Revolutionary Press Agency : Online Journal and News Agency for Peace
สำนักสื่อปฏิวัติ  : วารสารข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
8 มิ.ย. 2554 กองหน้าประชาชนรุ่นใหม่ อนุสรณ์ สมอ่อน ตอบคำถามคาใจทำไมต้องปฏิวัติประชาธิปไตย? 
 
บทวิเคราะห์ :  ตั้งนครปัตตานีแก้ปัญหาความมั่นคงแห่งรัฐ
โดย นิรกาย นิรนาม 
สำนักสื่อปฏิวัติสันติ - Revolutionary Press Agency (RPA)
๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ :๐๑.๑๕ น.
 
 
 
 
                 
           ได้เกิดความสับสนกันขนานใหญ่ระหว่าง “การปกครองส่วนท้องถิ่นกับรัฐแห่งชาติ” คือเห็นผิดว่า “นครปัตตานีเป็นนครรัฐปัตตานี” เช่นเดียวกับเห็นผิดว่า “เผด็จการรัฐสภาคือประชาธิปไตย” หรือ “ลัทธิรัฐธรรมนูญคือลัทธิประชาธิปไตย” ทั้งหมดนี้สะท้อนภาพว่าปัญหาของประเทศไทยมี 2 ปัญหาที่ยังแก้ไม่ตกคือ ปัญหาความเห็น(ทิฎฐิหรือทฤษฎี) กับปัญหาประชาธิปไตย ดังการวิเคราะห์ปัญหาประเทศไทยที่ถูกต้องที่สุดว่า “ระบอบเลวคนดีทิฎฐิผิด” ดังนั้นจะต้องแก้ 2 ปัญหานี้ให้ตกจึงจะแก้ปัญหาประเทศไทยได้

           1. คำว่า “นครปัตตานี” คือเมืองปัตตานีไม่ใช่ประเทศหรือไม่ใช่รัฐ เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Administration) ซึ่งแบ่งออกเป็น สุขาภิบาล(ในอดีต) อบต. เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร เทศบาลมหานคร และเขตปกครองพิเศษ เช่น เมืองพัทยา เป็นต้น

             คือขยายหรือยกระดับ “เทศบาลเมืองปัตตานีขึ้นเป็นเทศบาลนครปัตตานี เพื่อพัฒนาขึ้นสู่มหานครปัตตานีอันเป็นรูปการปกครองท้องถิ่นรูปสูงสุด” นั่นเอง

            เหตุแห่งการแบ่งแยกดินแดน คือความไม่เจริญ ถ้าทำให้เกิดความเจริญขึ้นประชาชนมีความผาสุกก็ไม่มีใครผิด จะแบ่งแยกดินแดน “ความเจริญของชุมชนที่เกิดจากความเป็นเมืองคือการปกครองส่วนท้องถิ่น”
 
           การปกครองท้องถิ่นคือการปกครองตนเองของประชาชนในขอบเขตที่แน่นอนในชุมชนที่เจริญ บริหารกิจการต่างๆของท้องถิ่น เช่น กิจการสาธารณูปโภค (Municipality) ร.5 ทรงเรียกว่า “สุขาภิบาล” ร.7ทรงเปลี่ยนเป็น “เทศบาล”

            ร.5และร.7ทรงใช้การปกครองส่วนท้องถิ่นสอนประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนโดยเฉพาะการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย (Free Vote) ใช้ “อำนาจท้องถิ่น” (Local Power) ไม่ใช่อำนาจปกครอง (Administrative Power) ไม่ใช่อำนาจอธิปไตย (Sovereign Power)
 
           2. ต้องสร้างความเจริญให้แก่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อยุติขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ใช้ความไม่เจริญ ความไม่เป็นประชาธิปไตยเป็นเงื่อนไขแบ่งแยกดินแดน คือ ทำลายเงื่อนไขของสงครามแบ่งแยกดินแดน เช่นเดียวกับทำลายเงื่อนไขของสงครามกลางเมือง (Civil War) ของคอมมิวนิสต์ตามนโยบาย66/23
 
          ตามกฎเกณฑ์ของความเจริญของชุมชนที่เป็นเมืองเกิดขึ้นตามสภาวะเงื่อนไขการพัฒนาประเทศที่เป็นปรกติภาพ  เมื่อเกิดความเป็นเมืองหรือความเป็นชุมชนที่เจริญขึ้นแล้ว (หมดสิ้นความเป็นชนบทแล้ว) จึงทำการตั้งการปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นมาครอบลงไปบนชุมชนเมืองที่เจริญนั้น เพื่อบริหารกิจการสาธารณูปโภคของชุมชนเมืองนั้นโดยประชาชนเองต่อไป ตามกฎเกณฑ์ของการก่อตั้งการปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วโลก

           แต่พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มิใช่เป็นพื้นที่ปกติ แต่เป็นพื้นที่ที่มี “ปัญหาความมั่นคงแห่งรัฐ” ซึ่งเป็นปัญหาชนส่วนน้อยแห่งชาติ (National Minority) อันเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาชาติสมัยใหม่ที่ต้องแก้ปัญหานี้ให้ตกไปด้วยการสร้างประชาธิปไตย หรือการปฏิวัติประชาธิปไตยซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานที่สุดของชาติ
 
           ดังนั้น จะต้องแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีปัตตานีเป็นศูนย์กลางให้เจริญมีความเป็นชุมชนเมือง ที่สอดคล้องกับสภาวการณ์หรือเงื่อนไขของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ

            - ด้านความมั่นคงแห่งรัฐ (National Security)
            - ด้านวัฒนธรรมอิสลามและศาสนาอื่นๆ (Culture)
            - ด้านชนส่วนน้อนแห่งชาติ (National Minority)
            - ด้านประชาธิปไตย (Democracy)

            เหตุเพราะด้านความมั่นคงแห่งชาติเป็นด้านสำคัญที่สุดตามหลักนิติธรรมว่า “ความมั่นคงแห่งชาติเป็นกฎหมายสูงสุด” (Supreme Law) จึงต้องสร้างความเจริญให้แก่ 3 จังหวัดเป็นการเร่งด่วนที่สุด มิใช่ปล่อยให้เป็นไปตามปรกติภาพของการบริหารประเทศตามระบอบเก่าที่ดำรงอยู่ในขณะนี้ คือ

            - ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างนครและมหานครปัตตานี 3 จังหวัด
            - ด้านการปกครองระดับชาติ สร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยให้ประเทศ

            ทั้ง 2 ด้านนี้จะต้องทำควบคู่กันไป นั่นคือ การก่อตั้งนครหรือมหานครปัตตานีอย่างสัมพันธ์กับการสร้างประชาธิปไตยระดับประเทศคือ “ตั้งการปกครองเฉพาะกาล” (Provisional Government)

            3. การก่อตั้งนครปัตตานีเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นแบบพิเศษ คือไม่ปรกติเพราะเป็นการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ที่เป็นความสำคัญสูงสุดอันเป็นกฎหมายสูงสุด (Supreme Law) เช่น การตั้งการปกครองพิเศษ เมืองพัทยา
 
             “เมืองพัทยา” มีลักษณะพิเศษคือ “ปัญหาการท่องเที่ยว” จึงต้องจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับการท่องเที่ยว ต่างๆ

            “นครปัตตานี” มีลักษณะพิเศษคือ “ปัญหาความมั่นคง” หรือ ปัญหาความเจริญ ที่จะต้องแก้ให้ตก จึงต้องจัดตั้งการปกครองส่วนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับปัญหาดังกล่าว คือ มีกลไกหรือองค์กรบริหารที่จะสร้างความเจริญเพื่อให้เกิดความมั่นคงแห่งชาติ
   
           กลไกหรือองค์กรบริหารที่จะทำให้เกิดความเจริญ คือ “องค์กรประชาธิปไตย” ซึ่งในอีกด้านหนึ่งของเหรียญคือ องค์กรสร้างความมั่นคงแห่งชาตินั่นเอง ซึ่งมีทั้งด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ และด้านวัฒนธรรม นั่นคือ “นครปัตตานี” ซึ่งเป็นองค์กรประชาธิปไตยด้านท้องถิ่นที่ประชาชนปกครองตนเองในกิจการสาธารณูปโภคต่างๆ โดยปรับให้เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นพิเศษที่มีครบทั้ง 4 ด้านคือ ด้านความมั่นคง ด้านวัฒนธรรม  อิสลามและศาสนาอื่นๆ  ด้านเชื้อชาติและชนส่วนน้อย  และด้านประชาธิปไตย หรือ “4 in 1” (Four in One)

            4. มีบางคนบิดเบือน “นครปัตตานี” ไปเป็น “นครรัฐปัตตานี” นั้นเป็นคนละสิ่งอย่างสิ้นเชิงกับข้อเสนอ  ส่วนนครรัฐปัตตานีนั้นใครพูดก็เป็นของคนนั้น เป็นผู้เสนอ เป็นผู้รับผิดชอบ
 
             คำว่า “นครรัฐ” นั้น เป็นรัฐในยุคประวัติศาสตร์โบราณ (Ancient Age) ที่เรียกว่า “นครรัฐ” (City State) ต่อมาก็พัฒนามาเป็น “จักรวรรดิรัฐ”(Empire State) รัฐชนิดนี้ได้สูญสิ้นไปแล้วพร้อมกับยุคประวัติศาสตร์สมัยโบราณนับพันๆปี จะนำมาตั้งอีกไม่ได้แล้ว เพราะโลกได้พัฒนามาไกลแล้ว  พัฒนาผ่านรัฐของยุคประวัติศาสตร์สมัยกลาง (Middle Age) คือรัฐเจ้าครองนคร (Feudal State) พัฒนามาถึงรัฐของยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (Modern History) คือ “รัฐแห่งชาติ” หรือ “รัฐชาติ” หรือ “รัฐประชาชาติ” (Nation State)

            การเสนอเสนอนครปัตตานีซึ่งเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นแบบพิเศษที่อยู่ภายใต้รัฐแห่งชาติของไทยคือ รัฐชาติไทย (Thai Nation State) 
 
 
 
 
 

 

   
   
               
 

 
 
 
 
  
 
             

 
 
 
 
  
                            
  
  
  
  
  



Webboard is offline.