การทำแฟรนไชส์ในธุรกิจอาหาร

         แฟรนไชส์อาหาร  คือธุรกิจที่มีค นต้องการทำมากที่สุด     และจากการสำรวจทุกครั้ง จะพบว่าคนต้องการซื้อ
แฟรนไชส์อาหารมากที่สุดเสมอ แม้ความต้องการมีมาก แต่ปรากฏว่าทางเลือกในการทำแฟรนไชส์ร้านอาหารกลับมีน้อย ถึงแม้ว่ามองดูโดยผิวเผินจะมีรายการธุรกิจอาหารให้เลือกมาก  แต่ที่สุดแล้วผู้ที่อยู่นานยั่งยืนมีไม่กี่รายนัก 
         การขายแฟรนไชส์อาหารนั้นขายได้ง่ายก็จริง แต่ส่วนมากแล้วจะจบลงที่เมื่อขยายแฟรนไชส์อาหารอย่างรวดเร็ว ได้ 10 สาขา 20 สาขา ถึงหลายร้อยสาขา ในเวลาอันสั้น แต่เจ้าของธุรกิจจะตายตรงที่ว่า ไม่รู้จะบริหารร้านสาขาที่มากมายนี้ได้อย่างไร
 ถามว่า แฟรนไชส์อาหารไทยน่าจะมีมากกว่านี้หรือไม่? คำตอบที่ได้ก็คือ ควรสนับสนุนให้แฟรนไชส์อาหารไทยเกิดเพิ่มขึ้นมากกว่านี้อีก แต่จะทำอย่างไร ให้แฟรนไชส์ร้านอาหาร ประสบความสำเร็จมากกว่านี้
กับดักแฟรนไชส์ร้านอาหาร สาเหตุสำคัญที่ทำให้แฟรนไชส์ร้านอาหารไปไม่ถึงดวงดาว เพราะตกหลุมพลางดังต่อไปนี้
ขาดความรู้เรื่องแฟรนไชส์
 
         ร้านอาหารส่วนมาก ประสบความสำเร็จแห่งที่ 1 หรือแห่งที่ 2 อาจจะเกิดความมั่นใจอยากจะขายแฟรนไชส์ แต่ส่วนใหญ่ มากกว่า 90% กระโจนลงมาทันทีโดยไม่ได้มีความรู้ในเรื่องของระบบแฟรนไชส์เลย นี่เป็นกับดักข้อแรกที่ทำให้แฟรนไชส์อาหารส่วนใหญ่ล้มเหลว
ขาดร้านต้นแบบ
         หลายแฟรนไชส์เกิดมากจากโรงงาน ที่ผลิตวัตถุดิบ อาจจะเป็นโรงงานทำลูกชิ้นที่แสนอร่อย หรือทำเส้นหมี่ชั้นเลิศ หรือมีข้าวสารที่คุณภาพสูงลิ่วก็ต้องการที่จะระบายสินค้าหรือต้องการหาตลาดที่แน่นอน มีช่องทางการขายที่เพิ่มขึ้น จึงสร้างระบบแฟรนไชส์ขึ้นมาเพื่อหวังขายสินค้ามากมายเหล่านั้น ด้วยการเปิดร้านก๋วยเตี๋ยว,ข้าวมันไก่ ฯลฯ แต่สุดท้ายก็จะพบว่า เพียง 1-2 ปีก็จะหายเงียบไป เพราะสิ่งที่ผิดก็คือ วิธีการเหล่านี้ขาดร้านต้นแบบที่ประสบความสำเร็จมาก่อน และขาดความชำนาญในการทำธุรกิจนั้นๆจริงๆ ซึ่งการขายแฟรนไชส์นั้น คือการขายระบบบริหารร้านที่ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่การขายสินค้า 
มาตรฐานไม่ผ่าน 
         ร้านอาหารที่ขายดีจนต้องต่อคิว เมื่อมาทำแฟรนไชส์อาจจะได้รับความสำเร็จระดับหนึ่ง ตราบที่ยังคุมความเหมือนของร้านเดิมได้ และสร้างกำไรได้ แต่เมื่อร้านถูกบริหารโดยผู้อื่น มาตรฐานเริ่มจะหย่อนยาน ทั้งในด้านคุณภาพอาหาร  ไม่มีการบริการ ความสะอาดของร้าน และอื่นๆ
 หรืออีกกรณีหนึ่ง ร้านที่ขายดีมาก แต่ยังไม่มีการปรับปรุงระบบให้มีมาตรฐานให้ดีขึ้นในด้านต่างๆ  เมื่อขายแฟรนไชส์ออกไป ก็เหมือนกับการขายระบบที่มาตรฐานไม่ผ่านนั้นออกไป ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะล้มเหลวกันในเรื่องของการไม่มีระบบมาตรฐานของตัวเอง
ไม่ทำกำไร 
         ร้านอาหารส่วนมาก จะมีกำไรต่อจานเฉลี่ยอยู่ในระดับ 25% ดังนั้นการบริหารที่ไม่ดี การเลือกทำเลผิด ผู้จัดการใช้ไม่ได้อาหารเหลือ ค่าเช่าแพง ค่าแรงสูงไป  ก็เป็นจุดที่จะทำให้ทำกำไรไม่พอ
 หรือบางร้านมีกำไร แต่กำไรต่อเดือนอยู่ในระดับต่ำเกินไป เช่น 7-8 พันต่อเดือนหรือต่ำกว่านี้ จะทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีโอกาสเปลี่ยนอาชีพ หรือกลับไปเป็นพนักงานอย่างเก่า ที่ทำให้กิจการแฟรนไชส์อาหารไปได้ไปไกล
ขาดความสามารถบริหารจัดการ
         มีแฟรนไชส์อาหารหลายราย ขายแฟรนไชส์ได้รวดเร็ว บางทีเพียงปีเดียวขายได้มากถึง 200-300 สาขา ดูท่าจะประสบความสำเร็จสูง แต่จู่ๆ ก็ได้รับข่าวว่าแฟรนไชส์นั้นเลิกขายแฟรนไชส์ไปเสียแล้ว นั่นก็คือปัญหาที่ เจ้าของแฟรนไชส์หลายคนเมื่อโตเร็วเกินไป แต่ความเป็นเถ้าแก่ลูกทุ่ง ปรับตัวไม่ทันกับการบริหารงานระดับใหญ่จึงตาย ด้วยการขาดความสามารถในการบริหารจัดการของตัวเอง
ไม่รู้จักการสร้างแบรนด์
         เดี๋ยวนี้คนที่เลือกซื้อแฟรนไชส์ส่วนมากจะเลือกซื้อกิจการที่มีชื่อเสียง ถ้าเป็นธุรกิจที่โนแนม ไม่เคยได้ยินชื่อ จะขายยากสักหน่อย แต่ก็มีกิจการอาหารบางรายโชคดี มีอาหารอร่อยจริงสามารถทำเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ได้ แต่เมื่อขยายกิจการไปเรื่อยๆ ร้านที่ซื้อแฟรนไชส์ไป ยอดขายตกจนอยู่ไม่รอด ปัญหาเรื่องนี้ก็คือไม่ได้มีการทำตลาดอย่างต่อเนื่อง การสร้างแบรนด์ที่ตอกย้ำความภักดีของลูกค้า และสร้างฐานลูกค้าขาประจำ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนที่คิดจะทำธุรกิจแฟรนไชส์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักชื่อเสียง บวกคุณภาพสินค้าให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง หรือลูกค้าในกลุ่มของคุณ เป็นเรื่องที่คนขายแฟรนไชส์ที่ล้มเหลวไม่ได้ทำกัน

*ที่มา:นิตยสารโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์
รับสมัครงานด่วนหลายตำแหน่ง more...
 
26 ก.พ.-1 มี.ค. 52 พบกับงานซื้อ-ขายธุรกิจครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี 52 งานโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์ ครั้งที่ 13....
 
แบบสอบถามแฟรนไชส์ซี่ (รับสิทธิ์สมัครสมาชิกนิตยสารฯ ฟรี!! 1 ปี)
ถ้าไม่สามารถอ่านเอกสารได้
ดาวน์โหลดโปรแกรมที่นี่....
            
 
 
 

บริการงานเว็บไซค์

 

 
 
- ditto world
- music palace
- pompadour
- blink
- สังขยา กาแฟ
- big move
- โจเอลลี่ โมอีส
- จันทร์สว่าง