Revolutionary Press Agency : Online Journal and News Agency for Peace
สำนักสื่อปฏิวัติ  : วารสารข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
8 มิ.ย. 2554 กองหน้าประชาชนรุ่นใหม่ อนุสรณ์ สมอ่อน ตอบคำถามคาใจทำไมต้องปฏิวัติประชาธิปไตย? 
 
พระพุทธศาสนาแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมและการเมือง
ดร.บี อาร์ อัมเบดการ์
ถอดความโดย
พระดร.สมชัย กุสลจิตฺโต พระราชปัญญาเมธี
๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ :๒๓.๓๓ น.
บทที่ 3
สารถึงชาวพุทธ
(Message to the Buddhists)
             
 ( ต่อจากตอนที่แล้ว)
 
 
   
                  วิธีการปฏิบัติธรรม  
 
     
                  ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ดร.อัมเบดการ์ ได้พิมพ์หนังสือเล่มเล็กๆเล่มหนึ่ง ชื่อ “พุทธปูชาปาฐะ-บทพุทธบูชาและบทพุทธมนต์” ตามแนวแห่งพระบาลีแบบเก่าเป็นหลัก  เพื่อจะแนะนำหนังสือนี้ ท่านได้พูดไว้ในคำนำว่า 

                 “ผลสืบเนื่องจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็คือ ประชาชนทั่วไปเกิดความต้องการจะศึกษาหาความรู้พระพุทธศาสนา วรรณคดี ทางพระพุทธศาสนา และหาสถานที่ที่จะสามารถจัดหามาให้ได้ศึกษาหาความรู้กัน  เกี่ยวกับเรื่องนี้ ปรากฏว่ามีความต้องการเรียนรู้อย่างสูงของหมู่ประชาชนในอินเดีย

                 ประชาชนบางวรรณะดูเหมือนจะก้าวเกินขอบเขตความอยากรู้อยากเห็นนี้ไป พวกเขาจะกลายเป็นคนบ้าได้  หลังจากรู้วิธีการบูชาในพระพุทธศาสนามากกว่าหลักคำสอน พวกเขาต้องการทราบวรรณกรรมเกี่ยวกับการบูชาในพระพุทธศาสนา  เนื่องจากความไม่ปกติทางร่างกายของตนเอง ข้าพเจ้าจึงไม่อาจสนองตอบความต้องการของพวกเขาได้จนถึงปัจจุบัน

                  ในประเทศนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับพุทธปรัชญาแล้ว การบูชาในพระพุทธศาสนาเกือบจะเรียกว่าสูญไปหมดแล้ว ดังนั้น ระเบียบพิธีการบูชาในพระพุทธศาสนาและการสวดสาธยายพระสูตร จึงหาไม่พบในที่อื่น คงจะมีแต่ในประเทศที่พระพุทธศาสนาดำรงอยู่เท่านั้น

                  เมื่อคราวที่ข้าพเจ้าเดินทางไปประเทศศรีลังกาในปีพ.ศ.๒๕๙๓ ข้าพเจ้าได้ทุ่มเทให้เรื่องนี้มากและได้รวบรวมบทสวดต่างๆไว้ ข้าพเจ้าได้ขอร้องให้เพื่อนข้าพเจ้า คือดร.เค.เอน.ชยติเลเก สวดให้ฟังและบันทึกเสียงไว้ เมื่อกลับมาอินเดีย ข้าพเจ้าอาศัยความช่วยเหลือจากภิกษุบางรูป จึงได้จัดทำเพิ่มเติมต่อจากนั้น จะไม่มีใครโต้แย้งเลยที่จะกล่าวว่า ทุกวันนี้บทมนตร์สำหรับสวดสาธยายเกือบทั้งหมดได้รวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ เพื่อช่วยให้ประชาชนในรัฐมหาราษฎร์เข้าใจความหมายของบทสวดเหล่านี้ง่ายขึ้น  ข้าพเจ้าจึงได้แปลพระบาลีเป็นภาษามาระฐี แล้วพิมพ์ไว้ควบคู่กันคนละหน้า

                   ต่อไปนี้เป็นเนื้อหาของหนังสือสวดมนต์เล่มเล็กๆนี้

๑) ติสรณปาฐะ (พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ)
๒) เบญจศีล (ศีล๕)
๓) อภิวาทพระพุทธเจ้า
๔) นมัสการพระธรรม
๕) นอบน้อมพระสงฆ์
๖) คำถวาย (๑) ดอกไม้ (๒) การบูร ฯลฯ (๓) น้ำหอม (๔) คำบูชาพระเจดีย์
๗) สัพพุชคาถา
๘) ธัมมปาสันคาถา
๙) รัตนสูตร
 
 
             น่าสังเกตว่า ดร.อัมเบดการ์ได้รวมเอาธัมมปาลันคาถา(ธรรม-วินัย) ไว้ในหนังสือเล่มเล็กๆนี้  แนะนำให้สวดสาธยายและนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันด้วย ธัมมปาลันคาถาประกอบด้วยคาถาธัมมบทที่สำคัญ ๓ คาถา ซึ่งมีเนื้อหาเน้นความจำเป็นที่ต้องรักษาจิตวิญญาณและศีลธรรมไว้
 
              พระคาถาทั้ง ๓ มีดังนี้
 
๑.  สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง       กุสะลัสสูปะสัมปะทา
    สะจิตตะปะริโยทะปะนัง           เอตัง พุทธานะสาสะนัง

    Any evil, to cultivate good,
    To purify one’s thought,
    This is the teaching of the Buddhas.
 
    การไม่ทำความชั่วทั้งปวง
    การทำความดีให้พร้อมมูล
    การชำระจิตใจของตนให้ผ่องแผ้ว
    นี่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
 
๒. อุตติฏเฐ นัปปะมัชเชยยะ         ธัมมัง สุจะริตัง จะเร
    ธัมมะจารี สุขัง เสติ               อิมัสมิง โลเก ปะรัมติหิ จะ

    Arised Be not negligent ! Lead righteous life,
    The righteous lives happily in this world and other.
 
    บุคคลพึงลุกขึ้น (ขยัน) ทำงานไม่ประมาท
    ควรประพฤติธรรมให้สุจริต
    ผู้ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ
    ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
 
๓.  นะ ตาวะตา ธัมโมธะโร          ยาวะตา พะหุภาสะติ
     โย จะ อัปปังปิ สุตวา            ธัมมัง กาเยนะ ปัสสะติ
     สะเว ธัมมาธะโร โหติ           โย ธัมมัง นัปปะมัชชะติ

     He is not versed in the Dhamma merely,
     Because he speaks much,
     He who hears little (of the teaching),
     but see the truth mentally,
     and observes it well indeed,
     He is called ‘versed in the Dhamma’.
 
     บุคคลมิใช่เป็นผู้ทรงธรรม เพียงเพราะพูด(ธรรม) มาก
     ส่วนผู้ใดฟังธรรมเพียงเล็กน้อยแล้วมองเห็นธรรมด้วยใจ
     ผู้ไม่ประมาทพระธรรมนั้นแล ชื่อว่า “ผู้ทรงธรรม” แท้
 
 

   
   
               ดร.อัมเบดการ์ได้พูดต่อไปอีกว่า
              
               “  เป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนที่จะต้องไปวัดฟังธรรมทุกๆวันอาทิตย์ ถ้าละเลยหน้าที่นี้ ชาวพุทธใหม่ก็ไม่อาจเข้าใจพระพุทธศาสนาได้ ”
           
               " ชาวพุทธไม่ควรไปวัดฮินดู แต่ประตูของพุทธวิหารจะต้องเปิดต้อนรับทุกคน ไม่ควรห้ามใครๆมิให้เข้า ถ้าชาวพุทธใหม่ไปวัดฮินดูก็เท่ากับว่า  พวกเขาฝ่าฝืนหลักธรรมในศาสนาตนและขณะเดียวกันก็ดูหมิ่นวัดฮินดูด้วย  พวกเราได้สวดในเวลาทำวัตรทุกๆวันมิใช่หรือ ? ว่า “นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง” หมายความว่า ที่พึ่งอย่างอื่นของเราไม่มี พระพุทธเจ้าคือที่พึ่งที่ประเสริฐของเรา  เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกท่านจะมัวห่วงใยวัดฮินดูและพระเจ้าฮินดูอยู่ทำไมอีกเล่า ?”
 
 
 
  
 
               (อ่านต่อตอนหน้า)

 
 
 
 
  
                            
  
  
  
  (อ่านความเดิมตอนที่แล้ว)
  
  
  



Webboard is offline.