Revolutionary Press Agency : Online Journal and News Agency for Peace
สำนักสื่อปฏิวัติ  : วารสารข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
8 มิ.ย. 2554 กองหน้าประชาชนรุ่นใหม่ อนุสรณ์ สมอ่อน ตอบคำถามคาใจทำไมต้องปฏิวัติประชาธิปไตย? 
 
"เปิดตำนานคนชุดขาว"ธรรมยาตราทวงคืนเขาพระวิหาร-มณฑลบูรพาสู่...ปัญหาอธิปไตยดินแดน
เขียนโดย ยอดมณี วัชรธรรม
สำนักสื่อปฏิวัติ - Revolutionary Press Agency (RPA)
โพส 26 ก.ย.2552
บทที่ ๒
“การเคลื่อนของพลังสันติ..... มุ่งหน้าจากจังหวัดศรีสะเกษสู่กันทรลักษณ์”
             
 
 
   
                
                 เช้าของวันที่ 18 มิถุนายน ขบวนธรรมยาตราได้เริ่มต้นตั้งแถว “คนชุดขาว” ที่หน้าศาลหลักเมือง ในอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ  ได้มีการอ่านแถลงการณ์ต่อหน้าศาลหลักเมืองโดยอ.สมาน ศรีงามมีความว่า
 
 
 “แถลงการณ์
ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ
ขบวนการศาสนาเพื่อมนุษยชาติ และสหธรรมมิก
เรื่อง ธรรมยาตรากอบกู้รักษาผืนแผ่นดินไทยในกรณีเขาพระวิหาร-มณฑลบูรพา

------------------------------------------------------
 
           ด้วย รัฐบาลกัมพูชาได้ทำความเคลื่อนไหวเพื่อขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ต่อองค์การยูเนสโกของสหประชาชาติ มีผลทำให้ประเทศไทยเสียหายอย่างร้ายแรง ดังต่อไปนี้...

1. ทำให้ประเทศไทยสูญเสียอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารอย่างคาดไม่ถึง
2. ทำให้ประเทศไทยสูญเสียปราสาทเขาพระวิหารตลอดไปตามคำตัดสินที่ไม่ถูกต้องเป็นโมฆะ พ.ศ. 2505
3. ทำให้ไทยสูญเสียมณฑลบูรพา 2 วังหวัด คือ จังหวัดพระตะบอง และจังหวัดพิบูลสงคราม ตามอนุสัญญาโตเกียว ค.ศ. 1941
4. ทำให้อธิปไตยของชาติสูญเสียอ่อนแอเอกราชไม่สมบูรณ์
5. ทำให้แก้ปัญหาประชาธิปไตยไม่สำเร็จ ระบอบเผด็จการรัฐสภาจะกระชับรุนแรงทำลายชาติบ้านเมืองให้หายนะล่มสลาย ประชาชนยากจนสิ้นชาติสิ้นแผ่นดิน
6. ทำให้เกิดการพิพาทชายแดนไม่จบสิ้น
7. ทำให้อิทธิพลต่างชาติครอบงำแทรกแซงไม่จบสิ้น
8. ทำให้ประชาชนไทยอ่อนแอถูกเผด็จการและต่างชาติกดขี่
 
          ดังนั้น ประชาชนคนไทยทั้งสิ้นจะต้อง “ตื่นตัว ตื่นปัญญา” ลุกขึ้นมาต่อสู้ กอบกู้พิทักษ์รักษาผืนแผ่นดินไทย อธิปไตยของชาติ เอกราชของประเทศ และสร้างสรรค์ประชาธิปไตยให้สมบูรณ์ ตามแนวทางของพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 5 รัชากาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 และลุกขึ้นมาต่อสู้อย่างสันติวิธีตามวิถีพุทธหิงสาธรรม นั่นคือ การปฏิบัติโมกษธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหาอุปาทาน และระบอบเผด็จการ และการรุกรานครอบงำแทรกแซงของต่างชาติอย่างสิ้นเชิง
เพื่อให้บรรลุความสำเร็จในภารกิจแห่งชาติอันยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์นี้ให้ทันต่อสถานการณ์ จึงได้ร่วมผนึกกำลังประสานจิตใจ ที่มีพลังอันบริสุทธิ์และกว้างใหญ่ไพศาล “เดินธรรมยาตรากอบกู้รักษาผืนแผ่นดินไทยในกรณีเขาพระวิหาร มณฑลบูรพา” จากจังหวัดศีรสะเกษ ไปสู่เขาพระวิหาร อำเภอกันทรลักษณ์ ตั้งแต่วันพุธที่ 18 ถึงวันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2551 เป็นเวลา 5 วันเต็ม

          จึงขอเชิญท่านผู้รักชาติ รักประชาธิปไตย ใฝ่ในธรรม และจงรักภักดีทั้งหลายเข้าร่วมเดินธรรมยาตรากอบกู้รักษาผืนแผ่นดินไทย ในกรณีเขาพระวิหาร และมณฑลบูรพาเพื่อบรรลุความสำเร็จเสร็จสิ้นในภารกิจแห่งชาติอันศักดิ์สิทธิ์ และยิ่งใหญ่นี้ ให้ทันสถานการณ์ต่อไป
 
 
           18 มิถุนายน 2551”
 
 
                คณะธรรมยาตราประกอบด้วยจำนวนคนไม่ถึง30 คน เป็นการจัดรวมกลุ่มอย่างเร่งด่วนโดยไม่มีการเตรียมการล่วงหน้าเท่าไรนัก  อาศัยที่ว่าคณะธรรมยาตราได้ผ่านประสบการณ์การเดินธรรมยาตราในส่วนอื่นของประเทศไทยมาก่อน  จนสามารถประเมินกำลัง “เท้า” ได้ว่าในหนึ่งวันจะเคลื่อนไปข้างหน้าได้ไม่ต่ำกว่า 20 กิโลเมตร  ขึ้นอยู่สภาพฝนฟ้าและการมีปฏิสัมพันธ์กับชาวบ้านสองข้างทาง   ถ้าหากมีการแจกเอกสาร ได้แลกเปลี่ยนพูดคุยอาจใช้เวลามาก ก็จะถึงเป้าหมายช้าลงหรืออาจใช้เวลามากถึงมากที่สุด และอาจเดินไม่ถึงจุดมุ่งหมายเลยในวันนั้นหากมีอุปสรรคขัดขวาง เช่นการสกัดของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยการนำสิ่งกีดขวางเป็นต้น  
 
                ศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่มีชื่อเรื่องการคล้องช้างเพราะมีชาวส่วยที่มีความชำนาญเรื่องการคล้องช้างอยู่อาศัยจำนวนมากทีเดียว  และเป็นจังหวัดใหญ่จังหวัดหนึ่งที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติที่มีภาษาถิ่นต่างกันถึงสามภาษาคือภาษาส่วย ภาษาเขมรและภาษาลาว  คณะธรรมยาตรามีสมาชิกที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษ การประสานงานเบื้องต้น การเช่ารถเครื่องเสียงสำหรับปราศรัย ประชาสัมพันธ์ จึงเป็นไปอย่างราบรื่นไม่ติดขัด  และอาศัยที่สมาชิกในกลุ่มเคยชินกับการเดินธรรมยาตราไปกลับระหว่างสนามหลวงและพุทธมณฑล พร้อมท่อไอเสีย ทั้งที่เดินแบบที่มีแต่มนุษย์ไปจนถึงการเดินกับช้างช่วงเดือนเมษายนที่แดดร้อนเปรี้ยง  และมีประสบการณ์ช่ำชองเรื่องการผ่านด่านการถูกสกัดโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ    ถนนสายปิ่นเกล้านครชัยศรีเคยติดเป็นอัมพาตหลายชั่วโมงเมื่อครั้งเดินธรรมยาตราพร้อมช้าง 9 เชือก จนเป็นข่าววิพากษ์วิจารณ์ไปทั้งเมือง
 
               เป็นที่น่าแปลกใจว่าการเดินธรรมยาตราอย่างสันติเช่นนี้มักทำให้เจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบไม่พอใจ และมักเข้าขัดขวางเสมอ     ดังเช่นที่ปรากฏในการเดินธรรมยาตราในภาคอิสาน  ที่ถูกทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาสกัด  ทั้งที่ผู้เดินเป็นพระสงฆ์ถึงกับกล่าวหากันซึ่งหน้าๆว่าเป็นพระปลอมก็เคยปรากฎมาแล้ว    การล่วงล้ำก้ำเกินสิทธิของประชาชนเป็นเรื่องที่ทำกันจนชินในประเทศที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตย   ในข้อเท็จจริงแล้ว  การเดินไหล่ทางริมถนนทางหลวงเสี่ยงกับการถูกรถประจำทางหรือรถสิบล้อชนก็ทำผู้เดินต้องระวังตัวพออยู่แล้ว  ยังต้องเผชิญหน้ากับการถูกกล่าวหาว่าเดินด้วยประสงค์ร้าย    และโดยสามัญสำนึกแล้ว การเดินตามปรกติไม่น่าจะก่อผลเสียให้ใครได้ และเป็นการแสดงออกที่เป็นสันติที่สุดที่มนุษย์พึงกระทำต่อกัน  นั่นคือการเดินเพื่อบอกให้รู้ว่าผู้เดินต้องการสิ่งไรด้วยการแจกเอกสาร  ซึ่งเป็นรูปของการใช้สิทธิที่ไม่ต้องการเงินทอง ไม่ต้องการการตั้งเวที ระดมเงิน ไม่เสียค่าไฟฟ้า โหมเครื่องเสียง เสียเพียงแรงกายแรงใจของคนเดินเท่านั้นเอง  การเดินธรรมยาตราไม่น่าจะให้โทษกับใครได้เลยแม้ตัวคนเดินเอง เพราะเป็นการออกกำลังไปในตัว  ฝึกฝนความอดทน  สะสมพลังจากดินสู่เท้า  หากไม่โหมเดินจนเกินกำลังตนแล้วคนเดินก็จะแข็งแรงไม่เจ็บป่วย ยกเว้นผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องปวดหัวเข่า 
 
                ความเหน็ดเหนื่อยของคนเดินธรรมยาตราในช่วงเวลากลางวัน จะทำให้เกิดการเข้านอนแต่หัวค่ำและออกเดินแต่เช้าในยามที่แดดยังไม่แรงจัด  คนเดินสามารถชื่นชมธรรมชาติสองข้างทาง  และมี “ธรรม” ให้พิจารณาไปตลอดทางเสมอ   บางครั้งในกลุ่มพวกเราอาจพบซากสัตว์ถูกรถทับตายอยู่กลางถนนบ้าง ข้างถนนบ้าง  ทำให้ได้แผ่เมตตาหรือพิจารณาอสุภะแล้วแต่จริตของแต่ละคน
 
 
   
....เป็นที่น่าแปลกใจว่าการเดินธรรมยาตราอย่างสันติเช่นนี้มักทำให้เจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบไม่พอใจ และมักเข้าขัดขวางเสมอ     ดังเช่นที่ปรากฏในการเดินธรรมยาตราในภาคอิสาน  ที่ถูกทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาสกัด  ทั้งที่ผู้เดินเป็นพระสงฆ์ถึงกับกล่าวหากันซึ่งหน้าๆว่าเป็นพระปลอมก็เคยปรากฎมาแล้ว    การล่วงล้ำก้ำเกินสิทธิของประชาชนเป็นเรื่องที่ทำกันจนชินในประเทศที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตย   ในข้อเท็จจริงแล้ว  การเดินไหล่ทางริมถนนทางหลวงเสี่ยงกับการถูกรถประจำทางหรือรถสิบล้อชนก็ทำผู้เดินต้องระวังตัวพออยู่แล้ว  ยังต้องเผชิญหน้ากับการถูกกล่าวหาว่าเดินด้วยประสงค์ร้าย...   
    
           ช่วงเวลาที่เดินเป็นฤดูฝนที่มีปัญหาเรื่องฝนตกช้ากว่าฤดูกาล    แต่ในช่วงสี่วันแรกของการเดินคณะธรรมยาตรากลับไม่พบฝนเลย แต่เผชิญความร้อนและแสงแดดแผดเผาแทน  กลุ่มคณะธรรมยาตราที่ร่วมเดินมีจำนวนไม่มากนัก  ส่วนใหญ่เป็นสตรีค่อนไปทางวัยกลางคน  การประยุกต์ใช้ผ้าเพื่อกันแสงแดดก็เกิดขึ้น  สำหรับนักปฏิบัติธรรมการใช้ผ้าขาวโพกศีรษะ ปิดบังบางส่วนของใบหน้า  เป็นภาพที่ไม่คุ้นตานักปฏิบัติธรรมในยามปรกติที่นุ่งห่มเรียบร้อยอยู่ในวัด  แต่ผู้เดินธรรมยาตราเผชิญศึกหนักกว่าเรื่องแดด   ทั้งความกระหายน้ำ ทั้งความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า  นิ้วเท้าพองจากการเดิน    ผู้เดินธรรมยาตราไม่ใช่นักเตรียมอุปกรณ์อย่างดีเมื่อเทียบนักไต่เขาหรือนักผจญภัยที่นิยมใช้รองเท้าผ้าใบหนาๆ        คณะธรรมยาตราใช้รองเท้าแตะธรรมดา เป็นการใช้วัตถุอย่างธรรมชาติและเกิดประโยชน์มากที่สุด  ดังนั้นภาพคนเดินโขยกเขยก ขากะเผลก หรือโอดครวญกันไปบ้างย่อมเป็นเรื่องธรรมดา   การใช้ผ้าโพกศรีษะ ปิดคลุมต้นคอพร้อมสวมหมวกทับเหมือนทหารญี่ปุ่น ฯลฯ ล้วนเป็นการประยุกต์ขึ้นเองโดยอัตโนมัติ    ข้อสำคัญของการเดินธรรมยาตรากลางแสงแดดนี้ทำให้เกิดการละตัวตนได้ในระดับที่น่าพอใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้หญิงที่ห่วงใบหน้าจะถูกทำลายด้วยแสงแดด   เพราะถ้าหากไม่ละจากความงามอันเป็นของไม่เที่ยง  ก็จะไม่สามารถร่วมเดินธรรมยาตราได้เลยเพราะแสงแดดที่ว่าเอาเรื่องจริงๆ 
 
                สภาวธรรมของผู้เดินมีแตกต่างกันไปแล้วแต่จิตของผู้ปฏิบัติ  บางคนจั้งจิตอธิษฐานไว้จะไม่ยอมนั่งรถที่ขับตามมาเลย    สำหรับนักปฏิบัติธรรมที่เคยฝึกการเจริญอิริยาบถเดิน ยืน นั่ง นอน แบบรู้ตัวทั่วพร้อมใช้หลักสติปัฎฐานสี่  อาจค้นพบว่าการเดินธรรมยาตรานอกอาณาบริเวณวัด เจอทั้งความร้อนและแดดนั้นท้าทาย สำหรับผู้ต้องการพิสูจน์ความแก่กล้าทางจิตวิญญาณ  ในกลุ่มธรรมยาตราของคณะธรรมยาตราชุดขาวในขบวน หลายคนค้นพบว่า เมื่อเดินไปเรื่อยๆจนเป็นสมาธิ  พ้นจากความหงุดหงิดแล้ว จิตใจโปร่งโล่ง ก็จะเดินได้เร็วขึ้น ตัวเบาขึ้น  และค้นพบความสุขของการเดินกลางแดดร้อนเปรี้ยงได้อย่างน่าอัศจรรย์
 
               เสน่ห์ของการเดินธรรมยาตราที่สำคัญที่สุดคือการทำให้ผู้เดินรู้สึกเป็นอิสระสูงสุดจากการเดิน คือการไม่รู้สึกร้อยรัดอยู่กับสถานที่  ไม่ยึดติดกับท่านั่ง และรูปแบบการปฏิบัติอันเคร่งครัด   การเดินไปข้างหน้าคือการก้าวไปสู่ธรรม   ตรงกับความหมายของธัมมะจักกัปปวัตนสูตร ที่ว่าธรรมะของพระพุทธองค์เปรียบดังกงล้อธรรมจักรที่เคลื่อนไปข้างหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง และเป็นวัฏที่ไม่มีวันย้อนกลับ    การเดินจึงเป็นการนำผู้เดินก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลงนั่นเอง 
 
                การเดินธรรมยาตราเป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งและเป็น “รูป” หนึ่งของการต่อสู้เพื่อสิ่งที่สูงส่ง  การเดินโดยปราศจากจุดมุ่งหมายผู้เดินย่อมไม่ได้อะไรกลับคืนมายกตัวอย่างการเดินของมหาตมะคานธี นักต่อสู้อหิงสาเพื่อทวงคืนเอกราชจากสหราชอาณาจักรอังกฤษเป็นต้น ***    ในข้อเท็จจริงก่อนที่ผู้เดินจะตัดสินใจออกเดินจะต้องได้ข้อสรุปแล้วว่าเขาเดินภายใต้แนวคิดอะไรการเดินจึงจะเป็นการสะท้อน “รูป” การต่อสู้  
       

                 การตกเป็นข่าวและปริศนาของการเดินต่อสาธารณชน
       
 
               ในทันทีที่ขบวนประกาศเจตนารมณ์และจุดมุ่งหมายของการเดินธรรมยาตราด้วยการอ่านแถลงการณ์ที่หน้าศาลหลักเมืองจ.ศรีสะเกษโดยอ.สมาน ศรีงาม เลขาธิการทั่วไปขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ   ก็ปรากฏมีสื่อมวลชนนำภาพข่าวไปลงแต่วันแรก   ในช่วงสองวันแรกการรายงานข่าวต่อเนื่องมาจากโทรทัศน์สถานีช่อง 9 ที่นำภาพคณะธรรมยาตราไปออกข่าวช่วงเที่ยง  รายงานอีกรอบในช่วงข่าวภาคค่ำ   หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจรายงานภาพข่าวระหว่างการอ่านแถลงการณ์ที่หน้าศาลหลักเมืองลงในหนังสือพิมพ์ในหมวดข่าวภูมิภาค    ในขณะที่ในกรุงเทพฯข่าวคราวความเคลื่อนไหวเรื่องการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยกัมพูชา  และเสียงคัดค้านของคนไทย  นักวิชาการ ทั้งพวกที่เห็นด้วยและต่อต้านอย่างสุดตัวปรากฏเป็นระลอก     ขณะนั้นตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศภายใต้ความรับผิดชอบนพดล ปัทมะ โดนข้อกล่าวหารุนแรงมากที่สุด **  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ปักหลักปราศรัยอยู่บริเวณสะพานมัฆวานในขณะนั้น     ในช่วงเวลานั้นทุกฝ่ายต่างต้องการแสดงทัศนะการไม่เห็นด้วยและกล่าวหารัฐบาลพลังประชาชนภายใต้การนำของสมัคร สุนทรเวชให้รับผิดชอบต่อการเป็นเจ้าของปราสาทดังกล่าว  กระแสข่าวส่วนใหญ่เกิดขึ้นในกรุงเทพแต่คณะธรรมยาตราเลือกจังหวัดศรีสะเกษเป็นที่ “อธิบาย” เหตุที่มา

                 ในที่นี้จะต้องอธิบายความซับซ้อนของปัญหาต่อว่า  คณะธรรมยาตรา ต่อสู้อยู่กับอะไร  ?  ความเป็นธรรมใช่หรือไม่  คณะฯจะไปเรียกร้องหาความเป็นธรรมจากใคร  รัฐบาลไทย  รัฐบาลกัมพูชา  UNESCO องค์การสหประชาชาติเจ้าสังกัดผู้จัดระเบียบโลก  และแท้จริงแล้วคู่ต่อสู้ของคณะธรรมยาตราคือใครกันแน่ ?   ยิ่งหาคำตอบไม่ได้จากตัวปัญหาและการสะท้อนความเห็นของคนไทยเรื่องจะไปฟ้องยูเนสโก ฟ้องศาลโลก ฟ้องสำนักงานสหประชาชาติใหญ่ ฟ้องสารพัดฟ้องปรากฏขึ้น ก็เท่ากับเป็นการสะท้อนความซับซ้อนซ่อนเงื่อนของปัญหานี้  ยิ่งเริ่มต้นคลำหาทางออกไม่ได้  จับต้นชนปลายไม่ถูก  ไม่สามารถจับจุดเริ่มต้นอธิบายได้ ก็แสดงว่า ปัญหาเขาพระวิหารไม่ใช่ปัญหาธรรมดาเสียแล้ว  ที่ใครๆก็นึกว่าจะแก้ได้

                 เหล่านี้คือปริศนา ว่าแท้จริงคนชุดขาวกลุ่มนี้ต้องการอะไร จึงเลือกเดินไปชายแดนกัมพูชา ที่เต็มไปด้วยกับระเบิด  คณะธรรมยาตราบ้าใช่หรือไม่ ?

                แท้จริงแล้ว การวิเคราะห์ ของคณะธรรมยาตราเริ่มต้นขึ้นในทันที่รู้ข่าวว่านายกรัฐมนตรีกัมพูชาคนปัจจุบันสมเด็จฮุนเซนได้หยิบประเด็นนี้ขึ้นมาเพื่อใช้หาเสียงเลือกตั้งภายในประเทศ ตั้งแต่ต้นปี 2551  ฮุนเซนและรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเขา กำลังทำหน้าที่สำคัญ คือการใช้เขาพระวิหารทำงานการเมืองไทยในประเทศแต่ส่งผลกระทบไปยังเพื่อนบ้านและดึงเอาประชาคมโลกเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยอย่างฉลาดแบบยุทธวิธีนักปฏิวัติคอมมิวนิสต์ซึ่งจะเล่าในบทต่อไป ***
 
                 มีนักข่าวตรงเข้ามาถามคณะธรรมยาตราว่า  การเคลื่อนไหวของขบวนเป็นการ “จุดไฟ” ขึ้นมาโดยไม่จำเป็น  ข้อโต้แย้งที่คณะธรรมยาตรามอบให้แก่นักข่าวผู้นั้นคือ   การนำเสนอข้อเท็จจริงด้วยการ พูดความจริงให้ครบนั้นนอกจากจะไม่ใช่การจุดไฟแล้ว  หากความจริงนั้นได้รับการยอมรับกลับจะเป็นการ “สร้างบรรทัดฐานใหม่” ใหม่ให้กับแผ่นดินไทย  ยิ่งกรณีการพิสูจน์ทราบครั้งนี้ตามกติกาสัญญาแต่ละฉบับเปิดเผยมากยิ่งขึ้นเท่าใด  ถึงขั้นเป็นข้อพิพาทสากล (International Dispute) ได้สมประสงค์แล้ว  ก็จะขยายผลกลายเป็น “การสร้างบรรทัดฐานโลก” ด้วยซ้ำไป   และถ้าหากทำจนถึงที่สุด ชาติเอเชียทั้งหลายที่เคยถูกชาติอาณานิคมตะวันตกปกครองจะต้องมองเห็นถึงข้อเท็จจริงอันนี้ร่วมกัน   อันจะเป็นการสร้าง“ สัมมาทิฎฐิ ” ให้บังเกิดขึ้นอย่างเป็นไปเอง   

                การไม่ยอมพูดความจริง  ไม่กล้าพูดความจริง หรือพูดความจริงเพียงครึ่งเดียวนั้น  เป็นปัญหาของคนไทยหรือเป็นปัญหาของชนชั้นปกครองไทย   สะท้อนกลับมายังระบอบที่ชนชั้นปกครองนั้นสถาปนาขึ้นมา  คือจะกำหนดอย่างไรก็ได้ หากประเทศชาติอยู่ในระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์แท้จริง  ความจริงอีกภาคส่วนหนึ่งคงได้รับการเปิดเผยออกมานานแล้วและคนไทยอาจได้เรียนรู้เรื่องนี้ผ่านหลักสูตรการศึกษาอย่างเป็นระบบมาช้านานแล้ว
 
 
               การเริ่มต้นอธิบาย....อะไรคือปมเงื่อน
 
               ปมเงื่อนของการเริ่มทำความเข้าใจเรื่องข้อพิพาทในครั้งนี้  มิใช่ขึ้นอยู่กับความเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ของกัมพูชาหรือ ทางประวัติศาสตร์  หากแต่ขึ้นอยู่กับการทำความเข้าใจการเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ (Nation State)ของโลกในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่    การดำรงความเป็นชาติอยู่ท่ามกลางประชาคมโลกของโลกยุคใหม่ ภายใต้ความเป็นชาติและความเป็นสากล  การจัดรูปแบบความสัมพันธ์ของชาติต่างๆภายใต้กติกาโลกอันเดียวกัน

               หากการเริ่มต้นรู้จักการก่อสร้างชาติสมัยใหม่   คือปมเงื่อน  ทำให้ต้องศึกษาทั้งระบบคือและคณะธรรมยาตราได้ทำหน้าที่หาจุดชี้ขาดในคำอธิบาย
 
               ดังที่เกริ่นนำว่า ประเทศกัมพูชาไม่เคยเป็นคู่สัญญากับประเทศไทยเพราะอยู่ในฐานะประเทศราชมาโดยตลอด  ดังนั้นคู่ต่อสู้ตามกติกาสัญญานั้นจึงเป็นประเทศ
ฝรั่งเศส     ปัญหาใหญ่สำหรับรัฐบาลไทยในขณะนี้คือการเอาหลักการที่เคยมีมาไปสู้กับฝรั่งเศส  ทั้งทางการเมือง ทางกฎหมายและทางประวัติศาสตร์ มิใช่ประเทศกัมพูชา      ดังปรากฏอยู่ในเอกสารของขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ

               “.......ในยุคของการก่อตั้งชาติในภูมิภาคนี้    รวมทั้งการก่อตั้งชาติสยาม (Siamese Nation) ลาวและกัมพูชา เป็นประเทศราชของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีถึงกรุงรัตนโกสินทร์         เช่นเดียวกับมอญเป็นประเทศราชของพม่า   ซึ่งตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และจารีตประเพณีของการก่อตั้งชาติ   ทั้ง ลาวและกัมพูชาอยู่ในชาติสยามเช่นเดียวกับมอญอยู่ในชาติพม่า  แต่ในระหว่างที่ชาติสยามยังก่อตั้งไม่ทันเสร็จ      ฝรั่งเศสก็มาฮุบเอาส่วนใหญ่ของลาวและกัมพูชาไปเป็นชาติฝรั่งเศส  รวมกับญวนเป็นอินโดจีนฝรั่งเศส  เหลือพื้นที่ในลาวฝั่งขวาของแม่น้ำโขงและบางส่วนของเขมร (เขมรใน) ที่ยังคงเป็นของชาติสยามอยู่     แล้วต่อมาฝรั่งเศสก็มาโกงเอาไปอีกทั้งลาวฝั่งขวาและเขมรใน      ตามหลักของการก่อตั้งชาติ  ถ้าลาวและกัมพูชา ไม่ถูกฝรั่งเศสฮุบไปฐานะของลาวก็จะเท่ากับเชียงใหม่ในชาติสยาม  เพราะลานนากับลานช้างต่างก็เป็นอาณาจักรของชนเชื้อชาติไทยอันเดียวกัน       ส่วนกัมพูชาก็จะมีฐานะเป็นชนส่วนน้อยแห่งชาติ(National Minority) ในชาติสยาม    เพราะเป็นอาณาจักรของชนเชื้อชาติเขมร  ซึ่งจะได้รับการปฏิบัติอย่างดีตามหลักของปัญหาชาติโดยเฉพาะ  คือหลักสิทธิในการกำหนดตนเองของชาติ ( The Right of Nation to Self-determination)

                จึงเห็นได้ว่า ตามหลักของปัญหาชาติ     ทั้งลาวและกัมพูชา เป็นอาณาเขตของชาติไทย    ซึ่งไทยมีสิทธิที่จะเอาคืนมา   แม้ด้วยวิธียกทัพเข้าไปยึดครอง        แต่ด้วยความสงบตามหลักอหิงสา ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของชนชาติไทย     ประเทศไทยได้ยอมสละลาวฝั่งซ้ายและเขมรนอก       สงวนสิทธิไว้แต่ลาวฝั่งขวาและเขมรใน    ซึ่งได้เอาคืนมาโดยอนุสัญญา และพิธีสารโตเกียว เมื่อปี ๒๔๘๔     แล้วตั้งเป็นจังหวัดลานช้าง     จังหวัดนครจำปาศักดิ์     จังหวัดพิบูลสงคราม และจังหวัดพระตะบอง            แต่ก็ได้ยืนยันต่อฝรั่งเศสว่าไว้ว่า ถ้าอินโดจีนเปลี่ยนจากอธิปไตยฝรั่งเศสไป       ฝรั่งเศสจะต้องคืนลาวและกัมพูชาให้ไทยอินโดจีนเปลี่ยนจากอธิปไตยฝรั่งเศสไป  โดยข้อตกลงปารีส ปี พ.ศ. ๒๔๙๗  แต่ฝรั่งเศสหาได้คืนลาวและกัมพูชาให้แก่ไทย      ไม่ต่างกับพม่าซึ่งเปลี่ยนจากอธิปไตยอังกฤษ เมื่อปี ๒๔๙๑          โดยอังกฤษได้คืนมอญ และอาณาเขตอื่น ๆ ที่เคยเป็นประเทศราชของพม่า ให้แก่พม่า

                จึงเห็นได้ว่า   ฝรั่งเศสทำผิดหลักของปัญหาของชาติ      ในการโอนอธิปไตย          ทำให้ไทยยังคงมีสิทธิ์ที่จะยกทัพเข้าไปยึดลาวและกัมพูชานั้น จึงเป็นคำกล่าวที่ถูกต้องแต่ถ้าไม่สุดวิสัยคนไทยคงจะไม่ทำเช่นนั้น   เพราะรักสงบ และสละลาวฝั่งซ้ายและเขมรนอกไปแล้ว  เพียงแต่จะต้องเอา ๔ จังหวัดกลับคืนมาเท่านั้น     เพราะเป็นเงื่อนไขอันจำเป็นสำหรับการแก้ปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับอินโดจีน   รวมทั้งแก้ปัญหากัมพูชาด้วย เพราะการเอา ๔ จังหวัดกลับคืนมา  จะทำให้แม่น้ำโขงเป็นเขตแดนระหว่างไทยกับอินโดจีนตั้งแต่ลาวจนถึงกัมพูชา    ซึ่งจะมีผลเป็นการตัดปัญหาการกระทบกระทั่งชายแดนลงโดยปริยาย    ทั้งนี้จะเป็นไปได้ด้วย ลาวและกัมพูชา   ซึ่งเป็นประเทศสังคมนิยม(ประเทศใดปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์คือประเทศคอมมิวนิสต์) ต้องยึดหลักสังคมนิยมสากล        คือไม่รับช่วงการรุกรานของลัทธิอาณานิคมและลัทธิจักรพรรดินิยม         ดังนั้นลาวและกัมพูชาต้องไม่รับช่วงการรุกรานของลัทธิอาณานิคมและลัทธิจักรพรรดินิยมฝรั่งเศส มาปฏิบัติเสียเอง          เมื่อลาวและกัมพูชาหลุดพ้นไปจากอธิปไตยฝรั่งเศส    และไทยก็ยินยอมสละลาวและกัมพูชาส่วนใหญ่เพื่อเห็นแก่ความสงบแล้ว    โดยขอปรับเขตแดนเฉพาะ  ตามอนุสัญญาและพิธีสารโตเกียว ปี พ.ศ.๒๔๘๔ เท่านั้น  ก็ชอบที่ลาวและกัมพูชาจะใช้หลักสังคมนิยมมาจัดสรรเขตแดนกันใหม่กับไทย    ซึ่งประชาชนไทยจะยืนยันได้ว่า   จะยึดหลักถือหลักประชาธิปไตยในปัญหาชาติอย่างถูกต้องดังนี้         ปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับลาวและกัมพูชา ก็จะแก้ตกอย่างราบรื่น
 
                 ดังนั้น ด้วยเหตุผล ๓ ประการนี้ คือ   ด้านกฎหมายปฏิบัติอนุสัญญาโตเกียว ๑๙๔๑ ซึ่งเป็นกติกาสัญญาไทย-ฝรั่งเศสที่สมบูรณ์และมีผลบังคับเพียงฉบับเดียว   ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศว่า “กติกาสัญญาต้องยึดถือ”  ด้านการเมือง ประเทศกัมพูชาซึ่งปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์     ได้ปฏิบัติหลักสังคมนิยมคือไม่รับช่วงหรือมรดกรุกรานของลัทธิล่าอาณานิคมและจักรพรรดินิยมฝรั่งเศส   ด้านหลักของปัญหาชาติในการโอนอำนาจอธิปไตย จึงขอเสนอให้รัฐบาลกัมพูชาปฏิบัติดังนี้
๑.  ถอนการปกครองจากดินแดน ๒ จังหวัด มณฑลบูรพา  ของไทย คือ   จังหวัดพระตะบอง  และจังหวัดพิบูลสงคราม
๒. ยุติการปฏิบัติใดๆต่อปราสาทพระวิหารลงโดยทันที  หากรัฐบาลกัมพูชา โดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศกัมพูชา ไม่ยอมปฏิบัติตามเหตุผลอันถูกต้อง ๓  ประการนั้น   ปวงชนชาวไทยจะผลักดันให้รัฐบาลไทยและผู้เกี่ยวข้องทั้งสิ้นยื่นฟ้องต่อศาลโลก และหรือจัดให้มีการลงประชามติกำหนดตนเองของชาติใน ๒ จังหวัด  ว่าจะเลือกเป็นสัญชาติไทย หรือสัญชาติกัมพูชาต่อไป ”

                  คำอธิบายชัดขึ้นที่กันทรลักษณ์....จุดเริ่มต้นอันเป็นมงคล
 
 
                 คณะธรรมยาตราใช้โอกาสการเดินธรรมยาตราแวะพักตามวัดต่างๆ ไปตลอดทาง  วัดแรกที่เข้าพักคือวัดพยุห์ในอำเภอพยุห์   ขบวนมีรถเครื่องเสียงชราหนึ่งคัน สำหรับใช้ปราศรัยอธิบายพร้อมเอกสารแจกไปตามทางเป็นระยะๆ   เมื่อเข้าเขตชุมชนก็จะหยุดอธิบายถึงเหตุผลการเคลื่อนขบวนธรรมยาตราไปด้วย   ระหว่างที่คณะธรรมยาตราเดินเคลื่อนไปวันละ 20 กิโลเมตรโดยเฉลี่ย     ในขณะเดียวกันในกรุงเทพประเด็นการคัดค้านของประชาชนคนไทยเรื่องการจดทะเบียนปราสาทวิหารเป็นมรดกโลก   ลุกลามไปจนถึงขั้นการขับไล่รัฐมนตรีนภดลออกจากตำแหน่ง  โดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย   เกิดเหตุการณ์การเคลื่อนม็อบไปยืนปราศรัยขับไล่นภดลเป็นภาษาต่างประเทศทุกภาษาที่หน้ากระทรวงการต่างประเทศ   สื่อมวลชนกำลังทำข่าวเกาะติดสถานการณ์กันอย่างต่อเนื่อง    ประเด็นการขับไล่คือข้อกล่าวหา “ขายชาติ” ของรัฐบาลทักษิณ ที่ส่งไม้ต่อให้นภดล  ในขณะที่คณะธรรมยาตราเห็นว่าสาเหตุของการทวงคืนเขาพระวิหารต้องสาวจากผลไปหาเหตุให้ได้  และต้นเหตุนั้นนอกจากปัญหาชนชั้นปกครองที่ใช้อำนาจอธิปไตยเพื่อผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มแล้ว  ปัญหาอธิปไตยดินแดนยังสะท้อนมาจากการเป็นชาติเอกราชที่ไม่มีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ของ “การปกครองแบบประชาธิปไตย” นั่นเอง
 
                  การปลุกชาวศรีสะเกษให้มาสนใจปัญหาชาตินั้นไม่ใช่เรื่องง่าย  โดยเฉพาะการทำให้คนทั่วไปเข้าใจถึงปัญหาอาณานิคมในอดีตที่ส่งผลมายังปัจจุบันนั้นยิ่งยากกว่าการรู้ว่ารัฐมนตรีคิดไม่ซื่อกับประเทศตนเองด้วยการมีผลประโยชน์ชายแดนร่วมกันกับรัฐบาลฮุนเซน  คำอธิบายเรื่องรัฐมนตรีคนไหน คอรัปชั่นเรื่องอะไร สมัยรัฐบาลนายก ก.นำไปสู่รัฐบาล นายกข. ดูจะเป็นเรื่องง่ายกว่ากันมาก   
 
                 การอธิบายเรื่องปัญหาคุณธรรมบุคคลกับปัญหาอธิปไตยดินแดนและปัญหาระบอบดูยังไม่มีความเชื่อมโยงต่อกันสำหรับการอธิบายปริศนาของการเดินธรรมยาตราแต่แรก   ยิ่งพันธมิตรฯนำอธิบายเรื่องปัญหาคอรัปชั่นและการขายชาติของรัฐบาลทักษิณต่อปัญหาชายแดนไทยกัมพูชามากยิ่งขึ้นเท่าใด  การเคลื่อนขบวนของคณะธรรมยาตราก็ได้รับคำถามอันเป็นปริศนาให้ได้มีโอกาสอธิบายมากยิ่งขึ้นเท่านั้น     ปริศนาแรกที่เราต้องทำหน้าที่อธิบายแก่ชาวอำเภอกันทรลักษณ์แต่แรกคือ “เราไม่ใช่พันธมิตร”  และคณะธรรมยาตราเดินเท้ามาเพื่อทวงคืนมณฑลบูรพาเพื่อนำสู่การสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทย      ไม่ได้ทำหน้าที่แฉการขายชาติของรัฐบาลใดเหมือนที่พันธมิตรอธิบาย  และคณะธรรมยาตรามิได้เป็นศัตรูกับอบต.อบจ. หรือเจ้าหน้าที่กลไกรัฐที่ทำงานขึ้นตรงกับรัฐบาลนอมินีทักษิณแต่อย่างใด 

 

 

...คณะธรรมยาตราได้ค้นพบว่าการประกาศจุดมุ่งหมายของการเคลื่อนขบวนในการเคลื่อนขบวนนำพาให้ขบวนอยู่ตลอดรอดฝั่งมาได้   ก็เพราะการมีจุดยืนและมีทฤษฎีในการเคลื่อน   มิฉะนั้นแล้วการเดินธรรมยาตราในครั้งนี้อาจพบกับการถูกลอบทำร้ายได้ง่ายๆเหตุเพราะว่ากลุ่มชาวบ้านที่ปฏิเสธพันธมิตรและกลไกรัฐที่ปลุกปั่นให้ออกมาปะทะเปรียบเสมือนไฟปะทุนั้นมีอยู่ตลอดการเดินทาง   และยิ่งใกล้ชายแดนมากยิ่งขึ้นเท่าไร  เชื้อไฟปะทุนั้นก็พร้อมที่จะกระพือโหมให้ลุกโชนยิ่งขึ้นเท่านั้น...   

 
                 คณะธรรมยาตราได้ค้นพบว่าการประกาศจุดมุ่งหมายของการเคลื่อนขบวนในการเคลื่อนขบวนนำพาให้ขบวนอยู่ตลอดรอดฝั่งมาได้   ก็เพราะการมีจุดยืนและมีทฤษฎีในการเคลื่อน   มิฉะนั้นแล้วการเดินธรรมยาตราในครั้งนี้อาจพบกับการถูกลอบทำร้ายได้ง่ายๆเหตุเพราะว่ากลุ่มชาวบ้านที่ปฏิเสธพันธมิตรและกลไกรัฐที่ปลุกปั่นให้ออกมาปะทะเปรียบเสมือนไฟปะทุนั้นมีอยู่ตลอดการเดินทาง   และยิ่งใกล้ชายแดนมากยิ่งขึ้นเท่าไร  เชื้อไฟปะทุนั้นก็พร้อมที่จะกระพือโหมให้ลุกโชนยิ่งขึ้นเท่านั้น    และ “ปริศนา” ของการทวงคืนมณฑลบูรพานั่นเอง ที่เป็นทางเลือกทางรอดอันเดียวที่ทำให้คณะธรรมยาตรา ปลอดพ้นจากการถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกกลุ่มคัดค้านอื่นๆ ระหว่างพันธมิตรและนปก.  เพราะมีคณะธรรมยาตราคณะเดียวเท่านั้นที่เคลื่อนภายใต้ทฤษฎีปฏิวัติประชาธิปไตยในกรณีทวงคืนมณฑลบูรพาเขาพระวิหาร ซึ่งได้มีโอกาสอธิบายรายละเอียดต่อไประหว่างการเดินธรรมยาตรา     การเริ่มต้นอธิบายสาวหาเหตุนั้นก็เพื่อชี้ให้เห็นศัตรูตัวจริงของประเทศไทย และเพื่อชี้ให้เห็นชัดเช่นนี้ ก็เพื่อการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสงบสันติต่อไปโดยต่างคนต่างไม่ต้องถอนเสาเรือนด้วยกันทั้งคู่นั่นเอง

                  ในคืนวันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน คณะธรรมยาตราได้พักที่วัดศิริชัยในอำเภอกันทรลักษณ์   เพื่อเตรียมพร้อมเดินต่อเป็นระยะ 26 เมตรสุดท้ายตามทางหลวงมุ่งสู่เขาพระวิหารตามที่ตั้งเป้าไว้แต่แรก     อำเภอกันทรลักษณ์เป็นอำเภอขนาดใหญ่มีศาลหลักเมืองที่ใหญ่โตสวยงามตั้งอยู่โดดเด่นที่สี่แยกหลักของตัวเมือง  เป็นศาลหลักเมืองสีขาวสะอาดมีพระปรางค์อยู่บนยอดและตัวศาลเป็นศาลาจตุรมุขสี่ด้าน  ว่ากันว่าศาลนี้ศักดิ์สิทธิ์มาก มีผู้คนไปกราบไหว้ตลอดเวลา  ภายในมีลมอวลตลอดทิศทาง   เหมาะสำหรับนั่งสมาธิอย่างมาก  คณะธรรมยาตราได้ใช้ศาลหลักเมืองเป็นจุดนัดหมาย เป็นที่แวะพักรับประทานอาหารและใช้พักผ่อนหย่อนใจ       เป็นศาลหลักเมืองที่สมชื่อจริงๆ คือเป็นหลักของเมือง   คนที่นี่นัดทำกิจกรรมที่ศาลหลักเมืองมิใช่ห้างสรรพสินค้า   ที่ศาลหลักเมืองนี่เองที่คณะธรรมยาตราใช้เป็นที่ปราศรัย และพบปะกับชาวกันทรลักษณ์    ใครที่ต้องการเดินทางไปเขาพระวิหารจะต้องผ่านศาลหลักเมืองนี้ด้วยกันทั้งสิ้น 

                  คณะธรรมยาตราตั้งต้นที่ศาลหลักเมืองในเวลาค่อนสายเนื่องจากรอสมาชิกสมัชชาเกษตรกรที่ทยอยมากันจากหลายที่  ช่วงที่เริ่มออกเดินคือเวลาเกือบเที่ยงตรงหลังรับประทาน  อากาศร้อนเปรี้ยง  ที่อำเภอกันทรลักษณ์นี่เองที่คณะธรรมยาตราได้รับการประสานงานจากองค์กรต่างๆเพิ่มขึ้นเพื่อเข้าร่วม  หนึ่งในนั้นคือคณาจารย์นักเคลื่อนไหวกลุ่มหนึ่งพร้อมศิลปินชายขอบและกลุ่มมอเตอร์ไซค์ชอปเปอร์   คราวนี้คณะธรรมยาตราแบ่งการเดินทางเป็นสองช่วงโดยเลือกแวะพักที่บ้านภูมิซรอลเป็นเวลาหนึ่งคืนเพื่อทำการปราศรัยกับชาวบ้านโดยมีสมัชชาเกษตรกรรายย่อยเป็นผู้ประสานงานและที่ภูมิซรอลที่เองที่คณะธรรมยาตราต้องทำหน้าที่อธิบายอย่างหนักถึงจุดยืน  เหตุเพราะว่าเปลวไฟพร้อมจะถูกจุดให้ปะทุขึ้นมาตลอดเวลาโดยกลไกของการเมืองเผด็จการที่จะเล่าในตอนต่อไป    
               
  
    
 

 
  
 
          

 
 
 
 
  
                            
  



Webboard is offline.