หน้าแรก | เกี่ยวกับบริษัท | ติดต่อเรา

 

ผศ.ดร.เรวดี  จงสุวัฒน์
เลขานุการโครงการ "อาหารไทย  หัวใจดี"
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

 
    เมื่อเอ่ยถึง “ไขมัน” หลายคนคงขยาดและอยากหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะคุณผู้หญิงเกือบทุกคน ทั้งที่กลัวอ้วน และไม่กลัวอ้วน และกลัวโรคภัยต่างๆที่มาเยือน แต่คุณทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วไขมันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ถ้าเราสามารถเลือกบริโภคไขมันดี ก็จะเป็นผลดีต่อร่างกายและสุขภาพของเราได้

ก่อนอื่นคงต้องมาเข้าใจถึงโครงสร้างของไขมันกันก่อน โมเลกุลไขมันประกอบด้วยกรดไขมัน 3 โมเลกุลต่อกับกลีเซอรอล 1 โมเลกุล รวมเรียกว่า ไตรกลีเซอไรด์ อาจอยู่ในรูปของไขมันหรือน้ำมันขึ้นอยู่กับชนิดของกรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบ ไขมันเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันอิ่มตัว ส่วนน้ำมันซึ่งเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้องมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ความคงตัวและคุณค่าทางอาหารของไขมันขึ้นกับปริมาณของกรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่มตัวในไขมันหรือน้ำมัน ไขมันที่คนเรากินนั้น ส่วนใหญ่ (95%) เป็นไตรกลีเซอไรด์ ประมาณเกือบ 5% เป็นฟอสฟอลิปิด ได้แก่ เลซิติน อีกเพียงเล็กน้อยเป็นสเตอรอล
 
ไขมันอิ่มตัวในอาหารที่เราบริโภคส่วนใหญ่ได้มาจากสัตว์และพืชบางชนิด ไขมันอิ่มตัวเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องและมีความคงตัวสูง เนื่องจากไม่ถูกออกซิไดส์ด้วยออกซิเจน ไขมันอิ่มตัวและไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนล้วนเป็นสาเหตุหลักของการเพิ่มขึ้นของคอเลสเตอรอลในเลือด
 
โดยส่วนใหญ่กรดไขมันไม่อิ่มตัวจะเป็นองค์ประกอบหลักในน้ำมันที่ได้จากพืช กรดไขมันไม่อิ่มตัว  มี 2 ชนิดคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated fatty acids: PUFA) และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated fatty acids: MUFA)  
 
ไขมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนและไขมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวช่วยยับยั้งการสร้างคอเลสเตอรอลจึงทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลงและช่วยลดการสะสมของคอเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด
 
การที่ระดับคอเลสเตอรอล โดยเฉพาะตัวร้ายอย่าง LDL คอเลสเตอรอลสูงนั้น จะทำให้เกล็ดเลือดเกาะตัวเป็นลิ่มและไปอุดตันหลอดเลือด ถ้าเส้นเลือดบริเวณใดเกิดการอุดตันก็จะทำให้เลือดไม่สามารถไหลผ่านไปเลี้ยงอวัยวะส่วนนั้นได้ นานวันก็จะเกิดปัญหา เช่น บริเวณมือหรือเท้า เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และอาจจะรุนแรงกว่านั้น ถ้าเกิดขึ้นกับอวัยวะที่มีความสำคัญมากๆ เช่น สมอง หัวใจ นำไปสู่ โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือ โรคสมองขาดเลือด และกำลังเป็นโรคยอดฮิตที่กำลังคุกคามสุขภาพคนไทยอย่างหนักเพราะ ปัจจุบันคนไทยกินไขมันมากกว่าอดีตและมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ จากชนิดของอาหาร และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ความสะดวกสบาย รวมทั้งการขาดการออกกำลังกายอย่างสมำเสมอดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น คือการเลือกบริโภคอาหาร และไขมันอย่างถูกต้อง ....
 

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เล็งเห็นถึงปัญหาของการเพิ่มขึ้นของอัตราการตายของคนไทยจากโรคหัวใจจึงได้ดำเนินการ โครงการ “อาหารไทย หัวใจดี’ และ ออกตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกบริโภคอาหารที่ดีไม่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้บริโภคในเรื่องอาหารที่ไม่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ในบรรดาสินค้ากลุ่มไขมัน น้ำมัน  และผลิตภัณฑ์ สินค้าที่ได้รับการรับรอง ได้แก่ น้ำมันรำข้าวคิง น้ำมันรำข้าวชิม และ ฟอร์แคร์กะทิธัญพืช 

เมื่อพูดถึงกะทิ คงสงสัยกันว่าทำไมกะทิถึงดีต่อหัวใจ กะทิที่พูดถึงนี้คือ กะทิธัญพืช ไม่ใช่กะทิมะพร้าวที่มีไขมันอิ่มตัวสูงถึง 95% ซึ่งเพิ่มปริมาณของคอเลสเตอรอลตัวร้าย

ในขณะที่กะทิธัญพืช ฟอร์แคร์ มีสัดส่วนของกรดไขมันที่เหมาะสม คือ มีไขมันอิ่มตัวต่ำกว่ากะทิจากมะพร้าว ถึง 4 เท่า ทำจากน้ำมันรำข้าว และโปรตีนถัวเหลือง ไม่มีส่วนประกอบของกะทิมะพร้าว นอกจากนี้ ยังมีสัดส่วนของกรดไขมันที่เหมาะสม ที่สามารถควบคุมคอเลสเตอรอลได้ กรดไขมันอิ่มตัว (SFAs) ต่อ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFAs) เท่ากับ 1: 1.5 - 2 และมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนต่ำ
 
นอกจากนี้ ได้มีงานวิจัยของนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการทดลองเปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ซึ่งมีคอเลสเตอรอลสูง โดยจัดอาหารตามความต้องการของการบริโภคต่อวัน กลุ่มแรกให้กินอาหารที่ทำจากกะทิมะพร้าว กลุ่มที่สองให้กินอาหารที่ทำจากฟอร์แคร์ กะทิธัญพืช เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ทำการตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ทั้ง LDL และ HDL ท้งก่อน และหลังเวลา 6 สัปดาห์นี้
 
ผลการศึกษามีแนวโน้มว่า กลุ่มตัวอย่างที่กินฟอร์แคร์กะทิธัญพืช มีคอเลสเตอรอลรวมลดลง ทั้งยังลดระดับคอเลสเตอรอลตัวร้าย LDL อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ผลการทดลองแน่ชัดจะนำมารายงานให้ทราบภายหลัง
 
จากผลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าการเลือกบริโภคไขมันดี และบริโภคในสัดส่วนของกรดไขมันที่เหมาะสม สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ แล้วอย่างนี้ ใครว่าไขมันไม่ดีคงไม่ได้ ถ้าเรารู้จักที่จะเลือกบริโภคไขมันดี เพื่อดูแลหัวใจและหลอดเลือดของคุณ

บริษัท ฟอร์แคร์ จำกัด  252, 254 ถ.ร่มเกล้า มีนบุรี กรุงเทพฯ 10510 โทร 0-2919-4460-2 แฟกซ์ 0-2919-4463 E-mail : info@4care.co.th
Copyright Reserved by 4Care Co.,Ltd.