นระบบที่ใช้กลไลของหม้อต้มแก๊สเป็นตัวเปิด – ปิดแก๊ส โดยอาศัยแรงดูดของเครื่องยนต์แก๊สจะถูกดูดออกมาผสมที่ปากผสม ( Mixer) ก่อนที่จะเข้าห้องเผาไหม้ปากผสมจะทำการลดมวลอากาศเพื่อให้เกิดแรงดูดที่มากขึ้น ส่วนปริมาณแก๊สจะถูกควบคุมโดยสปริงเร่งของหม้อต้มแก๊สปากผสมโดยส่วนใหญ่ที่ใช้กันจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของปีกผีเสื้อ และมีการควบคุมแรงดูดของเครื่องยนต์โดยผ่านวาล์วลด(ในประเทศไทยเรียกวาล์วกลางสาย หรือ Power Valve) วาล์วตัวนี้จะเป็นตัวกำหนดแรงดูดของเครื่องให้สัมพันธ์กับหม้อต้ม และมีส่วนอย่างยิ่งว่าเครื่องยนต์จะสามารถใช้งานได้จริงหรือไม่ ขณะเครื่องยนต์มีภาระ ระบบนี้แทบจะเรียกได้ว่ามีมานานพอๆกับคนรู้จัก LPG มีการใช้งานมามากกว่า 50 ปี ปัจจุบันระบบ Fix Mixer ยังมีการพัฒนาเพื่อไม่ให้ตกมาตรฐาน Euro 1
 
1.2  ระบบดูดแบบแปรผันค่าตามออกซิเจนเซนเซอร์ (Mixer&Lamda Control) ระบบจะซับซ้อนขึ้นจากระบบแรกกล่าวคือ อุปกรณ์โดยรวมเหมือนกันแต่สิ่งที่ต่างกันคือ วาล์วกลางสาย หรือ Power Valve ระบบแบบนี้จะไม่มี Power Valve แต่จะใช้ชุดควบคุมการจ่ายแก๊สแบบสัญญาณสนองกลับหรือเรียกว่า Actuator Control แทนการทำงานจะใช้สัญญาณออกซิเจนเซนเซอร์เป็นตัวบอกปริมาณแก๊สที่จะต้องจ่ายเข้าไป แบ่งการทำงานง่ายๆออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนผสมหนา ส่วนผสมกลาง และส่วนผสมบาง Actuator จะถูกสั่งงานตามจังหวะของสัญญาณออกซิเจน ถ้าส่วนผสมหนาระบบจะลดแก๊สจนสุด ถ้าส่วนผสมกลางระบบจะคงที่ ถ้าส่วนผสมบางระบบจะเปิดแก๊ส จนสุดจะสังเกตได้จากค่า Lamda ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด
 
ระบบนี้ถูกออกแบบมาใช้กับรถที่มีออกซิเจนเซนเซอร์โดยเฉพาะ หรือเป็นระบบที่ใช้เสริมคุณสมบัติให้ดียิ่งขึ้น กล่าวโดยรวมคือมีส่วนผสมที่ดีขึ้นและเหมาะสมตามรอบเครื่องยนต์ตัว Actuator ทำงานโดยอาศัยแรงดูดในท่อร่วมไอดีเพื่อดูดลิ้นควบคุมการจ่าย โดยลดแรงดูดด้วย Vacuum Regulator แต่ลิ้นของ Solinoide ที่ควบคุมด้วยไฟฟ้าจากชุดควบคุม (Feedback Control) และยังบังคับลิ้นควบคุมลดแก๊สได้อย่างรวดเร็ว Actuator ถูกพัฒนามากจนถึงขีดสุดที่มีลิ้นควบคุม 2 ลิ้น จำแนกการทำงานอย่างละเอียดได้ 6 step แต่ระบบยังคงต้องพึ่งปากผสมที่ดีอยู่ และระบบถูกแทนที่ด้วย Step Motor เมื่อ Actuator  ไม่ผ่านมาตรฐาน Euro 2
 
1.3  ระบบการจ่ายแก๊สควบคุมด้วยสเตปมอเตอร์(Lamda Feedback Control หรือ Fumigation) เป็นระบบที่สูงสุดของระบบที่ใช้ปากผสม การทำงานจะถูกควบคุมโดยการใช้สัญญาณแยกย่อยออกหลายๆแบบ ในแต่ละรุ่นอาจมีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย สัญญาณส่วนใหญ่ที่ใช้จะมีหน้าที่แตกต่างกัน อาจแบ่งย่อยออกได้ตามลักษณะ ดังนี้

สัญญาณวัดรอบ(Rpm)ใช้เป็นตัวกระตุ้นระบบให้ทำงานหรือเป็นระบบตัดการทำงานขณะเครื่องยนต์หยุดหมุนและเป็นตัวสั่งให้ระบบสวิทช์จากน้ำมันไปใช้แก๊สในบางรุ่นอาจใช้ในการทำตาราง MAP เพื่อให้เหมาะสมกับรอบเครื่องยนต์ทุกๆย่าน

สัญญาณตำแหน่งลิ้นปีกผีเสื้อ(TPS) เป็นตัวบอกตำแหน่งของลิ้นปีกผีเสื้อเพื่อบอกถึงอัตราคันเร่งของเครื่องโยทั่วไปมีแรงดันแปรผันที่ 1 – 5 V.

สัญญาณออกซิเจนเซนเซอร์ (Lamda)เป็นค่าที่บ่งบอกถึงส่วนผสมหลังการสันดาปของเครื่องยนต์ว่าส่วนผสมหนาหรือบางจะเป็นส่วนสำคัญในการประเมินค่าการจ่ายแก๊ส
 
การทำงาน ระบบจะประมวลผลโดยใช้ ECU ค่าสัญญาณที่วัดได้จะถูกประมวลเพื่อทำการจ่ายแก๊สโดยการควบคุมของสเตปมอเตอร์ระบบจะมีการควบคุมตั้งแต่ปิดสุดถึงเปิดสุด ในบางรุ่นขั้นตอนนี้สามารถทำได้ถึง 300 step แต่ขณะใช้งานจริงการควบคุมที่แปรผันมากที่สุดอยู่ในช่วงเครื่องยนต์เดินเบา อาจจะเดินอยู่ระดับ 20 – 100 Step เพราะมีการปรับส่วนผสมหนา – บาง ตลอดเวลาที่เดินเบาอยู่ ต่อเมื่อกดคันเร่งจะมีการจ่ายแก๊สเพิ่มขึ้นในช่วงแรก และจะเริ่มคงที่เมื่อใช้รอบเครื่องยนต์คงที่ ขั้นตอนนี้อาจเดินสเตปอยู่ในช่วงแคบๆ ซึ่งจากการสังเกตสเตปของมอเตอร์จะเป็นตัวบ่งบอกว่าขนาดของปากผสมเหมาะสมหรือไม่ ค่าเหล่านี้จะเป็นมารฐานของแต่ละยี่ห้ออยู่ที่ผู้ออกแบบเป็นตัวกำหนด ซึ่งไม่เท่ากันและเป็นเทคนิคของผู้ผลิต การปรับแต่งของระบบ สามารถทำได้ 2 อย่าง คือ
 
-การปรับแต่งโดยใช้คอมพิวเตอร์ จะปรับแต่งค่าแยกย่อยในระบบได้มากที่สุด รวมถึงการปรับตั้งเมนูของระบบรวมถึง การตรวจเช็คสเตปของมอเตอร์ ซึ่งรวมถึงการ Mapping ค่าการจ่ายแก๊สตามรอบเครื่องยนต์
 
-การปรับโดยใช้อุปกรณ์มือถือจะปรับเมนูระบบได้เพียงเล็กน้อย แต่หน้าที่หลักคือการตรวจสอบตำแหน่งของมอเตอร์ขณะทำงาน
 
แต่การปรับจูนทั้ง 2 อย่างหัวใจหลักก็ยังคงต้องพึ่งหม้อต้มและปากผสม เพราะยังคงต้องปรับหม้อต้มและเลือกขนาดปากผสมที่เหมาะสมอยู่ดี แต่การพัฒนาระบบก็มีมารอย่างต่อเนื่องจนระบบสุดท้ายของสเตปมอเตอร์ใช้สเตปมอเตอร์ควบคุมการทำงานถึง 2 ตัว แบ่งเป็นชุดควบคุมการจ่ายไอแก๊ส(ขั้นกลางก่อก่อนเข้าปากผสม) และอีกตัวถูกติดตั้งแทนที่สกูรตั้งหม้อต้มเพื่อทำหน้าที่ปรับการจ่ายแก๊สของหม้อต้มให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์มากที่สุด
 
2.กลุ่มระบบฉีด (Injection)
 
2.1 ระบบฉีดแก๊สแบบฉีดร่วม (Full Group หรือ Multipoint Port) จะมีการใช้สเตปมอเตอร์ในการควบคุมการฉีดแก๊สควบคุมโดยการ เพิ่ม – ลด แก๊สที่ฉีดเข้าพอร์ตไอดี ปกติจะมีการควบคุมโยการใช้ Map Sensor ที่ใช้เฉพาะระบบเพื่อสร้างตาราง Map พื้นฐานขึ้นมา มีการประเมินผลร่วมสัญญาณต่างๆ เช่น TPS, Rpm, Lamda และสัญญาณที่ได้มาจาก Map Sensor ที่เพิ่มขึ้นมา ระบบนี้จะไม่ใช้คาการฉีดน้ำมันมาเกี่ยวข้องกับระบบ แต่จะประมวลสัญญาณขึ้นมาใหม่ แก๊สที่จ่ายเข้าพอร์ตไอดีจะมีการจ่ายที่พร้อมกันโดยอาศัยให้เครื่องยนต์ดูดแก๊สเข้าไปสันดาปเอง เป็นระบบที่ไม่ค่อยแม่นยำมากนัก และมีปัญหาในการปรับจูน จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก
 
2.2 ระบบฉีดแก๊สแปรผันตามค่าการฉีดเชื้อเพลิงหลัก(Sequential Injection System)เป็นระบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับเครื่องยนต์สมัยใหม่ทำงานโยการฉีดแก๊สตามจังหวะของเครื่องยนต์แทนการฉีดน้ำมัน ระบบโดยทั่วไปต้องการสัญญาณการฉีดน้ำมันของเครื่องเอามาเพื่อกำหนดการฉีดของแก๊ส การฉีดของแก๊สจะต้องทำการจำลองการฉีดน้ำมันและให้ข้อมูลดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการฉีดแก๊ส อาจมีการใช้สัญญาณต่างๆเพื่อเอามาตรวจสอบการทำงานของระบบว่าแม่นยำขนาดไหน
หลักการประมวลของระบบโดยทั่วไปจะเป็นระบบที่ทำงานเองโดยอัตโนมัติ(Auto Calibrate) โปรแกรมบางตัวใช้ค่าช่วงเวลาการฉีด/รอบของเครื่องยนต์ ประมวลผลร่วมกับค่า Map Sensor ที่เพิ่มเข้าไปในระบบซึ่งอุปกรณ์ทุกตัวจะมีหน้าที่แตกต่างกันแต่ต้องทำงานสัมพันธ์กันทั้งระบบ พอจะแยกย่อยหน้าที่ และการทำงานได้พอสังเขป ดังนี้
 
- ECU (Electronic Control Unit)
เปรียบเสมือนเป็นสมองคอยสั่งงานในระบบ มีหน้าที่รับสัญญาณต่างๆที่วัดได้ และทำการประเมินผลก่อนที่จะสั่งให้ระบบทำงานตามค่าต่างๆที่วัดได้ และการสั่งงานั้นต้องไม่ผิดเพี้ยนจากค่าเดิมของระบบเครื่องยนต์ ECU ที่ใช้ในระบบแก๊สที่ดีนั้นไม่ได้วัดกันที่ปริมาณในการประเมินผล แต่วัดกันที่ความเร็วในการประเมินผล CPU จึงถูกออกแบบมาให้ใช้ความเร็วมากกว่าปริมาณการคำนวณที่มากๆเพราะค่าสัญญาณต่างๆที่วัดได้จาก ECU ของรถยนต์เป็นค่าสัญญาณหลักที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อสนองการใช้งานได้ทันที
- หม้อต้มแก๊ส(Reducer & Regulator)
มีหน้าที่หลักในการทำให้แก๊สเหลว(LPG) กลายเป็นไอแก๊สและการทำงานลดแรงดันของไอแก๊สลงเพื่อส่งต่อเข้าไปในรางหัวฉีด แรงดันจะสูงหรือต่ำอยู่ที่การออกแบบระบบควบคุมการฉีด หม้อต้มแก๊สในระบบหัวฉีดถูกแบ่งออกได้ง่ายๆจากการทำงานของระบบควบคุมได้ 2 แบบ คือ 1.แบบแปรผันค่าแรงดันได้ (Variable Pressure) จะใช้แรงดูดภายในท่อไอดีเป็นตัวดึงกลไกของหม้อต้มเพื่อให้เพิ่มแรงดันตอนส่งคันเร่งและลดแรงดันลงเมื่อค่า Vacuum กลับลงมาปกติเมื่อรอบเครื่องยนต์คงที่ระบบหม้อต้มแบบนี้จะต้องเพิ่ม Map Sensor ให้กับระบบ
 
- หม้อต้มแบบแรงดันคงที่(Constant Pressure)
ระบบหม้อต้มแบบนี้ตัวหม้อต้มจะจ่ายแรงดันคงที่จะลดแรงดันลงเมื่อมีการฉีดแก๊สเข้าไปสันดาประบบที่ใช้หม้อต้มลักษณะนี้บางระบบไม่ต้องใช้ Map Sensor แต่จะปรับค่าจากช่วงเวลาการฉีดเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์(Time Sequential) และประมวลผลออกมาต่อรอบของเครื่องยนต์ มีข้อเสียคือการปรับตั้งต้องทำการทดสอบรถบนแท่นวัดแรงม้าแล้วปรับอัตราการฉีดเชื้อเพลิงต่อรอบเป็นช่วงๆซึ่งทำให้ขั้นตอนการทำงานยากขึ้น
 
- หัวฉีดแก๊ส (Injector)
ทำหน้าที่จ่ายแก๊สออกาจากระบบ โดยรับการสั่งงานจาก ECU ถูกแบ่งจ่ายออกตามสูบปกติมีอยู่เพียง 2 แบบ คือแบบลูกเลื่อน และแบบสั้น การเลือกใช้หัวฉีดผู้ออกแบบระบบอาจจะให้เลือกใช้ได้ทั้ง 2 แบบ แต่การเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับค่าเวลาการฉีดเชื้อเพลิงเดิม(ค่าการฉีดของน้ำมัน)ระบบลูกเลื่อนจะมีน้ำหนักจากกลภายในที่มากกว่าแต่สามารถควบคุมการทำงานได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นจึงเหมาะสมกับเครื่องยนต์ที่มีช่วงเวลาการฉีดน้ำมันอยู่ที่ 2.5 – 3 ms ขึ้นไป แต่ระบบลิ้นกลไกภายในน้ำหนักเบา ความแม่นยำไม่สูงนักแต่สามารถควบคุมการทำงานได้เร็วกว่าลูกเลื่อนมากจึงเหมาะสมสำหรับเครื่องยนต์ที่มีค่าการฉีดน้ำมันอยู่ที่ต่ำกว่า 2 ms ทั้งนี้การเลือกใช้ชนิดของหัวฉีดแก๊สก็เพื่อไม่ให้ได้สมรรถนะของเครื่องยนต์สูงสุดเมื่อใช้แก๊ส
 
- Map Sensor
เป็นตัววัดค่า Vacuum กับค่าแรงดันของแก๊สภายในระบบ(ความดันไอแก๊ส) การประเมินผลต่างๆจะต้องใช้ อุปกรณ์ตัวนี้เป็นตัววัดค่าที่ได้เอาไปเปรียบเทียบค่าการฉีดต่อรอบเครื่องยนต์เพื่อกำหนดค่าการจ่ายเชื้อเพลิงขึ้นมาใหม่เปรียบเสมือนหัวใจของระบบ
 
- สวิทช์เปลี่ยนระบบ
เอาไว้รับคำสั่งจากกล่อง ECU เพื่อแสดงสถานะ และเป็นตัวกำหนดระบบว่าเลือกใช้ฟังก็ชันใด
 
2.3 ระบบฉีดแก๊สแบบฉีดน้ำแก๊ส (Liquid Sequential Injection) มีอุปกรณ์และการทำงานทุกอย่างเหมือนระบบฉีดไอแก๊ส แต่ระบบไม่จำเป็นต้องใช้ตัวแลกเปลี่ยนความร้อนหรือหม้อต้ม แต่ระบบจะฉีดแก๊สในสถานะของเหลวเช่นเดียวกับน้ำมันมีต้นทุนในการผลิตสูงมากมีการทดสอบระบบกับเครื่องยนต์สมรรถนะสูงเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มากยังไม่มีใช้โดยพื้นที่สำหรับฉีดน้ำแก๊สเข้าสู่ห้องเผาไหม้โดยตรงลักษณะจะเหมือนกับเครื่องยนต์ตระกูล GDI ที่ฉีดน้ำมันเบนซินเข้าสู่ห้องเผาไหม้โดยตรง
 
 
 
 
ที่มา : นิตยสาร Auto Gas
 
กรมการขนส่งทางบก กระทรวงพลังงาน
Disclaimer
Privacy Policy
Copyright © 2024 www.Tidtanggas.com All Rights Reserved.
ทำเว็บ  ออกแบบเว็บ  Web Design  เว็บสำเร็จรูป  เว็บไซต์สำเร็จรูป