ศูนย์ข้อมูลผู้ให้บริการ "ติดตั้งแก็ส LPG NGV" ที่สมบูรณ์แบบที่สุด
 
Useful Links
 
ราคาน้ำมัน แก็ส วันนี้

รับสมัครจดหมายข่าว โปรโมชั่น
รับสมัครข่าวสาร ข้อมูลบริการน่าสนใจ กรุณากรอกอีเมล์นล่างนี้
หากท่านยังมิได้ติดตั้งโปรแกรม Acrobat Reader กดปุ่มติดตั้ง

 
อ.สุรัฐพงศ์ สุวรรณรัตน์ กรรมการบริหาร สมาคมโหร แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ 
ปตท.เผยไม่นิ่งนอนใจเร่งเพิ่มสถานีบริการ NGV
ในภาวะวิกฤตน้ำมันแพง สิ่งเดียวที่จะทำให้ทุกคนอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนยานยนต์อีกต่อไป คงหนี้ไม่พ้นพลังงานทางเลือกอย่าง ก๊าซธรรมชาติ สำหรับยานยนต์หรือเป็นที่รู้จักกันดีในสังคม ว่า NGV ที่ขณะนี้ ได้กลายเป็นฮีโร่ของคนทั่วโลก
 
เพราะคำว่าน้ำมันแพงจึงเป็นสาเหตุหลักให้หลายคนหันมาใช้รถติดตั้งแก๊ส แต่ก็มีหลายคนที่กำลังตัดสินใจว่าจะใช้ NGV หรือ LPG วันนี้ทางทีมงานนิตยสาร AUTO GAS จึงมีหลายคำตอบดีๆ ให้ตัวคุณเองในการเลือกใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ให้กับรถคู่ใจของคุณ
 
คุณปุณณชัย ฟูตระกูล ผู้จัดการฝ่ายตลาดก๊าซธรรมชาติสำหรับ ยานยนต์ กลุ่มธุรกิจสำรวจ ผลิต และก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ได้ให้ข้อมูลกับทางทีมงานนิตยสาร AUTO GAS ว่า สถานการณ์ตลาดของ NGV ในขณะนี้ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก เนื่องจากมีปัจจัยสำคัญที่ทำให้ NGV เติบโตอย่างรวดเร็ว คือ
 
1.เรื่องราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งแตกต่างจากเมื่อปี 49 NGV เป็นแค่ 1 ใน 3 ของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ขณะนี้ NGV เป็น 1 ใน 5 แล้ว คือมีจำนวนผู้สนใจในเรื่องรถติดตั้งแก๊ส NGV เพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆจึงทำให้มีคนหันมาใช้ NGV กันเพิ่มมากขึ้น
 
2.เรื่องความปลอดภัย ที่มีคนยอมรับกันมากขึ้น
 
3.เทคโนโลยีการติดตั้งค่อนข้างจะสมบูรณ์ มากขึ้นจากเดิมผู้ประกอบการขนส่งนำรถมาติดตั้ง NGV แบบกล้าๆกลัวๆและมีความคิดที่ว่าทำแล้วรถจะพังไหม แต่วันนี้ทุกคนไม่ทำไม่ได้แล้ว เพื่อความอยู่รอด โดยจะคิดใจในแง่ของราถาสินค้าที่ถูกกำหนดในเรื่องของการขนส่ง ซึ่งนำราคาของ NGV เป็นตัวกำหนด เพราะฉะนั้นเวลาการประมูลค่าขนส่ง ถ้าเป็นต้นทุนน้ำมันคุณสู้ไม่ได้อยู่แล้ว แก๊ส NGV จะมีราคาถูกกว่า
 
4.นโยบายของภาครัฐต้องการจะส่งเสริมให้ใช้ NGV อย่างต่อเนื่อง เช่น นโยบายเรื่องการยกเว้นภาษีนำเข้าในส่วนของถังแก๊ส หรือว่าอุปกรณ์ส่วนควบที่ใช้ติดตั้ง NGV จะยกเว้นภาษีให้ หรือเรื่องการลดหย่อนอัตราภาษีนำเข้ามา ทางภาครัฐยกเว้นภาษีให้ หรือภาษีสรรพสามิตก็เช่นเดียวกันมีการลดหย่อนภาษีให้เช่นเดียวกัน เหล่านี้เป็นต้น รวมทั้งภาครัฐพยายามที่จะนำกองทุนอนุรักษ์พลังงานมาให้ทาง ปตท.บริหารจัดการในการเทียบปล่อยกู้เพื่อขยายหรือส่งเสริมให้มีการติดตั้ง NGV ของรถโดยสาร รวมทั้งรถของผู้ประกอบการขนส่ง
 
ในส่วนของภาครัฐ มีเงินกองทุนอนุรักษ์พลังงานอยู่แล้ว 2 พันล้าน และกำลังจะได้เพิ่มอีก 2 พันล้าน เป็น 4 พันล้าน ในส่วนของ ปตท. อีก 5 พันล้าน รวมเป็น 9 พันล้าน ซึ่งเป็นกองทุนนำมาขยายกิจการธุรกิจ NGV ซึ่งจะทำให้ธุรกิจนี้ดำเนินการได้อย่างรวดเร็วมาก จากสถิติเมื่อสิ้นปี 49 ที่มีรถติดตั้ง NGV ประมาณ 25,000 คัน เพิ่มมาเป็น 56,000 คัน
 
ในขณะนี้สิ้นปี 50 และวันนี้เพิ่มมาเป็น 88,000 คันจะเห็นว่าแค่เวลาเพียงครึ่งปีเท่านั้น สามารถทำให้ธุรกิจ NGV เติบโตได้อย่างรวดเร็ว ประมาณ 80 – 90 % ดังนั้นจึงเป็นการให้เห็นถึงยอดจำหน่ายแก๊ส NGV ที่ได้รับความนิยมมาก จากสิ้นปีที่แล้ว 380 ตันต่อวัน เพิ่มมาเป็น 1,000 ตันต่อวัน วันนี้เพิ่มมาเป็น  2,100 ตัน จึงส่งผลทำให้เกิดสถานการณ์ทำให้ทุกคนมีความกังวลใจอยู่ในขณะนี้ เช่น ปั๊มบางแห่งต้องปิดให้บริการ เนื่องจากไม่มีแก๊สให้ลูกค้าเติม ปั๊มบางแห่งมีจำนวนรถที่ใช้บริการเป็นจำนวนมากมีรถเข้าแถวรอคิวจนล้นออกมานอกสถานี ส่งผลทำให้การจราจรติดขัด และยังส่งผลให้ร้านสะดวกซื้อไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้อีกด้วย
 
 
ข้อจำกัดของการใช้ NGV ในประเทศไทย
 
ข้อจำกัดที่ 1 เรามีแนวท่อแก๊สที่ไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ NGV ที่ดีต้องอยู่ในแนวท่อแก๊สเหมือนกับท่อน้ำประปาที่ใช้กันอยู่เป็นประจำ ซึ่งการใช้งานจะมีความสะดวกในการใช้โดยน้ำจะไหลผ่านท่อแล้วสามารถเปิดก๊อกใช้งานได้เลย เช่นเดียวกับแก๊ส NGV ก็ต้องอยู่ในแนวท่อแก๊สผ่านตู้จ่ายแล้วเติมใส่รถได้เลย นั่นแหละดีที่สุด วันนี้เรามีสถานีที่อยู่นอกแนวท่อแก๊สกว่า 70 % ทันทีที่มีสถานีนอกแนวท่อหรือเราเรียกว่า สถานีลูกตรงนี้จะสร้างปัญหาที่จะมี รถขนส่งแก๊สตามมา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งขององค์กรในทางธุรกิจ คือ ในเรื่องของประสิทธิภาพ และเรื่องของกระบวนการขนส่งตามมาอีกมากมายจะแตกต่างจากต่างประเทศโดยจะเน้นในเรื่องแนวท่อเป็นหลัก
 
ข้อจำกัดที่ 2 รถขนส่งแก๊สของ ปตท.จะขนส่งได้น้อย แก๊สจะเป็นในรูปของแก๊ส ที่ไม่เหมือนน้ำมัน หรือแม้แต่ LPG ก็เป็นแก๊สเหมือนกันแต่จะเก็บไว้ในรูปของเหลว ถ้าเป็นของเหลวจะขนส่งได้ปริมาณที่มากกว่า อย่างเช่น รถขนส่งแก๊ส NGV 1 คัน สามารถขนส่งแก๊สได้ 3,000 กิโล ประมาณ 3 ตัน ถ้าไปส่งที่สถานีนอกแนวท่อ ถ้ามีรถใหญ่ไปใช้บริการประมาณ 20 คัน แก๊สก็ไม่เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว ถ้ามีการใช้มากในนอกแนวท่อแก๊ส ก็ยิ่งสร้างปัญหาในเรื่องแก๊สหมด ส่งไม่ทัน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่มาก
 
เนื่องจากในปัจจุบันสถานีบริการแก๊ส NGV มีจำนวนน้อยซึ่งอาจไม่สะดวกในการหาที่เติม อย่างไรก็ตามทาง ปตท.ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีมาตรการในการแก้ไชปัญหาอย่างเร่งด่วน
 
1. เพิ่มกำลังสถานีแม่หรือสถานีหลักที่อยู่ในแนวท่อที่เราต้องผลิตแก๊สในปริมาณมากๆโดยใช้เครื่องคอมเพรสเซอร์อัดแก๊สใส่รถขนส่งแก๊ส และรถจะวิ่งไปส่งยังสถานีที่อยู่นอกแนวท่อสถานีลูก แล้ววันนี้จะทำอย่างไรให้สถานีแม่มีมากพอที่จะไปเลี้ยงสถานีลูกซึ่งวันนี้เรามีปริมาณการใช้ 2,100 ตันต่อวัน ในการที่เราเพิ่มกำลังการจ่ายแก๊สหรืออุปทานแก๊สของสถานีแม่วันนี้ประมาณ 2,300 ซึ่งเริ่มมีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการแล้ว จะเพิ่มเป็น 2,900 ตันต่อวัน ในเดือนหน้า และจะเพิ่มเป็น 5,400 ตัน ในสิ้นปีนี้ นี้คือสิ่งที่เป็นภารกิจที่ต้องเร่งทำ การทำตรงนี้ได้ไม่ได้หมายความว่าคิดแล้วทำได้เลยนะ สิ่งที่เราจะทำให้ได้ต้องวางแผนล่วงหน้าประมาณ 8 – 9 เดือน เพราะว่าอุปกรณ์ทั้งหมดจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ต้องสั่งตามตัวสินค้าแล้วต่างประเทศตอนนี้ก็นิยมใช้กันเป็นจำนวนมาก เพราะทางต่างประเทศก็เดือดร้อนในเรื่องของน้ำมันแพงเช่นเดียวกันจึงต้องเลือกใช้พลังงานทางเลือกเช่นเดียวกับบ้านเรา
 
อย่างไรก็ตามสถานการณ์ NGV ดีขึ้นมากกว่าเดิมเนื่องจากการที่ปริมาณการผลิตแก๊สในสถานีแม่สามารถไล่ความต้องากรทันแล้ว ถึงแม้ความต้องการจะขยับเพิ่มขึ้นตลอดแต่เราก็ต้องพัฒนาหรือรักษากำลังการผลิตก๊าซให้สูงกว่าความต้องการใช้งานอยู่เสมอ ไม่ฉะนั้นปัญหาแก๊สหมด แก๊สขาด ก็จะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ นั่นคือการแก้ไขในเรื่องที่หนึ่ง
 
เรื่องของรถ เมื่อมีความจำเป็นต้องขนส่งแก๊ส ปตท.ต้องเพิ่มจำนวนรถขนส่งแก๊สมากขึ้น จากที่มีอยู่วันนี้ 496 คันหรือเกือบๆ500 คันจะเพิ่มเป็น 930 คัน ในสิ้นปีนี้ เพื่อที่จะให้สอดคล้องกับสถานีที่เราจะเปิดเพิ่มมากขึ้น นั่นคือสิ่งที่ ปตท.เร่งรัดในข้อที่ 2
 
การขยายสถานี ตอนนี้ทาง ปตท.เปิดสถานีแล้ว 220 สถานี สถานีแม่ 14 แห่ง สถานีบริการก็อยู่ใน 22 แห่ง เพราะสถานีแม่ส่วนใหญ่เราจะเปิดขายหน้าลานด้วย วันนี้ต้องทยอยเปิดให้เร็วที่สุด โดย ปตท. ได้สร้างสถานีแล้วเสร็จยังไม่ได้เปิดบริการอีก 22 แห่ง และอยู่ในระหว่างก่อสร้างอีก 63 แห่ง สร้างรวมแล้ว 300 สถานี ที่อยู่ on hand และคาดว่าสิ้นปีนี้ กว่า 300 สถานีน่าจะเห็นได้เลย
 
ในเรื่องของการเปิดสถานี ปตท. ต้องมีการบริหารจัดการในเรื่องของสถานีให้มีความแตกต่างจากเดิมที่เมื่อก่อนนี้เรามีสถานี  NGV ที่ต้องไปเกาะอยู่กับสถานีน้ำมัน เพราะ ปตท.มองว่าถ้าไปแยกอยู่ต่างหาก ใครจะมาเติม แล้วมันจะอยู่ได้ไหม แต่วันนี้เหตุการณ์มันกลับตาลปัด เพราะวันนี้ประสบการณ์ได้บอกกับเราได้เลยว่าจะไปอยู่ในสถานีแคบๆไม่ได้แล้ว เพราะว่าเมื่อรถใหญ่มาเติมก็เติมไม่ทัน อาจทำให้ร้านสะดวกซื้อขายสินค้าไม่ได้อีก
 
นั่นคือเหตุผลที่ทาง ปตท. พยายามจะต้องจัดการว่าสถานีจะต้องมีประมาณ 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 คือ สถานีทั่วไป จะให้บริการกับรถทั่วไป รูปแบบที่ 2 สถานีรถใหญ่ รถบรรทุก รถโดยสาร รูปแบบที่ 3 สถานีรถแท็กซี่ ซึ่งมีความคิดว่าจะสร้างสถานีอีก 3 แห่งซึ่งเรียกว่า สถานีที่ใหญ่ที่สุดหรือสถานีขนาดยักษ์(Super Station) โดยที่มีจำนวนตู้จ่าย 20 – 30 ตู้จ่ายซึ่งจำนวนตู้จ่าย 1 ตู้จ่าย มี 2 หัวจ่าย ซึ่ง 1 ตู้จ่าย เติมรถได้ 2 คัน ถ้าตู้จ่าย 20 ตู้จ่ายก็เท่ากับเติมรถได้ 40 คันพร้อมกัน ถ้า 30 ตู้จ่าย ก็ได้ 60 คันพร้อมกัน
 
ขนส่งสายใต้ใหม่จะเป็นแห่งแรกซึ่งเป็นสี่มุมเมืองที่เราจะเร่งดำเนินการเปิดเป็นแห่งแรกเลย ซึ่งขนส่งสายใต้นี้จะมีอยู่ 27 ตู้จ่าย ซึ่งจะมีรถเข้ามาเติมได้ 54 คัน คาดว่าเดือนกันยายนจะได้เห็นสถานีแห่งนี้แล้ว โดยที่สถานียักษ์สมควรที่จะอยู่แนวท่อแก๊ส เพราะว่าถ้าอยู่นอกแนวท่อแก๊สมันคงใช้งานไม่ทัน เพราะมีคนใช้พร้อมกันเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันขนส่งสายใต้ใหม่ก็ได้ผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)แล้ว ซึ่งเป็นแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จะดำเนินการสร้างภายในเดือนกันยายนถึงตุลาคมนี้ และจะพยายามให้อยู่ในจุดสี่มุมเมือง อาทิเช่น กาญจนาภิเษก รังสิตขาออก พหลโยธินขาเข้า(ตรงข้ามนิคมฯนวนคร) และร่มเกล้าฝั่งทิศตะวันออก คิดว่า 5 สถานีขนาดยักษ์น่าจะช่วยได้ค่อนข้างมากในการเดินทางให้มีความสะดวกมากขึ้น และยังลดปัญหาการจราจรติดขัดได้พอสมควร
 
อีกทั้งทาง ปตท.กำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับแท็กซี่ เป็นการใหญ่ ซึ่งตอนนี้แท็กซี่ มีอยู่ 70,000 กว่าคัน เป็น NGV 22,000 กว่าคัน อีกประมาณ 50,000 คัน ทางภาครัฐมีนโยบายให้เปลี่ยนมาใช้ NGV ทั้งหมด โดยมีกฎหมายใหม่ออกมาแล้วแท็กซี่ ที่จดทะเบียนใหม่ต้องเป็น NGV เท่านั้น ถึงแม้ว่าวันนี้กฎหมายจะออกมาแต่ก็มีการชะลอการบังคับการใช้กฎหมาย เพราะว่าช่วงนี้เรายังขาดความพร้อมในเรื่อง NGV ฉะนั้นสิ่งที่ ปตท. จะต้องเร่งดำเนินการคือการเพิ่มสถานีเพื่อให้รองรับกับกลุ่มรถแท็กซี่ ให้มากที่สุด
 
ทีนี้มาตอบข้อสงสัยว่าทำไมทางภาครัฐจึงสนับสนุนการใช้ NGV ถ้ามองในนโยบายของรัฐ และ ปตท. เน้นในการสนับสนุนให้ใช้ NGV อย่างที่ทราบว่า NGV กับ LPG นั้นต่างกัน ซึ่ง LPG สามารถกลั่นจากน้ำมัน  (ซึ่งมีต้นทุนสูงในการนำเข้า)เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง เพราะว่ามีความหนาแน่นหนักกว่าอากาศจึงเกิดการสะสมซึ่งเป็นอันตราย และจะต้องแยกก๊าซธรรมชาติออกมาใช้ประโยชน์ ในตัวที่มีคุณค่าต่ำอย่าง NGV(แก๊สมีเทน) เราแยกเอาไปใช้กับอุตสาหกรรมพลาสติก โพรเพน(C3) บิวเทน(C4) มาผสมกันเป็น  LPG ที่มีส่วนผสม ซึ่งมีคุณค่าสูง
 
โดยที่เราอยากจะให้ใช้ถูกประเภท ของดีก็สมควรจะใช้กับภาคครัวเรือน ใช้กับปิโตรเคมี หรือถ้าโชคดีทีเรายังมี LPG เหลือพอ สามารถส่งไปขายต่างประเทศจะได้ราคาที่สะท้อนตลาดโลกประมาณ 900 เหรียญ แต่วันนี้เราถูกให้ขายแค่ 300 กว่าเหรียญต่อตันแค่นั้นเอง ผลต่าง 600 เหรียญ
 
ซึ่งตอนนี้ ปตท. ได้รับภาระตรงนี้ เพราะเป็นครั้งแรกในหลายรอบปีที่แก๊ส LPG ขาด ต้องนำเข้ามาในราคา 900 เหรียญ ซึ่งมองในแง่ความสูญเสียของประเทศชาติ ประเทศชาติสูญเสียแน่นอน แต่ถ้ามองในแง่ผู้บริโภค เค้ามองตัวเค้าก่อน เพราะ LPG โตมาก่อน NGV โตมา 30 กว่าปีแล้ว ปัญหาก็อาจจะน้อยลง ประกอบกับ NGV ด้วยคุณสมบัติมีความปลอดภัยมาที่สุด แก๊ส NGV เบากว่าอากาศ แต่แก๊สหุงต้มและไอน้ำมันเบนซินหรือดีเซลหนักกว่าอากาศ ดังนั้นเมื่อเกิดการรั่วไหล แก๊ส NGV จะไม่สะสมอยู่บนพื้นดินจนเกิดการลุกไหม้เหมือนเชื้อเพลิงอื่นๆ
 
หรืออาจจะพูดง่ายๆว่า แก๊ส NGV มีโอกาสเกิดการลุกไหม้ได้ยากกว่าเชื้อเพลิงอื่นๆ นอกจากนี้หากมีการรั่วไหลจะเกิดเสียงดังเนื่องจากมีความดันสูงจึงเป็นสัญญาณเตือนภัยได้อย่างดี และแก๊ส NGV จะอยู่ในรูปของแก๊ส แต่ LPG เป็นแก๊สเหมือนกันแต่อยู่ในรูปของเหลว เพราะฉะนั้นเวลาจะขนหรือใส่ถังท้ายรถ LPG จะใส่ได้มากกว่า จะทำให้การวิ่งในระยะทางไกลได้มากกว่าต่อการเติม 1 ครั้ง นั่นเป็นเรื่องธรรมชาติของทั้ง 2 อย่าง ถ้าถามว่าจะใช้ LPG ก็ได้แต่ต้องสะท้อนในราคาที่แท้จริง แต่วันนี้ราคามันต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ก็แล้วแต่ผู้บริโภคจะเลือกตัดสินใจ แต่ถ้าในแง่ของ ปตท. เรามีเหตุผลว่าทำไมถึงสนับสนุน NGV เราอยากให้ของดีที่มีมูลค่าสูงนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้ถูกประเภทมากที่สุด
 
 
ปตท. เข้ามามีบทบาทในเรื่องของภาคธุรกิจติดตั้ง NGV อย่างไรบ้าง
 
ถ้ามองถึง ปตท.ควรจะทำหน้าที่ให้ถูกต้องคือเป็นผู้จำหน่ายแก๊ส แต่ว่าในเรื่องของภาคธุกิจติดตั้ง NGV อู่ติดตั้งเป็นบทบาทของภาคเอกชนทั่วๆไป แต่เนื่องจากว่าอู่ติดตั้งเองหรือว่าอุปกรณ์ในการติดตั้ง เช่น ถัง อุปกรณ์ส่วนควบในการติดตั้ง พวกนี้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้กำหนด ดังนั้นอู่ติดตั้งน่าจะได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ไม่ใช่ความเห็นชอบของ ปตท. รวมทั้งเปิดอู่แล้ว ติดตั้งให้เสร็จแล้วจะต้องให้กับผู้ตรวจสอบที่เป็นบุคคลที่สาม เช่นเดียวกัน บุคคลที่สามก็ต้องผ่านการรับรองจากกรมการชนส่งทางบก เมื่อคุณติดตั้งเสร็จ ปตท.ก็มีหน้าที่จำหน่ายแก๊สให้ แน่นอน ปตท. ต้องสนับสนุนในเรื่องาการลงทุนภาคพื้นฐาน เช่น สถานี NGV ในเรื่องต่างๆที่ให้สามารถจ่ายแก๊สได้ เป็นหน้าที่ของ ปตท.
 
ในขณะเดียวกันปตท. เข้าไปเกี่ยวข้องกับอู่เพราะว่าที่ผ่านมาอยากจะให้ธุรกิจ NGV โต คือในช่วงแรกยังมีการใช้น้อยเพราะคนใช้ยังกล้าๆกลัวๆจึงมีความคิดว่าจะทำอย่างไรให้ธุรกิจเกิดขึ้นได้ ก็เลยมีการสั่งถังเข้ามาจำหน่าย เพราะเราจะสั่งทีละมากๆเพื่อให้ราคาต่ำลงเหมือนกับ ปตท.เป็นคนกลาง ซื้อมาแล้วก็ขายในราคาบวกค่าดำเนินการเล็กน้อย เพราะอยากให้มีถังเข้ามาเพื่อที่จะมีราคาที่ไม่สูงมากนักเพื่อที่จะไม่ได้เป็นภาระในการติดตั้งที่มีราคาสูงเกินไป ฉะนั้นในเรื่องถัง ปตท.ไม่ได้เป็นเจ้าเดียว จะมีอู่ติดตั้งรายใหญ่ที่สั่งถังเข้ามาเอง หรือแม้แต่อุปกรณ์ส่วนควบ เช่น หม้อต้ม กล่องควบคุม(ECU) ปตท.ไม่เคยสั่งเข้ามาเลย เป็นเรื่องของอู่ติดตั้งที่นำเข้ามาเอง ซึ่งจะมีหลายยี่ห้อ แล้วแต่คุณจะเลือกเป็นเจ้าของยี่ห้ออะไร นับว่าเป็นกลไกการตลาดอีกทางหนึ่ง ถังแก๊สก็เช่นกัน เมื่อธุรกิจเริ่มจะดำเนินไปได้แล้ว ปตท. ก็ลดบทบาทลงมา ปล่อยให้เป็นเรื่องของภาคเอกชนให้ดำเนินการ ยกเว้นถ้าเป็นนโยบายของรัฐ เช่น แท็กซี่ ที่มีนโยบายเปลี่ยนให้มาใช้ NGV ทั้งหมด ถ้าเกิดว่าถังมีน้อยไป ปตท.อาจจะต้องเข้าไปเสริมตรงนี้ให้ได้
 
ในขณะที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โอกาสที่ราคาต่ำกว่า 40 บาท คงจะมีโอกาสน้อยมากเพราะราคาน้ำมันนั้นเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆไปด้วยซ้ำ NGV ก็ยังเป็นพลังงานทางเลือก ซึ่งมีคนนิยมกันเพิ่มมากขึ้น มีคำถามว่าทำไม ปตท. ไม่มีส่วนลดให้อีกเหมือนในอดีต ซึ่งวันนี้เอง ราคา NGV อยู่ 8.50 บาท ทางปตท. ยังขายต่ำกว่าต้นทุนเสียอีก ราคาที่สมควรจะสะท้อนต้นทุนแท้จริง ต้องขึ้นไปอีก 4 – 5 บาท ถึงแม้ว่า ปตท. จะต้องรับภาระไปจนถึงสิ้นปีนี้ ในราคา 8.50 บาท พอปี 52 ปตท. จะทยอยปรับขึ้น แต่คงไม่เกิน 12 บาท และไม่เกิน 13 บาท ในปี 53 แต่ทาง ปตท. รับรองว่า ราคาของ NGV จะไม่เกินครึ่งหนึ่งของราคาน้ำมันดีเซลอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามตลาด NGV จะต้องโตขึ้นอีกมาก วันนี้มีจำนวนรถที่ติดตั้ง ประมาณ 88,000 คัน เราคาดว่าถึงสิ้นปีตัวเลขน่าจะอยู่ไม่ต่ำกว่า 122,000 คัน ในสิ้นปีนี้ตั้งเป้าไว้ 88,000 คัน แต่วันนี้ผ่านมาได้ 6 เดือน ตัวเลขบรรลุตามเป้าหมายแล้ว ฉะนั้นทาง ปตท.ต้องปรับแผนเป็นระยะ ซึ่งตอนแรกคาดว่าจะไม่เป็นไปตามเป้า แต่ตอนนี้สถานการณ์มันเปลี่ยนไป เพราะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นตัวขับเคลื่อนให้ทุกคนคิดว่าเป็นพลังงานทางรอดไปแล้ว
 
พลังงานทางเลือกอย่าง NGV กลายมาเป็นพลังงานทางรอดของทุกคนแล้วในขณะนี้ เราจะทำอย่างไรให้พลังงานที่มีอยู่ในปัจจุบันมีมูลค่าสูงที่สุด สามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกประเภท และใช้กันอย่างประหยัดให้มากที่สุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันแพง ปัญหามลพิษทางอากาศ และเพื่ออนาคตของประเทศชาติ ที่มีพลังงานอยู่คู่กับบ้านเมืองของเราตราบชั่วนิรันด์
 
ที่มา : นิตยสาร Auto Gas
 
กรมการขนส่งทางบก กระทรวงพลังงาน
Disclaimer
Privacy Policy
Copyright © 2024 www.Tidtanggas.com All Rights Reserved.
ทำเว็บ  ออกแบบเว็บ  Web Design  เว็บสำเร็จรูป  เว็บไซต์สำเร็จรูป