หน้าแรก | สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวนนทบุรี | ข่าวประชาสัมพันธ์ | ร่วมแสดงความคิดเห็น | ติดต่อสอบถาม | ผู้สนับสนุนสมาคมฯ 
สภาวัฒนธรรมภาคกลาง
สภาวัฒนธรรมจังหวัดนนทบุรี
รายการท่องเที่ยว
ในจังหวัดนนทบุรี
> ท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม
> ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ข้อมูลท่องเที่ยว
จังหวัดนนทบุรี
> รู้จักจังหวัดนนทบุรี
> เส้นทางท่องเที่ยวนนทบุรี
> วัดที่สำคัญในจังหวัดนนทบุรี
> แหล่งท่องเที่ยวนนทบุรี
> ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม
> ของฝากจากนนทบุรี
สมาคมส่งเสริม
การท่องเที่ยวนนทบุรี
> ประวัติสมาคม
> คณะกรรมการสมาคม
> การสมัครเข้าเป็นสมาชิกสมาคม
> ติดต่อกับสมาคม
> มโนสาเร่
::: เว็บไซต์ที่สำคัญ :::
> กระทรวงศึกษาธิการ
> กระทรวงมหาดไทย
> กระทรวงพาณิชย์
> ทบวงมหาวิทยาลัย
> กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
> การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
> กระทรวงวัฒนธรรม
> กรมประชาสัมพันธ์
> จังหวัดนนทบุรี
> เทศบาลนครนนทบุรี

 
ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม
 
ประเพณี คือ  สิ่งที่นิยมปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน   
ศิลปวัฒนธรรม  คือ  ลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงามทางด้านการช่าง, การฝีมือ
ขนบธรรมเนียม  คือ แบบอย่างที่นิยมทำกันมา  
จารีตประเพณี  คือ ประเพณีที่นิยมและปฏิบัติสืบกันมา 
 
ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น ได้รับอิทธิพลจากศาสนา   ภาคกลางจึงมีลักษณะเป็นพราหมณ์มากกว่าพุทธ  ภาคอิสานได้รับอิทธิพลจากลานช้าง หรืออิทธิพลวัฒนธรรมจีน   การปฏิบัติประเพณีต่างๆ มีตลอดปี  จึงเรียกว่า "ประเพณี 12 เดือน "ภาคอีสานเรียกว่า "ฮีด 12"  ฮีด แปลว่า จารีต   จึงพอสรุปได้ว่าตลอดปีชาวไทยมีประเพณีอะไรบ้าง
  • เดือนอ้าย  (เดือนหนึ่ง)  พระสงฆ์เข้าปริวาสกรรม
  • เดือนยี่  (เดือนสอง)  หลังเก็บเกียวข้าว  ชาวบ้านจะทำบุญคุณข้าว  หรือบุญคูณลาน
  • เดือนสาม  ทำบุญวันมาฆบูชา   ทางอีสานทำบุญข้าวจี่   (ข้าวจี่ คือ เอาข้าวเหนียวที่นึ่งแล้วมาปั้นใส่น้ำอ้อยนำไปย่างไฟจนกรอบแล้วชุบด้วยไข่ นำไปถวายพระสงฆ์)
  • เดือนสี่  ทำบุญเทศน์มหาชาติ  (เทศนาเรื่องพระเวสสันดรชาดก)   อีสานเรียกว่า บุญผะเวส
  • เดือนห้า  สงกรานต์  หรือ วันขึ้นปีใหม่สมัยโบราณ
  • เดือนหก  ทำบุญวันวิสาขบูชา    ภาคอีสาน จะทำบุญบั้งไฟด้วย 
  • เดือนเจ็ด  ทำบุญบวงสรวงบรรพบุรุษ  ศาลหลักเมือง 
  • เดือนแปด   การอุปสมบท   วันเข้าพรรษา
  • เดือนเก้า   ทำบุญถึงผู้มีพระคุณ  ผีบ้านผีเรือน
  • เดือนสิบ   ทำบุญเดือนสิบ  ทำสลากภัตรถวายพระสงฆ์
  • เดือนสิบเอ็ด  วันออกพรรษา  ตักบาตรเทโว
  • เดือนสิบสอง   ทำบุญกฐิน   และลอยกระทง
ประเพณีที่สำคัญ
สงกรานต์
หมายถึง การย้ายที่ หรือ เคลื่อนที่  กล่าวคือดวงอาทิตย์จากราศีมีน ยกเข้าสู่ราศีเมษ  กำหนดให้เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย  ตรงกับวันที่ 13  เมษายนของปี  ปัจจุบันวันขึ้นปีใหม่ได้เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ของปีตามสากล  ซึ่งเปลี่ยนในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี  ตั้งแต่วันที่ 1  มกราคม  2484    แต่วันสงกรานต์ก็มีทำกันสืบต่อมา    คือวันที่ 13,14,15 เมษายน และเป็นวันหยุดราชการด้วย
 
ประวัติความเป็นมามีอยู่อย่างพิสดารเกี่ยวกับนางสงกรานต์ ซึ่งเป็นลูกสาวของท้าวมหาพรหม มีชื่อเรียกเปลี่ยนไปทุกปี  ดังนี้                       
  1. วันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันอาทืตย์ นางสงกรานต์ชื่อ  ทุงษะ ทัดดอกทับทิม เครื่องประดัยปัทมราด  ภักษาหารผลมะดื่อ อาวุธขวาจักร ซ้ายสังข์  พาหนะครุฑ
  2. วันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันจันทร์ นางสงกรานต์ชื่อ โคราค ทัดดอกปีบ  เครื่องประดัยมุกดา  ภักษาหารน้ำมัน  อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายไม้เท้า  พาหนะเสือ
  3. วันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันอังคาร  นางสงกรานต์ชื่อ รากษส ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา ภักษาหารโลหิต อาวุธขวาตรีศูล ซ้ายธนู  พาหนะสุกร
  4. วันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันพุธ นางสงกรานต์ชื่อ  มัณฑา  ทัดดอกจำปา  เครื่องประดับไพฑูรย์  ภักษาหารนมเนย  อาวุธขวาเข็ม ซ้ายไม้เท้า  พาหนะฬา
  5. วันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันพฤหัสบดี นางสงกรานต์ชื่อ  กิริณี  ทัดดอกจำปา เครื่องประดับมรกต  ภักษาหารถั่วงา  อาวุธขวาขอ ซ้ายปืน พาหนะช้าง
  6. วันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันศุกร์ นางสงกรานต์ชื่อ กิมิทา  ทัดดอกจงกลณี เครื่องประดับบุษราคัม  ภักษาหารกล้วยน้ำ อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายพิณ พาหนะกระบือ
  7. วันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันเสาร์ นางสงกรานต์ชื่อ  มโหทร  ทัดดอกสามหาว ดครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย อาวุธขวาจักร ซ้ายตรีศูล  พาหนะนกยูง
        สงกรานต์แบ่งเป็น 3 วีน
            วันที่ 13 เมษายน   เป็นวันมหาสงกรานต์  ราชการกำหนดเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ
            วันที่ 14 เมษายน  เป็นวันเนา  ราชการกำหนดให้เป็นวันครอบครัว
            วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก 
        กิจกรรมในวนสงกรานต์   ทำบุญเลี้ยงพระที่วัด  สรงน้ำพระพุทธรูป  รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุเพื่อขอพร   ขนทรายเข้าวัด  การเล่นสบ้า(ชาวรามัญ)ปล่อยนก  ปล่อยปลา   ทำสิ่งที่ดีงาม ที่เป็นมงคล
        ปัจจุบันการเล่นน้ำสงกรานต์ ได้เล่นที่ผิดเพี้ยนมาก  ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายของสงกรานต์  เช่น  การเล่นสงกรานต์ที่ถนนข้างสาร  กทม. เป็นการเล่นสงกรานต์ที่ไม่ถูกต้อง และแพร่หลายออกไปตามหัวเมืองต่างๆ  ชาวต่างประเทศก็เล่นด้วยเพราะเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง  ควรมีมาตรการที่ห้ามเพราะจะทำให้ถือเป็นประเพณีสืบไป  
         การเล่นน้ำสงกรานต์  ใช้น้ำที่สะอาด ใส่น้ำอบน้ำหอม  รดน้ำเฉพาะผู้ที่รู้จักคุ้นเคย  ไม่เล่นแป้ง   ไม่ฉีดน้ำ หรือใช้น้ำที่ผสมสี  น้ำสกปรก เด็ดขาด  การเล่นน้ำสงกรานต์เพื่อความสนุกสนาน  สร้างมิตรไมตรี  ต้องสุภาพเรียบร้อย
 
        แก่นของสงกรานต์
        ฉลองสงกรานต์อย่าลืมแก่นสารเชิงจริยธรรม  สามารถจำแนกและสำแดงออกผ่านพิธีกรรมด้านจริยธรรม  6 ประการ
        จริยธรรมข้อที่ 1 ตระหนักคุณประโยชน์แห่งพระศาสนา   และหน้าที่เกื้อกูลกันระหว่างวัดกับชุมชน  เช่น  ช่วยกันทำความสะอาดวัด  การทำบุญตักบาตร  การสรงน้ำพระพุทธรูป  ขนทรายเข้าวัด  ก่อเจดีย์ทรายและตกแต่งวัดให้สวยงาม
        จริยธรรมข้อที่ 2 ความสำนึกในพระคุณ (บุญคุณ)  เช่น พิธีสรงน้ำพระสงฆ์  การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เพื่อแสดงความเคารพและขอพร
        จริยธรรมข้อที่ 3 ความกตัญญูต่อบรรพชน  พิธีทำบุญอุทิศแด่บรรพชน ผู้ล่วงลับ  การบังสุกุลอัฐิ  การไหว้ผีปู่ย่าตายาย
           จริยธรรมข้อที่ 4  ความสำนึกต่อครอบครัว ปฏิบัติต่อทุกคนในครอบครัวอย่างเอื้ออาทร  ทำความสะอาดบ้านเรือน
           จริยธรรมข้อที่  5 การให้สิ่งดี ๆ และทำความดีต่อผู้อื่น  เช่น ทำขนมและอาหารแจกจ่ายกัน  งานเลี้ยงสังสรรค์
        จริยธรรมข้อที่ 6  ความสมานสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันในชุมชน  การละเล่นกีฬาพื้นบ้าน  การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันในชุมชน
 
        รดน้ำดำหัว
        การรดน้ำดำหัว  เป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสงกรานต์  คือการที่ผู้น้อยไปเคารพผู้ใหญ่ เพื่อขอพร  ข้าราชการผู้ใต้บังคับบัญชารวมกันไปรดน้ำขอพรผู้บังคับบัญชา   เป็นกุศโลบายหนึ่งที่ทำให้เกิดความรักสามัคคี  ผู้น้อยได้ถือโอกาสขอโทษขออภัยในสิ่งตนเองปฎิบัติไม่เหมาะสม  ผู้บังคับบัญชาก็ถือโอกาสให้อภัย    สิ่งที่นำไปรดน้ำดำหัว   ขันเงินใส่น้ำ  ใส่ฝักส้มป่อย อบน้ำหอมลอยด้วยดอกมะลิ  พวงมาลัยดอกมะลิ  หัวหน้าคณะนำไปกล่าวถึงวัตถุประสงค์และมอบพวงมาลัยดอกมะลิให้ผู้ใหญ่ หรือผู้บังคับบัญชา  รดน้ำที่มือ   ผู้ใหญ่หรือผู้บังคับบัญชาก็จะให้พร  ผู้ที่มาร่วมพิธีก็จะเข้าไปรดน้ำที่มือทีละคนจนครบ   บางครั้งผู้ใหญ่อาจจะมีของที่ระลึกมอบให้เป็นการตอบแทน   หรือผู้น้อยอาจจะนำของขวัญไปมอบให้ด้วย  ถ้าเป็นครอบครัวลูกๆ หลานๆ จะนำเสื้อผ้าใหม่ ขนม ผลไม้ ไปมอบให้ผู้ใหญ่ (พ่อ แม่ ปู้ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า ฯลฯ) ก่อนรดน้ำดำหัว  แต่ก่อนจะทำเฉพาะภาคเหนือ ปัจจุบันจะทำกันทุกภาค  เพราะถือเป็นสิ่งที่ดี เป็นมงคล
            สงกรานต์เกาะเกร็ด   จะจัดขึ้นในวันที่ 13,14,15 เมษายน ของทุกปี ก่อนถึงวันสงกรานต์ ชาวบ้านจะกวนกะละแม  ข้าวเหนีบวแดง  และข้าวเหนียวแก้ว   ขนมจีน  ข้าวแช่  จะมีพิธีกรรมหลายอย่างทั้ง 3 วัน การเล่นสะบ้า  ปล่อยนก ปล่อยปลา  แห่น้ำหวาน  รดน้ำดำหัว   ชาวมอญเกาะเกร็ดจะประชาสัมพันธ์ก่อนจัดงานทุกปี
 
             ประเพณีทั่วๆไป  เช่น  การเกิด  การตาย  การแต่งงาน  การอุปสมบท  การลอยกระทง  ฯลฯ  คงมีคล้ายๆ กัน จะผิดแปลกไปบ้างขึ้นอยู่ละท้องถิ่น
 
            งานหล่อเทียนและแห่เทียนพรรษาทางน้ำ
            สภาวัฒนธรรมอำเภอบางกรวยและเทศบาลเมืองบางกรวยร่วมกันจัดฟื้นประเพณีหล่อเทียนและแห่เทียนพรรษทางน้ำก่อนเทศกาลวันเข้าพรรษาของทุกปี   เพราะประชาชนอาศัยอยู่ริมฝั่งคลองบางกอกน้อย  คลองบางกรวย  และคลองต่างๆ  จึงจัดเรือล่องไปตามลำคลองเพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกันหล่อเทียนและทำบุญ  พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะแห่เทียนพรรษาจากวัดชลอ ไปถึงวัดโบสถ์บน เพื่อถวายเทียนพรรษาแก่วัดต่างๆ ในอำเภอบางกรวย
 
            งานวัฒนธรรมสองฝั่งเจ้าพระยาใต้ฟ้านนท์
                สภาวัฒนธรรมจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดนนทบุรี องต์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จัดงบประมาณสนับสนุนในการจัดงาน ได้จัดงานนี้ตั้งแต่ปี 2546  ระหว่างวันที่ 31 มีนาคมถึงวันที่ 4 เมษายน ของทุกปี  ที่บริเวณวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารและอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก   วันที่ 2 เมษายน  เป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย ได้จัดกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  จำหน่ายสินค้าเกษตร  สินค้า OTOP การแสดงศิลปวัฒนธรรม  การเล่นกีฬาพื้นบ้าน   การแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน
 
            ประเพณีตักบาตรนางน้ำ
            ชาวเกาะเกร็ดจะร่วมใจกันทำพิธีตักบาตรทางน้ำ  ระหว่างวันขิ้น 14 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำเดือน 11  (เทศกาลวันออกพรรษา) 
 
           ประเพณีตักบาตรพระ 108
            ชาวบ้านริมคลองบางกอกน้อย  ย่านวัดไทยเจริญ   วัดบางไกรนอก  วัดบางไกรใน   วัดอุทยาน  อำเภอบางกรวย  จ.นนทบุรี จะร่วมกันทำบุญตักบาตรพระ  108  ในวันแรม 8 ค่ำ  เดือน 11 หลังวันออกพรรษา 7 วัน    
 
            การจุดลูกหนู
            ลูกหนู เป็นดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง  ซึ่งชาวมอญใช้จุดศพพระสงฆ์ การจุดลูกหนูในการปลงศพพระยังเป็นที่นิยมในหมู่ชุมชนชาวมอญดั้งเดิม  เนื่องจากชาวมอญเคารพนับถือพระภิกษุสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏฺบัติชอบ  การจัดพิธีอันเกี่ยวกับพระสงฆ์จะต้องกระทำด้วยความเคารพ  มักไม่นิยมจุดดอกไม้จันทน์เผาศพพระภิกษุสงฆ์ด้วยมือตนเองซึ่งถือว่าไม่สมควร จึงใช้ลูกหนูจุดศพ
             การใช้จุดลูกหนูจุดศพ  ชาวมอญใช้เฉพาะการปลงศพพระเท่านั้น ไม่นิยมใช้จุดศพฆราวาส
            การปลงศพพระสงฆ์  จะไม่เผาเมรุร่วมกับฆราวาส  จะต้องทำเมรุสำหรับเผาศพพระเฉพาะ  อาจจะทำเป็นปะรำ 4 เสา จนถึงปราสาท 1 ถึง 9 ยอด และนิยมเผาไปพร้อมกับศพ
           
            
            
 
 
บริหารงานโดย สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวนนทบุรี