นักเรียนตลอดชีวิต

        เรียนรู้มิได้สิ้นสุดที่โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย ที่แท้เราเพิ่งเริ่มต้นเรียนรู้จากชีวิตจริง หลังจบจากมหาวิทยาลัย
โรงเรียนชีวิต ช่วงเริ่มต้น
         มีคำพูดน่าคิดอยู่คำพูดหนึ่ง “เวลาเรามองภูเขาไกลๆ เราก็เห็นแต่ภูเขาสีเทาสวยงาม อบอุ่น น่าไปเที่ยวไปชม แต่เมื่อเราเดินเข้าไปใกล้ๆ ภูเขาอันสยงามนั้นก็ค่อยๆ หายวับไป เราก็เห็นแต่ก้อนหินขุรขระก้อนใหญ่ๆ สูงคอตั้งบ่า ถ้าเราอยากจะปีนขึ้นไป แค่เห็นก็เหนื่อยและท้อใจแล้ว”
         แต่ถ้าเราไม่ยอมปีนขึ้นไป เราก็จะไม่ได้ชื่นชมวิวอันสวยงามข้างบน ซึ่งท้าทายนัก
 จริงซินะ.. เหมือนกับชีวิตคนเราเมื่อตอนเด็กๆ ก็มองว่าชีวิตผู้ใหญ่นั้นสนุกกว่าเป็นเด็กตั้งเยอะ เราต้องรีบโตเร็วๆ จะได้มีสตางค์ไปเที่ยวไหนก็ได้ จะทำอะไรก็ได้เอง ไม่ต้องขอสตางค์พ่อแม่ จะได้แต่งตัวสวยๆ จะไปไหนก็ไม่ต้องขออนุญาต
 แต่เมื่อโตขึ้นจริง ทุกช่วงก้าวของชีวิตของการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ก็ต้องเจออุปสรรค ตั้งแต่การเรียนหนังสือ การแข่งขันเข้าโรงเรียนดีๆ การสอบเลื่อนชั้นประจำปี การเรียนกวดวิชา การสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย การสอบประจำปีแต่ละปีแต่ละวิชา กว่าจะลุ้นการสอบสุดท้ายเพื่อรับปริญญา พอได้รับปริญญาก็นึกว่าจบแล้ว ฉลองกันเต็มที่ เฮ้อ.. ต่อไปนี้ สบายแล้วเรา...
 แต่ที่ไหนได้ ก็ต้องวิ่งเต้นหางานทำ ต้องสอบสัมภาษณ์แข่งขัน เพื่อให้ได้งานดีๆ ตำแหน่งดีๆ บริษัทดีๆ ต้องสอบสัมภาษณ์ พอเข้าได้ก็ดีใจ นึกว่าสบายแล้ว ก็เข้าไปทำงานก็เจอกับคนแปลกหน้า เจอชีวิตทำงาน ไม่เห็นจะสบาย เหมือนในฝันเลย เจอบททดสอบความอดทน ถูกบีบคั้นเพราะตำแหน่งยังเล็ก ประสบการณ์ยังไม่มี ทำอะไรก็ไม่ค่อยถูก ทุกอย่างก็ต้องเรียนรู้เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่กับสังคมใหม่ได้ต่อไป
 
โรงเรียนชีวิต ช่วงกลาง
 ตอนเป็นลูกน้อง ต้องรับคำสั่งของเจ้านาย ซึ่งก็มีทั้งดีและไม่ดี ต้องทำงานในบริษัทซึ่งมีบรรยากาศทั้งดีและไม่ดี ต้องรอการพิจารณาเงินเดือนตำแหน่ง บางคนก็ใช้วิ่งเต้นประจบสอพลอ เพื่อให้ได้ดี บางคนก็ใช้วิธีทำงานหนัก ขยันหมั่นเพียร ไม่ง้อใคร นึกว่าทำดีต้องได้ดี แต่พอสิ้นปีก็พบแต่ความผิดหวัง ย้ายบริษัทไปนึกว่าสภาพจะดีขึ้น ก็เหมือนๆ กัน พอกัน บริษัทในฝันไม่เคยเห็นมีเลย
 ทุกบริษัทก็มีการเมืองภายใน ผู้ใหญ่ไม่ลงรอยกัน แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ชิงอำนาจชิงตำแหน่ง ต้องสู้ทั้งการแข่งขันทางธุรกิจภายนอก ซึ่งสู้กันแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน ต้องสู้ทั้งการแข่งขันภายในที่ไม่มีใครยอมใคร ลูกน้องก็แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย เพราะถ้าไม่เลือกข้างก็ยิ่งแล้วใหญ่ ถ้านายของตัวได้ดีก็สบายไป ถ้าแทงม้าผิดก็ต้องอยู่อย่างระวังตัว แต่ถ้าไม่เลือกข้างเลย ชีวิตก็ไปเรื่อยๆ อย่าไปหวังอะไร
 จากภูเขาสีเทาอันสวยงามของเด็กๆ กลายเป็นก้อนหินก้อนใหญ่สูงลิ่ว เต็มไปด้วยความขรุขระ ปีนยากลำบาก ยิ่งก้าวสูงขึ้นไปก็ยิ่งหนาว ยิ่งน่ากลัว มองลงไปลิบๆ เบื้องล่าง ถ้าตกลงไปมีหวังไม่เหลือ แต่ถ้าปีนขึ้นไปอยู่จุดชมวิวสูงสุดได้ล่ะก็ โอ้โฮ... โลกนี้มันสวยงามเหลือเกิน มองไปไกลลิบๆ เห็นโลกกว้างใหญ่
         เหมือนถ้าใครได้เคยปีนภูกระดึงสักครั้งในชีวิต จะรู้ว่ากว่าจะปีนขึ้นไปได้เหนื่อยแทบตากระเด็น เห็นระยะทางไม่กี่เมตร กว่าจะตะกายขึ้นไปได้ ทำไมมันไกลเหลือเกิน พักแล้วพักอีก กินน้ำไปกลายกระติก แล้วก็ตะกุยต่อไป จะกลับก็ไม่ได้ จะไปก็ลำบาก
 แต่พอได้ขึ้นไปถึงยอด ก็จะเห็นวิวที่สวยเหมือนในฝัน เหมือนในปฎิทินฝรั่ง ต้นสนสวยงาม ท้องฟ้าพระอาทิตย์งามเหมือนรูปวา เห็นเมฆลอยอยู่เบื้องล่าง แสดงว่าเรามาอยู่เหนือเมฆ อากาศเย็นสบาย เช้านั่งดูพระอาทิตย์ดวงกลมโตบ่อยๆ ลอยขึ้นท่ามกลางหมอกสีขาวเหมือนเมืองในฝัน สวยเหลือเกิน ค่อยหายเหนื่อยหน่อย
ชีวิตถ้าไม่ดิ้น ก็ต้องรอจนสิ้นใจ
         สมัยเรียนมหาวิทยาลัย ยังเคยนึกอิจฉาเพื่อนบางคน ที่ชีวิตเหมือนเจ้าหญิงในฝัน มีบ้านใหญ่โตหรูหรากลางเมือง มีรถคันใหญ่มาส่งที่มหาวิทยาลัย มีคนขับคอยรับส่ง บางคนก็ขับรถสปอร์ตมาเรียนทุกวัน มีสตางค์มากมาย จะซื้อจะทำอะไรก็ได้
 ต่างกับเราเยอะเลย เราต้องมาอาศัยเช่าหอพักหญิงเก่าๆ แถวถนนสาทรที่ชื่อ หอพัก YMCA เป็นหอพักสำหรับนักเรียน นักศึกษา เฉพาะผู้หญิง เพราะห้องนอนนั้นเป็นห้องนอนใหญ่มาก นอนรวมกันสัก 20 คนได้ อบอุ่นดี และค่าเช่าถูก เพราะสตางค์ทุกบาทมีความหมาย เรารู้ดีว่ากว่าพ่อแม่จะได้สตางค์มา แต่ละบาทนั้นยากแค่ไหน และพี่น้องเราอีกหลายคน ล้วนแต่ต้องส่งเรียนทั้งนั้น เสื้อผ้าก็พยายามใช้เสื้อผ้าเก่าๆ ที่พี่สาวคนโตที่แสนดี พยายามดัดแปลงมาจากชุดนักเรียนสมัยมัธยม ให้ใช้ได้ดีเหมือนตัดใหม่ นี่เป็นเทคนิคเฉพาะตัวยังเป็นความภูมิใจมาจนถึงปัจจุบัน
 พอเรียนจบก็ดีใจ แล้วก็ได้ทำงานแรกในชีวิตเป็นนักข่าวเล็กๆ ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ของอาจารย์หม่อมคึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นชีวิตที่ระหกระเหิน เพราะเป็นแค่นกกระจิบตัวเล็กๆ ทั้งที่เลือกเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ นึกว่าออกมาน่าจะได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ ทำงานเกี่ยวกับการวางแผนการเงินการทองเหมือนที่ฝันไว้
 แต่สัญชาติญาณแห่งการต่อสู้ เป็นสิ่งที่ติดตัวอยู่ในมนุษย์ทุกคน ไม่มีใครยอมลำบาก นั่งรออยู่กับที่ จะต้องดิ้นรนต่อสู้กันไป ตราบที่ยังมีความฝัน
 
        เรียนรู้มิได้สิ้นสุดที่โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย ที่แท้เราเพิ่งเริ่มต้นเรียนรู้จากชีวิตจริง หลังจบจากมหาวิทยาลัยโรงเรียนชีวิต ช่วงเริ่มต้น         มีคำพูดน่าคิดอยู่คำพูดหนึ่ง “เวลาเรามองภูเขาไกลๆ เราก็เห็นแต่ภูเขาสีเทาสวยงาม อบอุ่น น่าไปเที่ยวไปชม แต่เมื่อเราเดินเข้าไปใกล้ๆ ภูเขาอันสยงามนั้นก็ค่อยๆ หายวับไป เราก็เห็นแต่ก้อนหินขุรขระก้อนใหญ่ๆ สูงคอตั้งบ่า ถ้าเราอยากจะปีนขึ้นไป แค่เห็นก็เหนื่อยและท้อใจแล้ว”         แต่ถ้าเราไม่ยอมปีนขึ้นไป เราก็จะไม่ได้ชื่นชมวิวอันสวยงามข้างบน ซึ่งท้าทายนัก จริงซินะ.. เหมือนกับชีวิตคนเราเมื่อตอนเด็กๆ ก็มองว่าชีวิตผู้ใหญ่นั้นสนุกกว่าเป็นเด็กตั้งเยอะ เราต้องรีบโตเร็วๆ จะได้มีสตางค์ไปเที่ยวไหนก็ได้ จะทำอะไรก็ได้เอง ไม่ต้องขอสตางค์พ่อแม่ จะได้แต่งตัวสวยๆ จะไปไหนก็ไม่ต้องขออนุญาต แต่เมื่อโตขึ้นจริง ทุกช่วงก้าวของชีวิตของการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ก็ต้องเจออุปสรรค ตั้งแต่การเรียนหนังสือ การแข่งขันเข้าโรงเรียนดีๆ การสอบเลื่อนชั้นประจำปี การเรียนกวดวิชา การสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย การสอบประจำปีแต่ละปีแต่ละวิชา กว่าจะลุ้นการสอบสุดท้ายเพื่อรับปริญญา พอได้รับปริญญาก็นึกว่าจบแล้ว ฉลองกันเต็มที่ เฮ้อ.. ต่อไปนี้ สบายแล้วเรา... แต่ที่ไหนได้ ก็ต้องวิ่งเต้นหางานทำ ต้องสอบสัมภาษณ์แข่งขัน เพื่อให้ได้งานดีๆ ตำแหน่งดีๆ บริษัทดีๆ ต้องสอบสัมภาษณ์ พอเข้าได้ก็ดีใจ นึกว่าสบายแล้ว ก็เข้าไปทำงานก็เจอกับคนแปลกหน้า เจอชีวิตทำงาน ไม่เห็นจะสบาย เหมือนในฝันเลย เจอบททดสอบความอดทน ถูกบีบคั้นเพราะตำแหน่งยังเล็ก ประสบการณ์ยังไม่มี ทำอะไรก็ไม่ค่อยถูก ทุกอย่างก็ต้องเรียนรู้เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่กับสังคมใหม่ได้ต่อไป ตอนเป็นลูกน้อง ต้องรับคำสั่งของเจ้านาย ซึ่งก็มีทั้งดีและไม่ดี ต้องทำงานในบริษัทซึ่งมีบรรยากาศทั้งดีและไม่ดี ต้องรอการพิจารณาเงินเดือนตำแหน่ง บางคนก็ใช้วิ่งเต้นประจบสอพลอ เพื่อให้ได้ดี บางคนก็ใช้วิธีทำงานหนัก ขยันหมั่นเพียร ไม่ง้อใคร นึกว่าทำดีต้องได้ดี แต่พอสิ้นปีก็พบแต่ความผิดหวัง ย้ายบริษัทไปนึกว่าสภาพจะดีขึ้น ก็เหมือนๆ กัน พอกัน บริษัทในฝันไม่เคยเห็นมีเลย ทุกบริษัทก็มีการเมืองภายใน ผู้ใหญ่ไม่ลงรอยกัน แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ชิงอำนาจชิงตำแหน่ง ต้องสู้ทั้งการแข่งขันทางธุรกิจภายนอก ซึ่งสู้กันแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน ต้องสู้ทั้งการแข่งขันภายในที่ไม่มีใครยอมใคร ลูกน้องก็แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย เพราะถ้าไม่เลือกข้างก็ยิ่งแล้วใหญ่ ถ้านายของตัวได้ดีก็สบายไป ถ้าแทงม้าผิดก็ต้องอยู่อย่างระวังตัว แต่ถ้าไม่เลือกข้างเลย ชีวิตก็ไปเรื่อยๆ อย่าไปหวังอะไร จากภูเขาสีเทาอันสวยงามของเด็กๆ กลายเป็นก้อนหินก้อนใหญ่สูงลิ่ว เต็มไปด้วยความขรุขระ ปีนยากลำบาก ยิ่งก้าวสูงขึ้นไปก็ยิ่งหนาว ยิ่งน่ากลัว มองลงไปลิบๆ เบื้องล่าง ถ้าตกลงไปมีหวังไม่เหลือ แต่ถ้าปีนขึ้นไปอยู่จุดชมวิวสูงสุดได้ล่ะก็ โอ้โฮ... โลกนี้มันสวยงามเหลือเกิน มองไปไกลลิบๆ เห็นโลกกว้างใหญ่         เหมือนถ้าใครได้เคยปีนภูกระดึงสักครั้งในชีวิต จะรู้ว่ากว่าจะปีนขึ้นไปได้เหนื่อยแทบตากระเด็น เห็นระยะทางไม่กี่เมตร กว่าจะตะกายขึ้นไปได้ ทำไมมันไกลเหลือเกิน พักแล้วพักอีก กินน้ำไปกลายกระติก แล้วก็ตะกุยต่อไป จะกลับก็ไม่ได้ จะไปก็ลำบาก แต่พอได้ขึ้นไปถึงยอด ก็จะเห็นวิวที่สวยเหมือนในฝัน เหมือนในปฎิทินฝรั่ง ต้นสนสวยงาม ท้องฟ้าพระอาทิตย์งามเหมือนรูปวา เห็นเมฆลอยอยู่เบื้องล่าง แสดงว่าเรามาอยู่เหนือเมฆ อากาศเย็นสบาย เช้านั่งดูพระอาทิตย์ดวงกลมโตบ่อยๆ ลอยขึ้นท่ามกลางหมอกสีขาวเหมือนเมืองในฝัน สวยเหลือเกิน ค่อยหายเหนื่อยหน่อยชีวิตถ้าไม่ดิ้น ก็ต้องรอจนสิ้นใจ         สมัยเรียนมหาวิทยาลัย ยังเคยนึกอิจฉาเพื่อนบางคน ที่ชีวิตเหมือนเจ้าหญิงในฝัน มีบ้านใหญ่โตหรูหรากลางเมือง มีรถคันใหญ่มาส่งที่มหาวิทยาลัย มีคนขับคอยรับส่ง บางคนก็ขับรถสปอร์ตมาเรียนทุกวัน มีสตางค์มากมาย จะซื้อจะทำอะไรก็ได้ ต่างกับเราเยอะเลย เราต้องมาอาศัยเช่าหอพักหญิงเก่าๆ แถวถนนสาทรที่ชื่อ หอพัก YMCA เป็นหอพักสำหรับนักเรียน นักศึกษา เฉพาะผู้หญิง เพราะห้องนอนนั้นเป็นห้องนอนใหญ่มาก นอนรวมกันสัก 20 คนได้ อบอุ่นดี และค่าเช่าถูก เพราะสตางค์ทุกบาทมีความหมาย เรารู้ดีว่ากว่าพ่อแม่จะได้สตางค์มา แต่ละบาทนั้นยากแค่ไหน และพี่น้องเราอีกหลายคน ล้วนแต่ต้องส่งเรียนทั้งนั้น เสื้อผ้าก็พยายามใช้เสื้อผ้าเก่าๆ ที่พี่สาวคนโตที่แสนดี พยายามดัดแปลงมาจากชุดนักเรียนสมัยมัธยม ให้ใช้ได้ดีเหมือนตัดใหม่ นี่เป็นเทคนิคเฉพาะตัวยังเป็นความภูมิใจมาจนถึงปัจจุบัน พอเรียนจบก็ดีใจ แล้วก็ได้ทำงานแรกในชีวิตเป็นนักข่าวเล็กๆ ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ของอาจารย์หม่อมคึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นชีวิตที่ระหกระเหิน เพราะเป็นแค่นกกระจิบตัวเล็กๆ ทั้งที่เลือกเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ นึกว่าออกมาน่าจะได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ ทำงานเกี่ยวกับการวางแผนการเงินการทองเหมือนที่ฝันไว้ แต่สัญชาติญาณแห่งการต่อสู้ เป็นสิ่งที่ติดตัวอยู่ในมนุษย์ทุกคน ไม่มีใครยอมลำบาก นั่งรออยู่กับที่ จะต้องดิ้นรนต่อสู้กันไป ตราบที่ยังมีความฝัน
ชีวิตคือการเรียนรู้ตัวเอง
         แล้วชีวิตก็ผกผัน ถูกพ่อเรียกตัวกลับไปต่างจังหวัดเพราะพ่ออยากให้เราเป็นเจ้าของธุรกิจ ค้าขายเหมือนพ่อ ไม่ต้องไปเป็นลูกจ้างใคร แล้วก็ลงทุนเปิดร้านขายเฟอร์นิเจอร์หวายให้ที่นาเกลือ เป็นร้านขนาดเล็กน่ารัก มีสินค้าสวยงามเต็มร้าน 2 คูหา เพราะที่บ้านมีโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์หวายเอง แล้วบัณฑิตเศรษฐศาสตร์จากรั้วจุฬาฯ ก็กลายเป็นแม่ค้านั่งเฝ้าหน้าร้านทั้งวัน ขับรถปิคอัพทำงานเหมือนผู้ชาย ยกของขึ้นรถไปส่งลูกค้า ขับเองไปส่งของเอง เวลาพี่ชายไม่อยู่ลุยอยู่คนเดียว ไปไหนก็ไม่ได้
         ช่วงนั้นนึกสะท้อนใจ ที่เราอุตส่าห์เรียนแทบตายนี่นะ สุดท้ายก็มาทำงานเหมือนเพื่อนบ้านนอกรุ่นเดียวกันที่ไม่ได้เรียนต่อ ไม่ต่างกันที่ตรงไหนเลย นึกในใจไม่รู้จะลำบากลำบนเรียนไปสูงๆ ทำไม เพราะเมื่อตอนสอบเข้าจุฬาฯ ได้ มาบอกที่บ้านก็ไม่มีใครเชื่อ เพราะแม้เราเองก็เหมือนฝันไป แต่พอทุกคนรู้ว่าเข้าได้จริงก็ดีอกดีใจกันทั้งบ้าน แล้ววันนี้ก็กลับมาเป็นแม่ค้าในตลาดเหมือนคนอื่นซะนี่
 เรานั่งเฝ้าร้านอยู่เป็นปีๆ แล้ววันหนึ่งความอดทนก็หมดลง เมื่อไปกราบพ่อร้องไห้เป็นวันที่เสียใจสุดชีวิต ร้องไห้จนไม่มีน้ำตาจะไหล เพราะสานต่อความฝงันของพ่อไม่ได้ มองไม่เห็นอนาคต ขออนุญาตไปตายเอาดาบหน้า แล้ววันหนึ่งลูกจะกลับมาทำฝันของพ่อให้เป็นจริง จะเป็นนักธุรกิจเหมือนพ่อให้ได้ แต่กราบขออนุญาตไปฝึกฝนวิทยายุทธ์ต่อให้เก่งกล้าก่อน
 
ชีวิตลูกจ้าง ที่เริ่มต้นนับหนึ่ง
         แล้วชีวิตก็กลับมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ กลับมาหางานทำในกรุงเทพฯ โดยมีพี่เขยคนเก่งชื่อพี่สุนทร ซึ่งทำงานกระทรวงต่างประเทศวิ่งเต้นหางานให้ มีให้เลือกทั้งงานเลขานุการ งานพนักงานธนาคาร งานนักข่าว เพราะจบปริญญาตรีใหม่เอี่ยม ก็คงได้เป็นแค่พนักงานธรรมดา
         และในที่สุดก็ได้งานตำแหน่งเล็กๆ ในบริษัทสำนักพิมพ์เล็กๆ แห่งหนึ่งมีพนักงานไม่กี่คน ที่ทำนิตยสารสวงามชื่อ สไตล์ และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สไตล์ แอนด์ ดีไซน์ แข่งกับนิตยสารบ้านและสวนที่กำลังดังในยุคนั้น
 ชีวิตในบริษัทเล็กๆ เป็นสังคมเล็กๆ ต้องช่วยเหลือกัน ต้องทำงานทุกอย่างนับตั้งแต่รับโทรศัพท์ พิมพ์หนังสือ งานสารบรรณ งานเลขานุการ ติดต่อลูกค้า โรงพิมพ์ ตรวจปรู๊ฟ บางครั้งต้องไปส่งเอกสารเอง เจ้านายไม่อยู่ก็ดูแลแทนทั้งหมดแล้วคอยรายงาน บางครั้งก็ต้องช่วยตัดสินใจจัดการแทนให้เสร็จเรียบร้อย
         นับเป็นการเริ่มต้นฝึกงานที่สมบูรณ์แบบ ที่ตำราเรียกว่า On the Job Training นั่นก็คือ ทำไปฝึกไป ทำผิดบ้าง ถูกบ้าง ก็ไม่เป็นไร แล้วก็พัฒนาตัวเองทีละน้อย ทักษะก็จะเกิดขึ้นทีละน้อย ก็ค่อยได้รับความไว้วางใจมากขึ้น ได้ทำงานที่สำคัญขึ้น ตรงนี้แหละ คือ จุดคิดที่สำคัญของมนุษย์
         ความรู้ในมหาวิทยลัยเป็นความรู้ทางทฤษฎี ไม่ได้แปลว่า ถ้าเราเรียนเก่งสอบได้ที่หนึ่งตลอด สอบได้เกียรตินิยมเหรียญทอง ในชีวิตเราจะทำงานจะได้เกียรตินิยมเหรียญทองด้วย หามิได้ ตรงกันข้างหลายคนเรียนเก่งแต่พอมาทำงานจริงกลับไม่เก่งเหมือนเรียนหนังสือ คนที่เรียนพอไปได้กลับประสบความสำเร็จในอาชีพสูงกว่ามีเยอะไป
 มหาลัยชีวิตนี่เอง เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่โตมโหฬาร เป็นมหาวิทยาลัยทุกสาขา ต้องเรียนวิชาชีวิตทุกวิชา และที่สำคัญก็คือ “ต้องเรียนกันตลอดชีวิต หยุดไม่ได้เลย”
เรียนต่อถึงระดับไหนดี
         อันที่จริง คนเราการจบแค่ปริญญาตรีก็น่าจะเป็นตั๋วเดินทางติดตัวที่พอเพียงในยุคนี้ ถือว่าโชคดีมากกว่าคนอีกมากที่ไม่มีโอกาสเรียน ทั้งที่หลายคนมีความสามารถสูงกว่าคนจบปริญญาเสียอีก แต่เขาโชคร้ายเพราะฐานะครอบครัวไม่อำนวยให้เขามีโอกาสได้พิสูจน์ตัวเองอย่าเข้าใจผิดคิดว่า ฝรั่งส่วนใหญ่จะจบปริญญาตรีนะ ส่วนมากก็เหมือนเราจบแค่ไฮสกูล เขาก็ทำงานกันแล้ว เป็นอย่างนี้เหมือนกันทุกประเทศ
         นักธุรกิจไทยที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในวงการค้าจำนวนมาก ไม่ได้จบการศึกษาสูง แต่ตรงกันข้ามกลับประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ สร้างความร่ำรวยมหาศาล มีชื่อเสียงโด่งดัง บางคนกลายเป็นตำนานของวงการตลาด เช่น นายห้างเทียม โชควัฒนา ที่ไต่เต้ามาจากนักสู้ข้างถนน กลายมาเป็นเถ้าแก่เล็กๆ แล้วสุดท้ายก็กลายเป็น เถ้าแก่ใหญ่
         สิ่งที่ คุณเทียม สอนและทำตัวเป็นตัวอย่างกับทุกคน คือคำสอนที่ว่า “ซื่อสัตย์ อดทน ขยัน ทำงานหนัก ประหยัด และอ่อนน้อม”
 สโลแกนสินค้าของนายห้างเทียมคือ ผงซักฟอก เปาปุ้นจิ้น ที่เกิดพลิกประวัติศาสตร์วงการตลาดที่ทำให้บริษัทตกตะลึง คือ “ซื่อสัตย์ ยุติธรรม” เพราะฝรั่งมองไม่ออกว่า เกี่ยวกับผงซักฟอกตรงไหน แต่ความจริงแล้ว คือ หัวใจของการค้าแบบจีน หมายถึง “ความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าและความยุติธรรมต่อลูกค้า”
         ใช่แล้วค่ะ... ความซื่อสัตย์ คือ หัวใจการค้า ตามคำโบราณที่บอกว่า “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน”
 และน่าจะเป็นจิตวิญญาณของพนักงานทุกคน ที่จะไต่เต้าขึ้นตำแหน่งสูง คือ ต้องมีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อองค์กร ทำงานถวายชีวิต เพื่อให้องค์กรเติบโต และเมื่อเราเติบโตขึ้น สิ่งที่เราต้องรักษาจุดยืนในบริษัท คือความยุติธรรม
 ความยุติธรรม คือ ความไม่มีอคติในการบริหาร ไม่มีอคติเพราะรัก อคติเพราะความเกลียด โกรธ อคติเพราะความกลัว เกรงใจ อคติเพราะความหลง ความไม่รู้ ความโง่เขลา ความเข้าใจผิด
         ความยุติธรรมในการทำงาน ก็คือ ถ้าเราทำงานมาก งานสำคัญมาก เราก็ควรจะได้รับผลตอบแทนมาก ถ้าเราทำงานน้อย สำคัญน้อย ก็จะได้ผลตอบแทนน้อย แปลว่า ทำดีได้ดี ว่างั้นเถอะ ถ้าทำไม่ดีก็ไม่ควรจะได้ดี หรือควรจะถูกลงโทษด้วย อันนี้ก็เป็นธรรมดา
 วิชาเหล่านี้ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย แต่ต้องมาเก็บเกี่ยวเองจากประสบการณ์ในการทำงาน แต่สุดท้ายเพราะงานมันหนัก เรื่องมันต้องคิดมาก เครียดมาก คนเราก็เลยอาจจะไม่มีเวลาศึกษาเพิ่มเติม เลยอาจจะลืมไปว่า การพัฒนาตัวเองให้มีศักยภาพสูงขึ้น เก่งขึ้น ฉลาดขึ้น จะหยุดไม่ได้
ปริญญาโทจำเป็นแค่ไหน
         จำได้ว่าเมื่อตอนไปสมัครเรียนปริญญาโท ทั้งที่ทำงานมาแล้วกว่า 20 ปี ผ่านงานมาทุกชนิดประสบการณ์มากมาย อาจารย์ผู้สัมภาษณ์ถามว่า “จะเรียนเอาปริญญาโทไปทำอะไร” เพราะตำแหน่งก็สูงอยู่แล้ว ก็ตอบอาจารย์ไปชัดๆ เลยว่า “ไม่ได้มาเอาปริญญา แต่จะมาเอาความรู้ เพราะเดี๋ยวนี้สู้เด็กรุ่นใหม่ไม่ได้ เพราะมีวิชาใหม่ๆ มีเรื่องใหม่ ที่ต้องเรียนอีกเยอะ เลยต้องบังคับตัวเองให้มาเรียนหนังสือ เพราะจะได้บังคับตัวเองให้อ่านหนังสือ อ่านทฤษฎีใหม่ แนวความคิดใหม่ๆ ไม่งั้นโง่ตายเลย สู้เขาไม่ได้ค่ะ”
         อาจารย์ก็ลองแซวว่า “ถ้างั้นก็เรียนแค่มินิเอ็มบีเอก็พอแล้ว” ก็เลยตอบว่า “เรียนมาแล้ว จบมาแล้วค่ะ แข่งขันในเกมธุรกิจก็ได้รางวัลชนะเลิศมาแล้วด้วย แต่ยังไม่พอหรอก อยากรู้จริงๆ มากกว่านี้” อาจารย์ฟังแล้วคงเห็นใจว่ายัยคนนี้ท่าทางจะเอาจรง ก็เลยหลวมตัวรับเข้าไปเรียน แต่ก็ขู่ไว้ว่า “หนักนะ เดี๋ยวจะนึกว่าเรียนง่ายๆ จบง่ายๆ”
         แล้วก็เป็นจริงอย่างที่ว่า เกือบตายกว่าจะจบ แต่คำว่าเกือบตายนี้แหละ คือหัวใจ เพราะต้องทุ่มเททำงานหนัก ดูหนังสือ เตรียมสอบ เข้ากลุ่มทำงานร่วมกับเด็กๆ ที่อายุต่างกว่าเราเป็นสิบปี เขายังแข็งแรง หัวไบรท์ เพิ่งเรียนมาหยกๆ เราทิ้งการเรียนมาเป็นสิบๆปีแล้ว และคนรุ่นใหม่คิดไว ทำไว ไอ้เรากว่าจะตั้งตัวได้ ต้องใช้เวลาทบทวนหลายครั้ง ติวกันแล้วติวกันอีกต้องอดทน
 แต่ผลที่ได้รับตอบแทนจากการเรียนหนัก ทำงานหนัก คือความรู้ที่ต้องกราบขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านไว้อย่างสูง ยิ่งท่านอาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ที่น่ารักที่สุด ที่ต้องขออนุญาตบันทึกไว้ คือ อาจารย์ปรียานุช อภิปัญโญภาส ที่ท่านเป็นทั้งอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นทั้งโค้ช เป็นทั้งนิสิตเก่ารุ่นพี่ที่รั้วจุฬา ท่าทั้งชี้ทั้งแนะ ให้กำลังใจ และที่สำคัญให้เวลาเอาใจใส่จนกลุ่มของเรา 3 ชีวิต สอบผ่านสารนิพนธ์ของปริญญาโท ด้วยความแฮปปี้เป็นกลุ่มแรกของรุ่น KIMBA 6
         แถมยังได้กำไรที่เอาหัวข้อสารนิพนธ์ มาทำธุรกิจเป็นอาชีพได้อีกต่างหาก เห็นไหมล่ะคะว่าการเรียนอย่างไม่หยุดยั้ง มีประโยชน์แค่ไหน และอย่างนี้ เราจะไม่เป็นนักเรียนตลอดชีวิต ได้ยังไงกันล่ะคะ
 ดังคำสอนของคุณยายอาจารย์ที่ชอบถามทุกคนว่า “วันนี้เราทำดีที่สุดแล้วหรือยัง” ถ้าตอบว่า “ทำแล้ว” คุณยายก็จะถามต่อว่า “แล้วชาตินี้ล่ะ เราทำดีที่สุดแล้วหรือยัง” ตอบได้ไหมคะ? คุณ
 
ข้อคิดง่ายๆ สบายๆ : เมื่อไรที่เราหยุดพัฒนาตัวเอง ชีวิตก็เหมือนสิ้นสุด โลกก็หยุด และท่ากับเรารอวันตาย ชีวิตถ้าหมดความฝันเมื่อไร ก็หมดความพยายามเมื่อนั้น คนเราถ้าไม่มีเป้าหมายอะไรเหลืออยู่ อย่างน้อยขอให้มีความพยายามที่จะทำความดีให้มากที่สุด ดีที่สุดในชีวิต ดียิ่งกว่านี้ขึ้นไปอีกอย่างไม่มีวันสิ้นสุด ชีวิตก็จะมีความสุข
รับสมัครงานด่วนหลายตำแหน่ง more...
 
26 ก.พ.-1 มี.ค. 52 พบกับงานซื้อ-ขายธุรกิจครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี 52 งานโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์ ครั้งที่ 13....
 
แบบสอบถามแฟรนไชส์ซี่ (รับสิทธิ์สมัครสมาชิกนิตยสารฯ ฟรี!! 1 ปี)
ถ้าไม่สามารถอ่านเอกสารได้
ดาวน์โหลดโปรแกรมที่นี่....
            
 
 
 

บริการงานเว็บไซค์

 

 
 
- ditto world
- music palace
- pompadour
- blink
- สังขยา กาแฟ
- big move
- โจเอลลี่ โมอีส
- จันทร์สว่าง