Revolutionary Press Agency : Online Journal and News Agency for Peace
สำนักสื่อปฏิวัติ  : วารสารข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
8 มิ.ย. 2554 กองหน้าประชาชนรุ่นใหม่ อนุสรณ์ สมอ่อน ตอบคำถามคาใจทำไมต้องปฏิวัติประชาธิปไตย? 
 
พระพุทธศาสนาแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมและการเมือง
ดร.บี อาร์ อัมเบดการ์
ถอดความโดย
พระดร.สมชัย กุสลจิตฺโต พระราชปัญญาเมธี
๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ :๒๓.๓๓ น.
บทที่3
สารถึงชาวพุทธ
(Message to the Buddhists)
             
 ( ต่อจากตอนที่แล้ว)
 
 
   
                 เหตุผลในการตั้งสังคมสงฆ์  
 
     
                เมื่อจะเมื่อมองในแง่ความสัมพันธ์กับโลก สันยาสีนักบวชของฮินดูกับภิกษุในพระพุทธศาสนาย่อมแตกต่างกัน  สันยาสีนักบวชของฮินดูกับภิกษุในพระพุทธศาสนาย่อมแตกต่างกัน สันยาสีของฮินดูไม่มีความเกี่ยวข้องกับโลกเลย  มีสภาพเหมือนคนตายแล้ว ส่วนภิกษุสัมพันธ์กับโลกทุกแง่มุม เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงเกิดปัญหาตามมาว่า พระพุทธเจ้าทรงก่อตั้งคณะสงฆ์ขึ้นมาด้วยพระประสงค์อันใด ? จำเป็นนักหรือที่จะสร้างสังคมสงฆ์แยกออกมาต่างหาก ? 
 
               พระประสงค์ข้อหนึ่งก็คือ เพื่อให้มีสังคมของคณะบุคคลที่ดำรงชีวิตอยู่ตามอุดมคติ   ซึ่งรวมเป็นรูปธรรมตามหลักการของพระพุทธศาสนาและรับใช้ในฐานะต้นแบบแก่
ฆราวาส พระพุทธองค์ทรงทราบดีว่า เป็นไปไม่ได้ที่ชาวบ้านทั่วไปจะทราบถึงอุดมคติของพระพุทธศาสนาอย่างชัดเจน  และพระองค์ทรงประสงค์จะนำสังคมสงฆ์ซึ่งดำเนินชีวิตตามอุดมคติของพระพุทธศาสนาวางไว้ให้เห็นเป็นแบบอย่างตรงหน้าของชาวบ้านสามัญทั่วไป นี่คือเหตุผลของการก่อตั้งคณะสงฆ์ขึ้นมาและควบคุมด้วยหลักพระวินัย
        
               ยังมีพระประสงค์ข้ออื่นอยู่ในพระทัยของพระองค์อีก  เมื่อทรงคิดตั้งคณะสงฆ์ขึ้นมาแล้ว  คือพระพุทธองค์หวังให้มีคณะปัญญาชนที่สามารถให้คำแนะนำแก่ฆราวาส
อย่างปราศจากความลำเอียงและจริงจัง  นี่คือเหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้ภิกษุสงฆ์มีทรัพย์สมบัติส่วนตัว  ความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน นับเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดต่อการคิดอย่างอิสระและต่อการนำความคิดนั้นไปใช้อย่างอิสระด้วย
          
               พระประสงค์ประการสุดท้าย ที่พระพุทธองค์ทรงก่อตั้งสังคมสงฆ์ก็คือ การสร้างสังคมใหม่ที่สมาชิกทุกคนมีอิสระอย่างเต็มที่ในการให้การบริการประชาชน นี่คือเหตุผลที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุแต่งงาน (มีครอบครัว)
           

               พระดีที่ต้องการมีจำนวนน้อย
 
 
               ภิกษุสงฆ์ปัจจุบันดำรงชีวิตสอดคล้องตามอุดมคตินี้หรือไม่ ? ขอตอบย้ำเชิงปฏิเสธว่า “ไม่เลย” ภิกษุในปัจจุบันไม่ได้แนะนำสั่งสอนและสงเคราะห์ประชาชนเลย
  
              ดังนั้น ภิกษุในเงื่อนไขปัจจุบันนี้ จึงไม่อาจใช้ประโยชน์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ ในสถานะแรก พวกเรามีภิกษุสงฆ์จำนวนมาก (แต่) ส่วนใหญ่เป็นเพียงสาธุ (นักบวชในศาสนาเชน-ฮินดู) และสันยาสี ซึ่งใช้เวลาให้หมดไปวันๆในการบำเพ็ญสมาธิ หรือไม่ก็อยู่เฉยๆ (ไม่ได้ทำอะไร) ท่านเหล่านั้นไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนและยังไม่บริการประชาชนอีกด้วย

             เมื่อความคิดเรื่องการสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ผู้ทุกข์ยากผุดขึ้นในใจ ทุกคนก็จะพากันคิดถึงแต่สำนักนักบวชฮินดู ชื่อรามกฤษณะมิชชั่น ไม่มีใครคิดถึงภิกษุสงฆ์เลย  เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่า ? พระสงฆ์หรือนักบวชฮินดูคณะรามกฤษณะมิชชั่น  ที่คิดว่า การบริการประชาชนผู้ทุกข์ยากเป็นหน้าที่ที่แท้จริงของพวกตน  เราไม่อาจมีความสงสัยเกี่ยวกับคำตอบนี้อีกต่อไป  ใช่แล้ว ! คณะสงฆ์ได้กลายเป็นกองทัพแห่งความเกียจคร้านมหึมาไปเสียแล้ว
             พวกเราต้องการภิกษุจำนวนไม่มากนัก(แต่) พวกเราต้องการภิกษุที่ได้รับการศึกษาดี ภิกษุสงฆ์ต้องยืมวิธีการบางอย่างของพวกบาทหลวงคริสต์มาใช้  โดยเฉพาะของพวกคณะเยซูอิต  ศาสนาคริสต์ได้แพร่ไปทั่วทวีปเอเชียผ่านการบริการสังคม คือการศึกษาและรักษาพยาบาล ข้อนี้เป็นไปได้ เพราะบาทหลวงเหล่านั้นไม่เพียงแต่เชี่ยวชาญในเรื่องศาสนาของตนเท่านั้น หากแต่รอบรู้ในศิลปะและวิทยาศาสตร์อีกด้วย อันที่จริง นี่คืออุดมคติของภิกษุทั้งหลายในสมัยก่อนดังเช่น มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในอินเดีย สมัยโน้น ไม่ว่านาลันทาหรือตักศิลา ล้วนแต่บริหารและจัดการศึกษาโดยภิกษุล้วนๆ แน่นอน! ท่านเหล่านั้นจะต้องเป็นผู้คงแก่เรียนและทราบดีว่าการบริการสังคมเป็นสาระสำคัญในการเผยแผ่พุทธธรรม  ภิกษุในยุคปัจจุบันเห็นทีจะต้องกลับไปหาอุดมคติดั้งเดิมของตนครงนี้ แต่พระสงฆ์ตามที่รวมกันเข้าเป็นหมู่คณะในปัจจุบันยังไม่สามารถให้บริการชาวบ้านได้เพราะเหตุนั้น พวกท่านจึงไม่อาจดึงดูดประชาชนให้มาศรัทธาเลื่อมใสตนเองได้
 
 
              ฤกษ์งามยามดีในการเผยแผ่พระธรรม
 
             ถ้าไม่มีกิจการพระธรรมทูต ก็ยากที่จะทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาออกไปได้ อุปมาดั่งการศึกษาของชาติ พวกเราต้องเป็นฝ่ายจัดให้เยาวชนของเราฉันใด พระพุทธศาสนาก็ฉันนั้น จำต้องมีการประกาศเผยแผ่ให้กว้างขวางอกไป ดังนั้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่มีบุคลากรและทุนดำเนินงาน ใครเล่าจะจัดหาสิ่งเหล่านี้ให้พวกเรา ? พูดกันให้ชัดๆก็ว่า ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาซึ่งมีสถานภาพมั่นคงทั้งหลาย ควรจะจัดหาทุนรอนและบุคลากรให้เพื่อการนี้อย่างน้อยก็ในระยะเริ่มแรก  ประเทศพุทธเหล่านี้จะทำแลหรือ? เพราะดูเหมือนว่าชาวพุทธในประเทศเหล่านั้นไม่กระตือรือร้นในการเผยแผ่พระพุทธศาสนากันนักเลย

              อีกประการหนึ่ง เวลานี้ดูเหมือนจะเหมาะที่สุดที่จะทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา  เคยมีเวลาที่ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของมรดกของตนที่ทายาทจะต้องรับสืบทอดไป ณกาลครั้งหนึ่งคนหนุ่มและสาวรับมรดกคือศาสนาของพ่อแม่ตนไปพร้อมกับทรัพย์สมบัติอื่นๆ  พวกเขาไม่เคยตั้งปัญหาตรวจสอบคุณค่าและความดีงามของศาสนาเลย ทายาทบางคนอาจถามตัวเองว่า ทรัพย์สมบัติที่พ่อแม่ทิ้งไว้ให้มีค่าควรรับหรือไม่ ? แต่ไม่มีใครถามเลยว่า ศาสนาเดิมของพ่อแม่ตนควรรับนับถือหรือไม่ ? แต่ไม่มีใครถามเลยว่า ศาสนาเดิมของพ่อแม่ตนควรนับถือต่อไปดีหรือไม่ ? ยุคสมัยได้เปลี่ยนไปแล้ว ผู้คนจำนวนมากทั่วโลกได้แสดงความกล้าหาญในเรื่องมรดก คือศาสนาของตนออกมาอย่างไม่เคยเกิดมาก่อน หลายคนที่มีความกล้าหาญเช่นนั้น เป็นผลมาจากอิทธิพลการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งถึงการสรุปเอาง่ายๆว่า ศาสนาเป็นเรื่องเหลวไหล  ควรเลิกนับถือได้แล้ว ยังมีคนกลุ่มอื่นอีก เพราะอิทธิพลคำสอนของลัทธิมาร์กซ์ก็มาถึง การสรุปง่ายๆทำนองเดียวกันว่า ศาสนาเป็นยาเสพติด (Religion is opium) ซึ่งกล่อมคนยากจนให้ยอมจำนนต่อการครอบงำของคนร่ำรวย จึงควรโยนมันทิ้งเสีย กรณีนี้จะเป็นอย่างไรก็ตามแต่ความจริงคนเส้นคงวาว่า ประชาชนได้พัฒนาจิตใจใฝ่รู้ในเรื่องการนับถือศาสนามากขึ้น  และมีปัญหาตามมาว่า ศาสนามีคุณค่าควรแก่การนับถือ ควรแก่การปฏิบัติตามทั้งหมดจริงหรือ ? ถ้าตอบว่า ใช่ ! ก็จะมีปัญหาต่อไปอีกว่า แล้วศาสนาใดเล่า ?
 
             นี่คือปัญหาที่โดดเด่นที่สุดอยู่ในใจของบุคคลผู้กล้าคิดเรื่องนี้ คงถึงเวลาแล้ว สิ่งที่ต้องการมากที่สุดในขณะนี้ คือความตั้งใจจริง ถ้าประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งหลายจะพัฒนาความตั้งใจจริงในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา งานเผยแผ่ดังกล่าวจะไม่ยากเลย พวกเราต้องตระหนักว่า งานเผยแผ่ดังกล่าวจะไม่ยากเลย พวกเราต้องตระหนักว่า หน้าที่ของชาวพุทธนั้นมิใช่เพียงแต่เป็นชาวพุทธที่ดีก็พอแล้ว  หน้าที่ของพวกเขาจริงๆ ก็คือการเผยแผ่พระพุทธศาสนาประเทศพุทธเหล่านั้นต้องสร้างความเชื่อมั่นว่าการเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็คือ การช่วยให้มวลมนุษย์รอดพ้นจากทุกข์

 
 
 
 
  
 
          

 
 
 
 
  
                            
  
  
  
  (อ่านความเดิมตอนที่แล้ว)
  
  
  



Webboard is offline.